Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48567
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวัลยา อุทัยสาง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-09T09:55:52Z-
dc.date.available2016-06-09T09:55:52Z-
dc.date.issued2537-
dc.identifier.isbn9746310496-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48567-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537en_US
dc.description.abstractผึ้งโพรง (Apis cerana) เป็นพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่พบในประเทศไทยและหลายๆ ประเทศในทวีปเอเชีย จากการศึกษาทางด้านสัณฐานวิทยาพบว่ามีความหลากหลายของสายพันธุ์แต่ยังไม่สามารถจำแนกเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อย่างชัดเจน ในการวิจัยครั้งนี้ได้นำเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมเข้ามาช่วยในการจัดจำแนกกลุ่มต่างๆ ที่แตกต่างกันในประเทศไทย โดยใช้เทคนิค Restriction Fragment Length Polymorphism (RFLP) ในการวิเคราะห์ความหลากหลายของดีเอ็นเอจากผึ้งโพรงที่เก็บจากแหล่งต่างๆ ในประเทศไทยโดยใช้ดีเอ็นเอติดตามจากส่วน repetitive sequences ของผึ้งโพรง ซึ่งเตรียมโดยการโคลนชิ้นส่วนดีเอ็นเอจากโครโมโซมัลดีเอ็นเอของผึ้งโพรงจากภาคกลาง และจากดีเอ็นเอทั้งหมดของเซลล์ผึ้งโพรงจากเกาะสมุย ลงในพลาสมิด pUC18 ที่ตำแหน่งของเอนไซม์ EcoRI ผลการทดลองพบว่าได้ดีเอ็นเอลูกผสมจำนวนประมาณ 1,000 โคโลนี ในการโคลนแต่ละชุด จากนั้นคัดเลือกแบบสุ่มจำนวน 50 โคโลนีของแต่ละชุด ทำ dot-blot hybridization โดยใช้ดีเอ็นเอจากผึ้งโพรงที่ใช้ในการโคลนแต่ละชุดเป็นดีเอ็นเอติดตามเพื่อคัดเลือกโคลนที่มีส่วน repetitive sequences จากโคลนที่ให้สัญญาณการไฮบริไดซ์เข้มนำมาเตรียมเป็นดีเอ็นเอติดตาม และทดสอบหาดีเอ็นเอติดตามที่เหมาะสมด้วยวิธี Southern-blot hybridization ระหว่างดีเอ็นเอของผึ้งโพรงจากพื้นที่ต่างๆ ที่ย่อยด้วยเอนไซม์ EcoRI, HaeIII, BglII, AluI, XbaI หรือ HindIII และดีเอ็นเอติดตามต่างๆ ที่นำมาทดสอบจากผลการวิเคราะห์เบื้องต้นพบว่า เมื่อใช้ดีเอ็นเอติดตามจากโคลน #99 จะสามารถแยกดีเอ็นเอผึ้งโพรงที่ย่อยด้วย HaeIII จากพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยได้เป็นอย่างน้อย 6 กลุ่ม ดังนั้นดีเอ็นเอติดตามที่เตรียมได้นี้จึงสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์การแปรผันของสายพันธุ์ผึ้งโพรงได้ แต่จำเป็นต้องเพิ่มจำนวนของตัวอย่างของผึ้งโพรงในการวิเคราะห์ให้มากขึ้นเพื่อสามารถบ่งบอกการแปรผันในสายพันธุ์ได้อย่างมีนัยสำคัญen_US
dc.description.abstractalternativeThe Asian hive bee or Eastern honey bee, Apis cerana, is native to Thailand and many countries in Asia. There are geographic variations in morphology and correlations among populations of A. cerana and these variations have been used as criteria for dividing A. cerana into several subspecies. However, it is still uncertain how many distinct populations or subspecies of A. cerana exist in Asia and how these populations are related to one another. In this research, the technique called Restriction Fragment Length Polymorphism (RFLP) analysis is used to detect sequence polymorphisms in chromosomal DNA of A. cerana collected from different, areas in Thailand. DNA probes, containing repetitive sequences, are prepared by cloning EcoRI fragments of honey bee DNA into the EcoRI site of the pUC18 plasmid. The honey bee DNA used was from chromosomal DNA of Central region and total DNA of Samui Island honey bees. Fifty out of one thousand transformants of each cloning experiment were tested for the presence of repetitive DNA elements by dot blot hybridization using the same honey bee DNA as the probe. The recombinant plasmids containing repetitive sequences as shown by strong hybridization signals, were selected and used as hybridization probes. The DNA samples were digested with several restriction enzymes: EcoRI, HaeIII, BglII, AluI, XbbaI and HindIII. Southern blot analyses of HaeIII digested chromosomal DNA from A. cerana collected from 5 areas of Thailand showed 6 types of polymorphic banding pattern on hybridization to a DNA fragment prepared from clone#99.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผึ้งโพรงen_US
dc.subjectดีเอ็นเอ -- การตรวจสอบen_US
dc.subjectผึ้ง -- พันธุศาสตร์en_US
dc.subjectความผันแปร (ชีววิทยา)en_US
dc.titleการเตรียมดีเอ็นเอติดตามเพื่อวิเคราะห์การแปรผันสายพันธุ์ผึ้งโพรง Apis ceranaen_US
dc.title.alternativePreparation of DNA probe for the analysis of genetic variation in Apis ceranaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineชีวเคมีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanlaya_ut_front.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ut_ch1.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ut_ch2.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ut_ch3.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ut_ch4.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ut_back.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.