Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48368
Title: นาเหมืองนาฝายกับการจัดระเบียบสังคมล้านนา ระหว่าง พ.ศ. 1839-พ.ศ.2068
Other Titles: Diversion-irrigated rice cultivation and social order in Lanna during B.E.1839-2068
Authors: ส่องแสง สื่อสุวรรณ
Advisors: พิเศษ เจียจันทร์พงษ์
ธิดา สาระยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ชนชั้นในสังคม
นาเหมืองนาฝาย
ไทย -- ประวัติศาสตร์
hydrology
plant production
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาสังคมล้านนาที่เป็นสังคมเกษตรกรรมแบบทดน้ำที่ตั้งหลักแหล่งชุมชน ขยายขอบเขตบ้านเมืองและที่ทำกินไปตามที่ราบระหว่างหุบเขาต่าง ๆ โดยมีการจัดระเบียบแบบแผน ในการอยู่ร่วมกัน มีระบบเทคนิควิธีในการควบคุมการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่เรียกว่า ระบบนาเหมืองนาฝาย วิทยานิพนธ์นี้ แบ่งขอบเขตเนื้อหาออกได้เป็น 3 บาท โดยมีบทนำและบทสรุปแยกต่างหาก บทที่ 1 กล่าวถึง ขอบเขตการแปลความหมายและความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ของคำว่า “ล้านนา” และความสัมพันธ์ของการตั้งหลักแหล่งบ้านเมืองกับการจัดระบบเหมืองนาฝาย ซึ่งมีความสอดคล้องกันระหว่างหลักฐานประเภทตำนานพงศาวดาร ร่องรอย ซากเมือง ซากลำเหมืองฝาย โบราณจากการศึกษาทางโบราณคดีและลักษณะทางกายภาพ บทที่ 2 กล่าวถึง ข้อจำกัดของข้อมูลจากหลักฐานและการตรวจสอบเทียบเคียงข้อมูลจากหลักฐานเอกสารประเภทตำนาน พงศาวดาร กฎหมาย และการจัดระบบนาเหมืองนาฝายในปัจจุบันที่สะท้อนถึงความต่อเนื่องของระบบแบบดั้งเดิมของชาวล้านนาที่ให้ภาพของประวัติความเป็นมารูปแบบโครงสร้าง ลักษณะการทำงานและการบริหารระบบมาเหมืองนาฝายในล้านนาที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้แรงงานร่วมกันของชาวบ้าน โดยมีกษัตริย์และขุนนางเป็นผู้เกณฑ์และควบคุมแรงงานในการสร้างเหมืองฝายขนาดใหญ่ที่เกินกำลังชาวบ้าน รวมทั้งการจัดการบริหารระบบนาเหมือนนาฝายด้วยการประสานงานระหว่างรัฐกับชาวบ้าน บทที่ 3 กล่าวถึง การบริหารระบบนาเหมืองนาฝายที่ทำให้เกิดการจัดระเบียบสังคมเกิดการรวมกลุ่มคนในสังคมที่มีความสัมพันธ์กันอย่างถาวร มีความผูกพันต่อเนื่องระยะยาวในการแบ่งปันผลประโยชน์และการมีหน้าที่รวมกันในการดูแลรักษาโดยอยู่บนหลักการพื้นฐานของความร่วมมือร่วมแรงงานของกลุ่มคนเพื่อความอยู่รอดของสังคม นอกจากนั้น การบริหารระบบนาเหมืองนาฝายได้สร้างให้เกิดการแบ่งชนชั้นตามบทบาทและหน้าที่เป็นผู้นำหรือผู้ควบคุม ได้แก่ กษัตริย์และขุนนาง และชาวบ้าน หรือไพร่เมืองหรือลูกฝายอีกฝ่ายหนึ่ง
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the LanNa community, a wet rice cultivation society whose pattern of settlement, urban and homeland expansion emerged along the intermountain basin. There was pattern of organized existence, irrigation techniques for the tapping of natural water resources, the so-called diversion irrigated rice cultivation system. This thesis breaks down the scope of the contents into three chapters with the introduction and the conclusion given in separate chapters. Chapter 1. Covers the scope of interpretation of the meaning and historical context in which the term “Lan Na” originated and the relationship of the settlement pattern and the diversion irrigated rice cultivation system which correlates with such sources as tradition, annals, historic ruins, vestiges of the ancient diversion irrigation channel from the archaeological and physical find. Chapter 2. discourses the limitation of the data from sources and the comparison of the data from the documentary sources such as traditional accounts, annals, legal literature with the present diversion irrigated rice cultivation system reflective of the continuity of the traditional way of life of the Lan Na inhabitants that depicts the historical origins, organization, method of work and the administration of the diversion irrigated rece cultivation system in the Lan Na community which based on the collective labor of the inhabitants enlisted by its rulers and its nobility and involved the mobilization of labour toward the building of huge diversion dams that was beyond the resources of the commoners, including the administration of the diversion irrigated rice cultivation system which materialized through the coordinate efforts between the state and its denizens. Chapter 3. Mentions about the administration of the diversion irrigated rice cultivation system that engendered a social order, existence of societal grouping bound permanently together by a relationship which lasted for a long period of time, the existence of benefit sharing and the joint safeguard of its interest based on the collective efforts of the societal group in order to survive as a society. Furthermore, the administration of the diversion irrigated rice cultivation system lent itself to the creation of caste system that determined and fitted people into roles and duties of the rulers or the guardians i.e. the kings and the nobility on the one end and the subjects or the commoners.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48368
ISBN: 9745669539
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Songsang_su_front.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open
Songsang_su_ch1.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open
Songsang_su_ch2.pdf9.48 MBAdobe PDFView/Open
Songsang_su_ch3.pdf15.07 MBAdobe PDFView/Open
Songsang_su_ch4.pdf16.13 MBAdobe PDFView/Open
Songsang_su_back.pdf10.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.