Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48728
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมัทยา จิตติรัตน์-
dc.contributor.advisorวิชา มหาคุณ-
dc.contributor.authorสุวิทย์ เศวตสุนทร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-10T06:52:26Z-
dc.date.available2016-06-10T06:52:26Z-
dc.date.issued2536-
dc.identifier.isbn9745831638-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48728-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากฎเกณฑ์ทางกฎหมายในการดำเนินการบังคับบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดโดยการคุมประพฤติ โดยอาศัยอำนาจจากศาลซึ่งได้มีคำพิพากษากำหนดมาตรการในการบังคับบำบัดรักษาในลักษณะที่เป็นเงื่อนไขเพื่อการคุมประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งได้รับการแก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2532 เพื่อแก้ไขปัญหาและจุดบกพร่องของการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดโดยสมัครใจ อย่างไรก็ดีกฎเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ก็ยังไม่มีกฎข้อบังคับที่จะนำไปปฏิบัติในรายละเอียด ทำให้ไม่สามารถนำมาตรการในการบังคับบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดได้ และรวมถึงการศึกษาปรับปรุงเพิ่มเติมกฎหมายให้สามารถดำเนินการบังคับบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเป็นธรรม ผลการวิจัยพบว่า มาตรการทางกฎหมายในการบังคับบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดมีอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่เอื้ออำนวย และเพียงพอต่อการดำเนินการบำบัดรักษาจนครบตลอดขั้นตอนการบังคับบำบัดรักษาแบบสมบูรณ์ โดยขาดมาตรการทางกฎหมายในการให้อำนาจแก่ศาลและพนักงานคุมประพฤติในการดำเนินการในขั้นตอนถอนพิษยาเสพติด การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการติดตามผลและสงเคราะห์ผู้กระทำผิด เช่น การขาดมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและนำผู้ติดยาเสพติดเข้าสถานพยาบาล หรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพตลอดจนการเข้าไปมีส่วนร่วมหรือติดตามในการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสมรรถภาพและขาดมาตรการทางกฎหมายในการให้อำนาจแก่พนักงานคุมประพฤติในการติดตามดูแลช่วยเหลือขั้นตอนการติดตามผลและสงเคราะห์ และขาดมาตรการทางกฎหมายที่ชัดเจนในการจัดตั้ง และกำหนดรูปแบบของสถานบังคับบำบัดให้แตกต่างจากเรือนจำหรือทัณฑสถานทั่วไป จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 ไว้หลายประการ เช่น การเพิ่มเติมกฎหมายให้ศาลมีอำนาจออกหมายกักขังเพื่อการบังคับบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้ การบัญญัติให้อำนาจแก่พนักงานคุมประพฤติมีอำนาจในการนำตัวผู้ติดยาเสพติดเข้าไปสู่สถานพยาบาลหรือศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพลการเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการในขั้นตอนของการถอนพิษยาเสพติดหรือการบำบัดอาการ ขั้นตอนการฟื้นฟูสมรรถภาพและให้อำนาจแก่พนักงานคุมประพฤติในการดำเนินการในขั้นตอนการติดตามผลและสงเคราะห์เพื่อที่จะสามารถดำเนินการบังคับบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้เลิกเสพยาเสพยาเสพติดได้ตลอดไปและดำเนินกระบวนการบังคับบำบัดรักษาอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลและเป็นธรรมen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research has (1) to study the measurement or axiom of the Law to run compulsory treatment on drug abuse by probation in the legitimacy of the court according to the Amendment Act of the Thai Penal Code (NO.10) B.E. 2532 for solving problem of voluntary drug treatment. However this axiom of the Law can not go on compulsory treatment program because of lacking details for the conformity, (2) to modify the Law measurement to implement on efficiency, effectiveness and justice. The summary of this study is there is no law can efford running compulsory treatment process of utilization the authority for courts or probation officers working on detoxification rehabilitation or follow up and after care stage for example lacking law measurement for probation officers to control and send drug abuse to the hospital or the rehabilitation center, lacking of giving the authority about helping and following case in the hand of the probation officers; and lacking fix pattern of detoxification and rehabilitation center in the different from form prison or custody. This research has introduced the modification of some provisions in the Thai Penal Code and the Probation Act B.E. 2522. The drug abuse for cure or rehabilitation, amendment the law to send the drug abuse to hospital or rehabilitation center and dentention, and adapt the law measurement to offer the authority for probation officers to implement on compulsory treatment process in order to treat the drug abuse on efficiency, effectiveness and justice.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการคุมประพฤติen_US
dc.subjectการติดยาเสพติด -- การรักษาen_US
dc.subjectคนติดยาเสพติดen_US
dc.titleการบังคับบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดโดยคุมประพฤติen_US
dc.title.alternativeCompulsory treatment for abuse on adult probationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorMattaya.J@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwit_sa_front.pdf13.03 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_sa_ch1.pdf18.46 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_sa_ch2.pdf21.1 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_sa_ch3.pdf54.17 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_sa_ch4.pdf33.2 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_sa_ch5.pdf9.23 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_sa_back.pdf163.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.