Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48357
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานพ พงศทัต-
dc.contributor.authorวิชัย สว่าง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-08T15:19:59Z-
dc.date.available2016-06-08T15:19:59Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745646121-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48357-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en_US
dc.description.abstractแนวความคิดเรื่องความไม่เสอมภาคหรือความไม่เท่าเทียมกันนั้นได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณจนมาถึงปัจจุบัน และเป็นที่น่าสนใจของกลุ่มนักวิชาการหลายๆ กลุ่ม ที่พยายามจะชี้ให้เห็นว่าจะเสมอภาคด้วยอะไร มีมาตรการอะไรเป็นตัวกำหนด ทั้งนี้เพื่อจะได้หาแนวทางในการลดช่องว่างให้ลดน้อยลง การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิเคราะห์ตัวประกอบของตัวแปร โดยพิจารณาจากตัวแปร 20 ตัว ในหมวดกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม โดยจำแนกตามลำดับค่าความสำคัญและหาตัวแปรที่สำคัญภายในกลุ่ม ผลของการวิจัย พบว่า ในหมวดค่าคะแนนรวม หมวดเศรษฐกิจ มีความไม่เสมอภาคกันค่อนข้างมาก ในหมวดกายภาพมีการกระจายตัวค่อนข้างสม่ำเสมอว่าทุกๆ หมวด กล่าวคือ มีความไม่เสมอภาคระดับของการพัฒนาหรือความได้เปรียบเสียเปรียบในแง่ของความอุดมสมบูรณ์ของดินที่เป็นปัจจัยของการผลิตไม่มากนักตลอดจนระบบโครงข่าย การคมนาคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างจะสมบูรณ์ในเกือบทุกพื้นที่ความสำคัญส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 50 จะกระจุกตัวอยู่ใน 4 เมืองใหญ่ ซึ่งเป็นเมืองหลักและเมืองรองของภาคอื่น ได้แก่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี และอุดรธานี ซึ่งมีความได้เปรียบของที่ตั้ง การสะสมความเจริญที่มีมาในอดีต ส่งผลให้จังหวัดที่ 4 มีระดับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และเป็นศูนย์กลางของการให้บริการทุกๆ ด้านในภูมิภาคนี้ ในการจำแนกกลุ่มจังหวัดตามค่าความแตกต่างสามารถจำนกออกได้เป็น 4 กลุ่ม เรียงตามความสำคัญ คือ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี และอุดรธานี ตัวแปรที่สำคัญภายในกลุ่ม ได้แก่ จำนวนโรงเรียนมัธยมศึกษา ปริมาณกระแสไฟฟ้า เพื่อการบริการและอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์จังหวัด กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยจังหวัดบุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ชัยภูมิ และสุรินทร์ ตัวแปรสำคัญได้แก่ จำนวนสถาบันการเงิน ผลิตภัณฑ์มวลรวม และเนื้อที่เพาะปลูก 2 ครั้ง กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วย จังหวัดสกลนคร นครนม มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และหนองคาย ตัวแปรที่สำคัญได้แก่ จำนวนโรงเรียนประชาบาล จำนวนโรงพยาบาล ปริมาณเงินฝาก กลุ่มที่ 4 ประกอบด้วยจังหวัดยโสธร และเลยเป็นจังหวัดที่มีปัญหาของภาคเป็นอย่างมาก ทั้งมีระดับของการพัฒนาที่ต่ำ และยังต้องพึ่งพาการบริการจากเมืองที่อยู่รอบ ในการวางแผนภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรจะใช้เมืองหลัก และเมืองรองทั้ง 4 จังหวัด เป็นตัวรับและกระจายความเจริญจากส่วนกลางไปสู่จังหวัดในภูมิภาคที่ต่ำกว่า เพื่อผลของการกระจายนี้จะได้ไปได้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพen_US
dc.description.abstractalternativeThe idea of disparity of inequality has occurred for a long time and has been interesting among groups of academician who try to identify the determinants of disparity and the reasons behind those determinants in order to find ways and means to minimize the gap. This study has adopted the factor analysis method in which the 20 variables of the physical economic and social sector have been taken into consideration. The classification of high ranking scores and the selection of important variables have been systematically utilized. The study results that within the total scoring unit the degree of disparity in the economic sector is rather high while the distribution of disparity in the physical sector is more regular than other sectors. The substance shows that there is not much disparity or disadvantage in the production factor like soil fertility. The transportation network within the Northeast are in rather perfect condition of which 50% concentrate in the four big cities i.e. the secondary cities and low order centre of Nakhon Ratchasima, Khon Kaen, Ubol Ratchathani and Udon thani. These cities were advantageously established from the locational point of view and the prosperity accumulated from the past has encouraged their development in a quick manner and generated large service centres for servicing their hinterland. Four groups of province in the Northeast can be classified according to the difference of scores as follows. 1st group-Nakhon Ratchsima Khon Kaen Ubol Rathani and Udon Thani, the important variables are No. of high schools amount of electricity supply for service and industry, and the gross provincial domestic product. 2nd group-Buri Ram, Roi-et, Sri-saket, Chaiya phum, Surin, The important variables aare No. of financial institutions. Gross provincial domestic product, and arable land of 2 times cropping. 3rd group-Sakon Nakhon, Nakhon Panom, Mahasarakham, Kalasin, and Nongkhai the important variables are o. of elementary schools, no. of hospitals, amount of banking deposit. 4th group-Yasothon and Loei, which have several problems, are considered in the low level of development and thus, have to rely on the service of neighbouring cities. The development of the Northeast should be highlighted through the secondary cities, the low-order centres in the first group which will receive as well as decentralize the growth from the central region to the provinces in the backward regions. The result of the development then, will efficiently generate the growth decentralization.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- ภาวะเศรษฐกิจen_US
dc.subjectความเสมอภาคen_US
dc.subjectการพัฒนาเศรษฐกิจen_US
dc.subjectlanden_US
dc.subjecthealthen_US
dc.titleการศึกษาความไม่เสมอภาคของจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือen_US
dc.title.alternativeA study of inequality in the Northeast of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางผังเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorManop.B@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wichai_sav_front.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
Wichai_sav_ch1.pdf897.81 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_sav_ch2.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Wichai_sav_ch3.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open
Wichai_sav_ch4.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Wichai_sav_ch5.pdf6.05 MBAdobe PDFView/Open
Wichai_sav_ch6.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Wichai_sav_back.pdf9.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.