Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48553
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนโรตม์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorวีระ อนันต์ธนาโรจน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-09T08:30:40Z-
dc.date.available2016-06-09T08:30:40Z-
dc.date.issued2531-
dc.identifier.isbn9745686875-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48553-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมาย 4 ประการ ประการแรก เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการค้าปลีกที่มีต่อพฤติกรรมการเดินทางจับจ่ายในเมืองพิษณุโลก ประการที่สอง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางจับจ่ายที่ตั้งของครัวเรือน สถานภาพทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคมของผู้บริโภค วิธีการและความถี่ในการเดินทาง ประการที่สาม เพื่อศึกษาลำดับความสำคัญของตัวแปรต่างๆ จำนวน 18 ตัวแปรอันเป็นเหตุผลในทางเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางจับจ่าย ตลอดจนในประการสุดท้าย เพื่อค้นหา "มิติฐานมูล" ของตัวแปรเหล่านี้ ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการค้าปลีกมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางจับจ่าย จากเดิมซึ่งเคยจับจ่าย ณ ร้านค้าละแวกบ้านมาจับจ่ายยังห้างสรรพสินค้าใจกลางเมือง โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ฯ ดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับอาชีพของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน รายได้ของครัวเรือน การมีรถจักรยานยนต์และรถยนต์ วิธีการและความถี่ในการเดินทาง สำหรับตัวแปรอันเป็นเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมฯ ที่มีความสำคัญสูงสุดได้แก่ "ความหลากหลายของชนิดสินค้า" ในขณะที่ "ราคา" ซึ่งตามสมมติฐานการวิจัยคาดว่าจะมีความสำคัญสูงสุดนั้นกลับมีความสำคัญไม่มากนัก และจากการวิเคราะห์ปัจจัยพบว่าตัวแปรต่างๆทั้ง 18 ตัวแปรนี้ สามารถรวมกลุ่มกันได้เป็น 7 มิติฐานมูล คือ ด้านขนาดและชื่อเสียง ด้านความสะดวกภายใน ด้านวิธีการเสนอสินค้า ด้านทำเลที่ตั้ง ด้านสินค้าลำดับสูง ด้านสินค้าลำดับต่ำ และด้านราคาสินค้า ทั้งนี้ มีความสัมพันธ์กันระหว่างมิติด้านความสะดวกภายใน มิติด้านวิธีการเสนอสินค้า และมิติด้านราคาสินค้ากับรายได้ของครัวเรือน การมีรถจักรยานยนต์และรถยนต์ ระยะเวลาที่ได้อยู่อาศัย ณ ที่อยู่ปัจจุบัน และระยะเวลาที่ได้อยู่อาศัยในเมืองพิษณุโลกen_US
dc.description.abstractalternativeThe thesis has four main aims : firstly, to measure the impact of changes in the retail environment in the Phitsanulok Municipality on the consumers' spatial behavior, secondly, to study the relationship between these behavioral changes and the shoppers' residential location, their socio-economic and demographic characteristics, mode of travel and the frequency of their trips, thirdly, to assess the relative importance of the 18 variables commonly identified as reasons behind these behavioral changes, and fourthly, to uncover any dimension that might underlie these variables. It was found that changes in the retail environment had resulted in a significant proportion of shoppers abandoning their neighborhood stores to become regular patrons at a department store in the central area. These changes in shopping trip behavior had been found to be related to the head of the household's occupation, level of education, the household's income, car and motorcycle ownership, together with mode and frequency of travel. When the 18 variables were assessed, it was found that the "variety of merchandises offered" was the most important variable, while, in contrary to the research hypothesis, price was only moderately rated. These variables were also submitted to factor analysis from which seven dimensions were elicited, namely, size and reputation, internal facilities, goods display and services, relative location, high-order goods, Low-order goods and price. Three dimensions - internal facilities, goods display and services and price-were found to be related to the household's income, car and motorcycle ownership, length of the present resident and length of residence in the Phitsanulok Municipality.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการค้าปลีก -- แง่สิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectย่านการค้า -- ไทยen_US
dc.subjectทฤษฎีศูนย์กลางen_US
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภคen_US
dc.subjectการใช้ที่ดิน -- ไทยen_US
dc.subjectร้านค้าปลีกen_US
dc.subjectห้างสรรพสินค้าen_US
dc.titleผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการค้าปลีก ต่อพฤติกรรมการเดินทางจับจ่ายในเมืองพิษณุโลกen_US
dc.title.alternativeImpact of changes in the retail environment on intra-urban shopping trip behaviop in the phitsanulok municipalityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภูมิศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisornarote.p@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weera_an_front.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open
Weera_an_ch1.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Weera_an_ch2.pdf4.82 MBAdobe PDFView/Open
Weera_an_ch3.pdf5.36 MBAdobe PDFView/Open
Weera_an_ch4.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Weera_an_ch5.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open
Weera_an_ch6.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
Weera_an_ch7.pdf604.67 kBAdobe PDFView/Open
Weera_an_back.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.