Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48640
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวัฒนา อุทัยรัตน์-
dc.contributor.authorวารี สีผึ้ง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-10T02:25:52Z-
dc.date.available2016-06-10T02:25:52Z-
dc.date.issued2534-
dc.identifier.isbn9745789488-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48640-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในแก้ปัญหาโจทย์สมการในแต่ละขั้นตอนและเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาโจทย์สมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 434 คน ปีการศึกษา 2533 สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร โดยสุ่มตัวอย่างประชากรแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอน จำแนกตัวอย่างประชากรเป็น 2 กลุ่มคือ นักเรียนที่มีความเชื่อในอัตลิขิต จำนวน 252 คน และนักเรียนที่มีความเชื่อในปรลิขิต จำนวน 182 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุดคือ แบบวัดลักษณะความเชื่อในอัตลิขิต-ปรลิขิต ซึ่งผู้วิจัยดัดแปลงจาก The Intellectual Achievement Responsibility Questionnaire (IAR) ของแครนดอลล์และคณะ มีค่าความเที่ยง 0.85 และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาโจทย์สมการ 4 ขั้นตอนคือ การทำความเข้าใจโจทย์ การใช้ตัวแปรแทนจำนวนที่ไม่ทราบค่า การสร้างสมการและการแก้สมการ เพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องจากโจทย์ เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีความเที่ยง 0.76 จากนั้นนำแบบสอบถามและแบบทดสอบไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากร แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละของคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาโจทย์สมการของนักเรียนกลุ่มที่มีความเชื่อในอัตลิขิตและปรลิขิตในแต่ละขั้นตอน และนำคะแนนจากแบบทดสอบวัดความสามรถในการแก้ปัญหาโจทย์สมการของนักเรียนกลุ่มที่มีความเชื่อในอัตลิขิตและ ปรลิขิตมาเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีความเชื่อในอัตลิขิตมีความสามารถในการแก้ปัญหาโจทย์สมการสูงกว่านักเรียนที่มีความเชื่อในปรลิขิตในทุกขั้น และนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มมีความสามรถในการทำความเข้าใจโจทย์การสร้างสมการ การแก้สมการเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องจากโจทย์ และการใช้ตัวแปรแทนจำนวนที่ไม่ทราบค่าตามลำดับ 2. นักเรียนที่มีความเชื่อในอัตลิขิตและปรลิขิตมีความสามารถในการแก้ปัญหาโจทย์สมการไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the ability to solve equation problems in eah step and compare the ability to solve equation problems of mathayom suksa three students between groups believing in internal and external control. The subjects were 434 mathayom suksa three students of the 1990 academic year, General Education Department, Bangkok Metropolis, they were multi-stage stratified random sampled. They were divided into two groups : 252 students believing in internal control and 182 students believing in external control. They were two research instruments. One was the internal-external control questionnaire which adapted by the researcher from the Intellectual .Achievement Responsibility which had the reliability of 0.85. The other was the equation problem-solving ability test which was divided into four steps : understanding problems, using variable to represent the unknown, writing equation to show the relationship as given in the problems and solving equation to show the relationship as given in the problems and solving equation to find correct answers from problems. The multiple choice test which had the reliability of 0.76 was constructed y the researcher. The researcher administered the questionnaires and the tests to the samples. The obtained data were analysed by means of percentage of the scores of equation problem-solving ability between groups believing internal and external control in each step. Then the mean scores of equation problem-solving ability of students who believed in interna l and external control were compared by t-test. The findngs of this research were as follows : 1. The equation problem-solving ability of believing in internal control students were higher than believing in external control students in every step. The two groups had the abilitv in understanding problems, writing equation, solving equation to find correct answers from problems and using variable to represent the unknown respectively. 2. The scores of the ability to solve equation problems of students who believed in internal and external control were not different at the 0.05 level of singnificance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการแก้โจทย์สมการen_US
dc.subjectความสามารถทางคณิตศาสตร์en_US
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- โจทย์และแบบฝึกหัดen_US
dc.titleการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาโจทย์สมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่มีความเชื่อในอัตลิขิตและปรลิขิตen_US
dc.title.alternativeA comparison of the ability to solve equation problems of mathayom suksa three students between groups believing in internal and ewternal controlen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuwattana.U@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Varee_sr_front.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Varee_sr_ch1.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Varee_sr_ch2.pdf6.35 MBAdobe PDFView/Open
Varee_sr_ch3.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open
Varee_sr_ch4.pdf440.02 kBAdobe PDFView/Open
Varee_sr_ch5.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Varee_sr_back.pdf5.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.