Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48588
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีระพงษ์ บุญโญภาส | - |
dc.contributor.author | สมพร ธรรมจริยาพันธุ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2016-06-09T10:15:25Z | - |
dc.date.available | 2016-06-09T10:15:25Z | - |
dc.date.issued | 2534 | - |
dc.identifier.isbn | 9745796476 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48588 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวความคิดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยกรณี การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ขอบเขตความหมายของบทบัญญัติมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 ตลอดจนขอบเขตของการเปิดเผยกรณีการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ที่เหมาะสมกับสภาพสังคม การเมือง และการปกครองของไทย การวิจัยนี้จึงใช้ทั้งการวิจัยเอกสารและการวิจัยภาคสนามโดยศึกษาเฉพาะการเปิดเผยโดย ป.ป.ป.ต่อประชาชนทั่งไป และมุ่งเน้นการเปิดเผยข้อความข้อเท็จจริง หรือข้อมูล ที่ได้มาเนื่องจากการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ผลการวิจัยพบว่า การเปิดเผยกรณีการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการเป็นเรื่องการล่วงล้ำกันระหว่างสิทธิของสาธารณชน ในการับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประเทศชาติกับสิทธิของปัจเจกชนในชื่อเสียงเกียรติคุณของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และจากการชั่งน้ำหนักความสำคัญของสิทธิทั้งสองประการ ปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าควรให้ความสำคัญกับสิทธิของสาธารณชนมากกว่าสิทธิในชื่อเสียงเกียรติคุณของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เนื่องจากการเปิดเผยกรณีการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ เป็นมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการที่เหมาะสมกับสภาพสังคม การเมือง การปกครองของไทย แต่การเปิดเผยต้องไม่ล้วงล้ำเข้าไปในเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามบทบัญญัติมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 ป.ป.ป.จะเปิดเผยกรณีการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ให้ประชาชนทั่วไปทราบได้ก็ต่อเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ป.ใช้ดุลพินิจมอบหมาย แต่แม้การเปิดเผยดังกล่าว จะเป็นข้อยกเว้นให้การกระทำได้โดยไม่เป็นความผิดตามมาตรา 25 ก็ตาม การกระทำนั้นก็อาจเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา และแม้การกระทำอาจมีเหตุยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษ ก็เป็นเรื่องยุ่งยากที่ต้องไปว่ากล่าวฟ้องร้องกันในศาล | en_US |
dc.description.abstractalternative | Objective of this research focus on the studying of lawful concept on disclosure of corruption in public section, the scope section 25 of Counter Corruption Act B.E. 2518, and the scope of the said disclosure which is suitable for Thai society, political and government. Hence, documentary and field work researches were used. The research was limited to the disclosure of Office of the Commission of Counter Corruption (O.C.C.C.) to public and emphasized the disclosure of articles, facts, or informations which were obtained from counter corruption. From research, this issue found to be encounter between the public right to be aware of their country adventage and the individual right of the honour of the government officer. The major samples realize in the importance of the former. This is because the issue is the measure which is suitable for Thai society, political, and government. However, the disclosure must not encounter their privacy. Although the Counter Corruption Act B.E. 2518 allows Commission of Counter Corruption to approve the disclosure of corruption in public section, it may be illegal for the others, especially for the libel offence in the Penal Code. Also it'll be botheration to sue the court in case of there are any exemptions. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ | en_US |
dc.title | การเปิดเผยกรณีการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ | en_US |
dc.title.alternative | Disclosure of Corruption in Public Section | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somporn_tha_front.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somporn_tha_ch1.pdf | 781.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somporn_tha_ch2.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somporn_tha_ch3.pdf | 4.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somporn_tha_ch4.pdf | 3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somporn_tha_ch5.pdf | 4.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somporn_tha_ch6.pdf | 3.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somporn_tha_ch7.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somporn_tha_back.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.