Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48713
Title: ทัศนคติและผลกระทบที่มีต่อความต้องการที่อยู่อาศัยในภาวะเศรษฐกิจถดถอยของพนักงานระดับต้นและกลางในอาคารสำนักงานย่านบางนา-ตราด
Other Titles: Attitudes and effects on housing demand of the entry-level and middle-level workers in Bangna-Trad offices during the economic recession
Authors: วรรัตน์ ทีฆมงคล
Advisors: มานพ พงศทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Manop.B@Chula.ac.th
Subjects: พนักงานบริษัท -- ที่อยู่อาศัย
ที่อยู่อาศัย -- สถานที่ตั้ง
การย้ายที่อยู่อาศัย
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานภาพด้านเศรษฐกิจ สังคม การอยู่อาศัย การเดินทางและสิ่งอำนวยสะดวกของพนักงานระดับต้นและกลางที่ทำงานในอาคารสำนักงาน ในบริเวณถนนบางนา-ตราด ความต้องการที่พักอาศัยในภาวะเศรษฐกิจถดถอย ปัจจัยในการเลือก และความคาดหวังในอนาคตด้านที่อยู่อาศัย จำนวน 303 ตัวอย่าง จาก 14 อาคาร จำนวน 40 บริษัทโดยวิธีการสำรวจด้วยแบบสอบถาม ผลของการศึกษาพบว่า พนักงานระดับต้นและกลาง ในย่านบางนาตราด ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงคิดเป็นร้อยละ 78.5 มีอายุในช่วง 26-30 ปี มีสถานภาพเป็นโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นพนักงานทั่วไป มีรายได้ครอบครัวระหว่าง 20,000-40,000 บาทต่อเดือน มีรถยนต์ บัตรเครดิต โทรศัพท์มือถือ ใช้เป็นส่วนใหญ่ การเดินทางไปทำงานส่วนใหญ่โดยสารรถประจำทาง รองลงมาเป็นรถยนต์ ใช้เวลาเดินทางมากกว่า 20 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลา 31-60 นาที และแนวทางปฏิบัติเมื่อมีปัญหาในการเดินทางจะทนต่อไป ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่มีต่อความต้องการที่อยู่อาศัยของพนักงาน ระดับต้นและกลาง ย่านบางนา-ตราด 80.9% ไม่ต้องการย้ายจากบ้านหลังปัจจุบัน มีปัญหาด้านการงานน้อย ส่วนใหญ่เงินเดือนถูกลดประมาณ 5-10% ส่วนผู้ที่มีปัญหาจะมีปัญหาด้านการผ่อนบ้าน ผ่อนรถยนต์ ผ่อนอุปกรณ์เครื่องใช้ ด้านการผ่อนบ้านต้องการอัตราดอกเบี้ยคงที่และลอยตัวที่ 9% ความต้องการที่อยู่อาศัยในภาวะเศรษฐกิจถดถอย ในช่วง 3-5 ปี นับจากปี 2541 พบว่า 46.4% ไม่ต้องการซื้อหรือเปลี่ยนบ้านหลังใหม่ และ 11.6% ยังไม่วางแผนที่จะมีบ้าน ต้องการบ้าน 41.9% สาเหตุหลัก เพราะเศรษฐกิจครอบครัวไม่เอื้ออำนวย พอใจที่อยู่อาศัยปัจจุบันและการงานไม่ค่อยมั่นคง จากการศึกษาสรุปได้ว่า ส่วนใหญ่ผู้หญิงไม่ต้องการจะซื้อหรือเปลี่ยนบ้านใหม่ เพราะอยู่กับพ่อแม่ญาติพี่น้อง จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ มีที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการและกรุงเทพปริมณฑล สถานที่ทำงานใกล้กับย่านบางนา-ตราด กลุ่มที่ต้องการบ้านจะเป็นโสด อายุ 20-25 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการแยกตัวเป็นอิสระ ลงทุนซื้อเพื่อขายต่อแต่งงาน และกลุ่มที่มีรายได้ครอบครัว 100,001-200,000 บาท ส่วนกลุ่มที่ไม่ต้องการบ้านเป็นกลุ่มอายุ 31-35 ปี การศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส. เป็นผู้บริหารระดับบน เป็นกลุ่มที่มีรายได้ครอบครัว 80,000-100,000 บาท ปัจจัยที่เป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจให้ซื้อบ้านภายใน 3-5 ปี แบ่งเป็น 3 ภาค คือ ภาครัฐ ต้องควบคุมผู้ประกอบการไม่ให้โกง ยกเว้นภาษีเงินได้จากการขาย ลดภาษีการโอน ภาคสถาบันการเงิน คือ ลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลง เงินดาวน์ต่ำ และภาคสถาบันการเงินควรปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น ภาคผู้ประกอบการ คือ ลดราคาบ้านให้ถูกกว่านี้อีก ลดแลกแจกแถมให้มากขึ้น ผ่อนปรนในด้านการดาวน์บ้าน
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48713
ISBN: 9743325735
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worarat_te_front.pdf955.47 kBAdobe PDFView/Open
Worarat_te_ch1.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Worarat_te_ch2.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Worarat_te_ch3.pdf516.59 kBAdobe PDFView/Open
Worarat_te_ch4.pdf5.22 MBAdobe PDFView/Open
Worarat_te_ch5.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Worarat_te_back.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.