Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48471
Title: การใช้หลักคำพ้องเสียง เพื่อค้นหาชุดอักขระภาษาไทยที่ออกเสียงเหมือนกัน
Other Titles: String searching for Thai alphabet using soundex compression technique
Authors: วรรณี อุดมพาณิชย์
Advisors: สหัส ตรีทิพยบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ
ภาษาไทย -- ตัวอักษร
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การค้นหาข้อมูลของบุคคลในแฟ้มข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์นั้น โดยทั่วไปมักจะใช้หมายเลขประจำตัวของบุคคลเป็นรหัสในการค้นหา ซึ่งในการใช้หมายเลขประจำตัวเป็นรหัสค้นหาไม่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เท่าที่ควร เพราะต้องจำหมายเลขประจำตัวของบุคคลที่ต้องการจะค้นหาได้ แต่ถ้าจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อของบุคคลนั้นๆ มาเป็นรหัสค้นหาแทน ก็จะมีปัญหาอื่นตามมานานัปการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้การค้นหาข้อมูลไม่เป็นไปตามที่ต้องการกล่าวคือ การใช้ตัวสะกด หรือตัวการันต์[อาจ]ไม่ถูกต้อง เช่น คเณตร์ เป็นคเณศร์ หรือ โกวิทย์ เป็น โกวิท หรืออาจจะมีปัญหาอันเนื่องจากการบันทึกอักขระไม่เรียงตามมาตราฐานก่อนหลัง คือแทนที่จะบันทึก ร ุ ่ ง ในแฟ้มข้อมูลกลับบันทึกเป็น ร ่ ุ ง เป็นต้น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลของบุคคลในแฟ้มข้อมูลโดยใช้ชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น การวิจัยนี้จึงได้พยายามศึกษาหาวิธีการต่างๆ โดยให้คอมพิวเตอร์แปลงชื่อของบุคคลที่ต้องการค้นหาให้เป็นรหัสเสียก่อน และอาศัยกรรมวิธีของซาวด์เด็กซ์ ซึ่งใช้หลักการพ้องเสียงสะกดในภาษาอังกฤษมาประยุกต์ และเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพการค้นหาให้ดียิ่งขึ้นจึงใช้หลักการพ้องเสียงพยัญชนะต้นมาประกอบการวิจัย แทนที่จะนำหลักการดังกล่าวมาประยุกต์เท่านั้น การวิจัยนี้ได้ใช้ข้อมูลซึ่งเป็นรายชื่อนิสิตทั้งสิ้น 2,925 ชื่อเป็นตัวอย่างทดสอบในการทดสอบได้สร้างแฟ้มข้อมูลจากตัวอย่างข้างต้นโดยมีรหัสค้นหาที่สร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีดังกล่าวเป็น 2 ระบบเพื่อการเปรียบเทียบ และจากการทดสอบโดยใช้ชื่อเข้าค้นหาข้อมูลในแฟ้มข้อมูลทั้ง 2 ระบบ 220 ครั้ง ด้วยขนาดความยาวของรหัสจาก 3 ถึง 10 ปรากฏว่า ระบบที่ 2 ที่ขนาดความยาวของรหัสเป็น 7 ให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด
Other Abstract: In the computer personnel information retrieval system, the identification number is normally used as a primary key for searching data. Actually this way is not convenient for users to use because users have to remember or know the identification number. However if personnel name is used as a primary key instead, several problems will consequently occur. Users will face these problems when they are provided with wrong spelling records or incorrect-sequential-ordered records. Many techniques have been developed and researched in order to facilitate users to retrieve correct data with most efficiency and productivity by the way of using name as a key. One of the most famous algorithms is to transform the name wanted to search to a special code by applying English SOUNDEX Methodology. The principle of identical sound of the first Thai alphabet and the English SOUNDEX Methodology are applied together in order to search the name written in Thai more easily and efficiently because Thai and English are very much different in grammatical rules and written-styles. The treatment employs 2,925 student names for sample testing. The sample file is created by applying the two searching code systems for comparison. In order to compare the performance of both systems, 220 searchings are trialed each system. The 220 experiments employ the key length of characters varying from 3 to 10 the result shows that the second system with a key length of seven characters gives the best performance.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48471
ISBN: 9745621633
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannee_ud_front.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_ud_ch1.pdf702.55 kBAdobe PDFView/Open
Wannee_ud_ch2.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_ud_ch3.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_ud_ch4.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_ud_ch5.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_ud_back.pdf5.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.