Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48472
Title: การวางแผนเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็ก ศึกษากรณีพื้นที่เขตลุ่มน้ำห้วยข้าวสาร จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2531
Other Titles: Economic planning of small watershed : a case study of the Huay Khow San Watershed, Ubon Ratchathant Province, 1988
Authors: วรวิทย์ กิจสวัสดิ์
Advisors: วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: แบบแผนการปลูกพืช
การพัฒนาลุ่มน้ำ
การพัฒนาการเกษตร -- ไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
เกษตรกร -- ไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- ภาวะเศรษฐกิจ
ลุ่มน้ำห้วยข้าวสาร
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาเรื่องนี้ คือ ศึกษาแบบแผนการปลูกพืชที่เหมาะสม ภายใต้เงื่อนไขด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เพื่อปรับปรุงแนวทางการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็กที่มีการสร้างฝาย โดยทำการศึกษาในพื้นที่เขตลุ่มน้ำห้วยข้าวสาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 เขต ตามสภาพการพัฒนาลุ่มน้ำ คือ พื้นที่เขตที่ 1 เป็นเขตพื้นที่ลุ่มน้ำที่สามารถนำน้ำจากลำห้วยมาใช้ได้ตลอดปี พื้นที่เขตที่ 2 เป็นเขตพื้นที่ลุ่มน้ำที่สามารถนำน้ำจากลำห้วยมาใช้ได้เฉพาะในฤดูฝน และพื้นที่เขตที่ 3 เป็นเขตพื้นที่ลุ่มน้ำที่ไม่สามารถนำน้ำจากลำห้วยมาใช้ได้ ในการศึกษาครั้งนี้ได้สร้างแบบจำลองลิเนียร์โปรแกรมมิ่ง สำหรับวิเคราะห์ แบบแผนการปลูกพืชชนิดเดิมที่เกษตรกรทำการเพาะปลูก แบบแผนการปลูกพืชที่ได้มีการเพิ่มพืชชนิดใหม่ และวิเคราะห์ความอ่อนไหวในด้าน ข้อจำกัดปัจจัยการผลิต และราคาผลผลิตที่เกษตรกรขายได้ ผลการวิเคราะห์ ได้เสนอแนะแบบแผนการปลูกพืชที่เหมาะสม โดยเกษตรกรควรทำการเพาะปลูกในพื้นที่เขตต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลาดังต่อไปนี้ ในฤดูฝนควรทำการปลูกข้าวเจ้าและข้าวเหนียว โดยปลูกข้าวเจ้าไว้ขาย และปลูกข้าวเหนียวไว้บริโภค ในพื้นที่โดยเฉลี่ยครัวเรือนละ 26.62 ไร่ ส่วนในช่วงฤดูแล้งเกษตรกรในหมู่บ้านที่มีฝาย ซึ่งได้จัดแบ่งที่ดินในบริเวณลำห้วยที่มีฝายออกเป็นส่วนๆ เพื่อแบ่งกันทำการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งหลังจากเกี่ยวข้าว ในจำนวนพื้นที่เฉลี่ยครัวเรือนละ 2.88 ไร่ โดยทำการเพาะปลูกข้าวโพด ซึ่งรายได้สุทธิสูงสุดที่สามารถได้รับเมื่อสิ้นปีการเพาะปลูกครัวเรือนละ 10,199.63 บาท ส่วนผลการวิเคราะห์โดยนำพืชชนิดใหม่เข้ามาในแบบจำลอง โดยให้มีการปลูกพริกไร่ ในฤดูแล้งจำนวนพื้นที่ 2.88 ไร่ หลังจากเกี่ยวข้าว รายได้สุทธิสูงสุดที่ได้รับเมื่อสิ้นปีการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 20,249.68 บาท สำหรับการวิเคราะห์ความอ่อนไหว โดยเปลี่ยนแปลงข้อจำกัดด้านปัจจัยการผลิตมีผลทำให้รายได้สุทธิของเกษตรกรเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่ดิน และจากการวิเคราะห์ความอ่อนไหวด้วยราคา โดยกำหนดให้ราคาพริกไร่ลดลง ลักษณะแบบแผนการปลูกพืชที่ได้จะลดพื้นที่ปลูกพริกไร่ลง เพื่อนำพื้นที่บางส่วนไปปลูก ข้าวโพด ถั่วลิสง หรือถั่วเหลือง แสดงให้เห็นว่าจากการเปลี่ยนแปลงราคาผลผลิตพืชชนิดต่างๆ ที่เกษตรกรขายได้ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการปลูกพืชที่เหมาะสมของเกษตรกรมากในด้านการใช้แรงงานคนเพื่อทำการปลูกพืชฤดูแล้ง โดยอาศัยน้ำจากลำห้วยจะทำให้มีการใช้แรงงานในฤดูแล้งมากขึ้น อันเป็นการลดปัญหาการว่างงานตามฤดูกาล และการเคลื่อนย้ายแรงงานได้บางส่วน
Other Abstract: The main objective of this study is to investigate the optimal cropping pattern in order to develop guidelines for agricultural development planning at the Huay Khow San watershed in Ubon Ratchthani province. Due to variation of geographical, social and economic conditions, the cropping patterns are categorized into three zones basing on water availability—irrigated areas throughout the year, irrigated areas in the rainy season only, and rainfed area. The present study used linear programming models to analyze the existing traditional cropping patterns and the cropping patterns with new crops included. The study also cover a series of sensitivity tests on changes of constraints of factors of production as well as changes of farm prices. From the findings of the analysis, appropriate cropping patterns are recommended. It is recommended the farmers should, in each season, grow crops in each zone as follows. In the rainy season, they should grow non-glutineous and glutineous rice. The non-glutineous rice would be for sales and glutineous rice for own-comsumption. The planting area should be 26.62 rai. As for the dry season, the farmer who have access to a weir in the village should d[i]vided the area along the stream into sections for growing crops after rice harvest. For each farm an average of 2.88 rai should be allocated to grow corn. With this typed of cropping pattern: it is possible to obtain a net farm income of 10,199.631 baht. In the case of new crops such as field chilli are introduced in dry season after rice harvest and with a planting area of 2.88 rai, the net farm income can be increased to 20.249.68 baht. However, the sensitivity tests which were performed by changing factors of production show a [substantial] variation in net income, especially in the case of changing the size of planting area. The sensitivity tests performed by reducing the farm-gate price of chilli show that it is necessary to reduce the planting area of chilli and substitute the reduced area by growing corn, groundnut or soybean. In all these cases, the changing of farm-gate prices of these crops would effect the appropriate cropping patterns greatly. The study also finds out that by employing farm labor in dry season in the area with sufficient water from the stream could lessen the problem of seasonal employment and migration to some extent.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48472
ISBN: 9745763306
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Voravith_ki_front.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
Voravith_ki_ch1.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open
Voravith_ki_ch2.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Voravith_ki_ch3.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Voravith_ki_ch4.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open
Voravith_ki_ch5.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open
Voravith_ki_ch6.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Voravith_ki_back.pdf6.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.