Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/484
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพร้อมพรรณ อุดมสิน-
dc.contributor.authorธัญญรัตน์ บัวพันธ์, 2521--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-24T06:11:05Z-
dc.date.available2006-06-24T06:11:05Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745322482-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/484-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์รองผู้อำนวยการโรงเรียน (ฝ่ายวิชาการ) จำนวน 24 คน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 24 คน และใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการใช้หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์กับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 75 คน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 787 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ในด้านการเตรียมการใช้และการสนับสนุนการใช้หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า รองผู้อำนวยการโรงเรียน (ฝ่ายวิชาการ) และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ส่วนใหญ่มีการเตรียมการใช้หลักสูตร คือ เตรียมบุคลากร เตรียมเอกสารเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน เตรียมจัดหาสื่อที่จำเป็น เตรียมอาคารสถานที่พิจารณาความเหมาะสมในการจัดตารางสอน ประชาสัมพันธ์หลักสูตรไปยังผู้ปกครอง การจัดครูเข้าสอนโดยคำนึงถึงจำนวนคาบสอนของครูเป็นหลัก เตรียมงบประมาณ จัดบริการวัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสื่อ ดำเนินการนิเทศ ติดตามการใช้หลักสูตร 2. ในด้านกระบวนการใช้หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ส่วนใหญ่มีการเตรียมจัดแผนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหา มีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วม จัดรูปแบบการเรียนรู้จากการใช้คำถามประกอบการอธิบาย มีการบูรณาการคณิตศาสตร์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ใช้สื่อการเรียนการสอนครูเป็นผู้ผลิตเอง ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบวัดความรู้ มีการทำวิจัยในชั้นเรียน มีการนิเทศติดตามผลการจัดการเรียนรู้จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ร่วมกับเพื่อนครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3. ในด้านความพึงพอใจต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้านครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และการเรียนรู้ของตนเองอยู่ในระดับมากทุกด้านen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the implementation of school-based curriculum of mathematics strand, key stage three in secondary schools under The Jurisdiction of Office of The Basic Education Commission, lower northeastern region. Data were collected by interviewing 24 assistant principals on academic affairs and 24 heads of mathematics strand, using questionnaires concerning the process of implementation of school-based curriculum of mathematics strand with 75 mathematics teachers and questionnaires concerning the satisfaction towards process of learning management of mathematics strand with 787 mathayom suksa two students. The obtained data were analyzed by means of frequency, percentages, arithmetic mean and standard deviation. The research findings were as follows: 1. In the aspect of preparation and implementation of school-based curriculum of mathematics strand : most assistant principals on academic affairs and heads of mathematics strand prepared to implement the school-based curriculum as follows: preparing the personnel, preparing documents concerning mathematics instruction, preparing necessary instructional media, preparing classroom, setting up timetables, preparing published curriculum to parents, allocated teachers regarding the number of teaching periods, preparing budget, supplied material and instrument for production of instructional media, supervised and followed up the implementation of school-based curriculum. 2. In the aspect of school-based curriculum implementation process of mathematics strand, most mathematics strand teachers prepared lesson plans and activities relevant to the mathematics contents, arranged the activities that allowed the participation of all students, used questions with explanation method in learning process, integrated mathematics with other strands, used self produce instructional media, evaluated the mathematics learning achievement by using a test, did the classroom research, supervised and followed up mathematics learning achievement of students by colleague. 3. In the aspect of satisfaction towards learning management of school-based curriculum of mathematics strand, it was found that students were satisfied at high level in all aspects: mathematics teachers, learning process and self learning achievement.en
dc.format.extent1465032 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.938-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการศึกษา--หลักสูตรen
dc.subjectคณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอนen
dc.titleการศึกษาการใช้หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างen
dc.title.alternativeA study of implementation of school-based curriculum of mathematics strand, keystage three in secondary schools under the Jurisdiction of Office of the Basic Education Commission, lower northeastern regionen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการศึกษาคณิตศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPrompan.U@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.938-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tunyarut.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.