Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/487
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุ่นตา นพคุณ-
dc.contributor.authorนที ภววงษ์ศักดิ์, 2523--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-24T06:35:13Z-
dc.date.available2006-06-24T06:35:13Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745316083-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/487-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาความรู้ และเจตคติของชายขายบริการทางเพศนอกสถานบริการ และในสถานบริการ ในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และเพศศึกษา (2) เปรียบเทียบความรู้ และเจตคติระหว่างชายขายบริการทางเพศนอกสถานบริการ และในสถานบริการ ในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และเพศศึกษา (3) เปรียบเทียบความรู้ และเจตคติเกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และเพศศึกษา ของชายขายบริการทางเพศ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม อายุ ภูมิลำเนา วุฒิการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ และการได้รับข้อมูลข่าวสาร (4) สร้างและพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกโรงเรียนเกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และเพศศึกษาสำหรับชายขายบริการทางเพศ ในเขตกรุงเทพมหานคร (5) เปรียบเทียบผลการใช้โปรแกรมการศึกษานอกโรงเรียนเกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และเพศศึกษา ที่พัฒนาขึ้นระหว่างผู้เรียนที่เป็นชายขายบริการทางเพศนอกสถานบริการ และในสถานบริการ ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างชายขายบริการทางเพศทั้งนอกสถานบริการ และในสถานบริการในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 130 คน และชายขายบริการทางเพศที่ร่วมโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และเพศศึกษา จำนวน 22 คน ใช้แบบทดสอบความรู้ และสำรวจเจตคติ และโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และเพศศึกษาเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ผลการวิจัยพบว่า 1. ชายขายบริการทางเพศทั้งนอกสถานบริการ และในสถานบริการ มีระดับความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ และมีระดับเจตคติส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง 2. ชายขายบริการทางเพศทั้งนอกสถานบริการ และในสถานบริการ มีระดับความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางและมีระดับเจตคติส่วนใหญ่ อยู่ในระดับสูง 3. ผลการเปรียบเทียบระดับความรู้ และระดับเจตคติเกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และเพศศึกษา ของชายขายบริการทางเพศทั้งนอกสถานศึกษา และในสถานบริการ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นระดับเจตคติเกี่ยวกับเพศศึกษา พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรู้ และระดับเจตคติเกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และเพศศึกษา พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ผลการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังร่วมโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังจากร่วมโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนชายขายบริการทางเพศมีระดับความรู้สูงขึ้น 6.ผลการประเมินการจัดโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ด้านกิจกรรมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมาก ด้านความเหมาะสมของเนื้อหา กิจกรรมและเวลามีความพึงพอใจในระดับมากen
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims to 1) Study the attitude of Thai male prostitutes both not belonging and belonging to the brothels in Bangkok Metropolis about the Prevention and Suppression of Prostitution Act., B.E. 2539 and sex education. 2) Compare the education and attitude between male prostitutes both not belonging and belonging to the brothels about the Prevention and Suppression of Prostitute Act., B.E. 2539 and sex education. 3) Compare the education and attitude of Thai male prostitutes in Bangkok Metropolis categorized by age, place of birth, education, marital status, occupation and information receiving about the Prevention and Suppression of Prostitute Act., B.E. 2539 and sex education. 4) Set up and develop the non-formal education program regarding about the Prevention and Suppression of Prostitute Act., B.E. 2539 and sex education for male prostitutes in Bangkok. 5) Compare the result of the non-formal education program regarding about the Prevention and Suppression of Prostitute Act., B.E. 2539 and sex education developed for both not belonging and belonging to the brothels in Bangkok. The total amount of male prostitute samples both not belonging and belonging to the brothels in Bangkok is 130 persons. The amount of male prostitutes participating the non-formal education program regarding about The Prevention and Suppression of Prostitute Act., B.E. 2539 and sex education is 22 persons. The Knowledge Tests and Attitude Questionnaires and the Non-Formal Education Program are used as the instruments to research and analyze to find the Percentage, Mean, Standard Deviation, T-test and One-way Analysis of Variance. The results are the followings: 1. Most male prostitutes both not belonging and belonging to the brothels have low degree of knowledge about the Prevention and Suppression of Prostitution Act., B.E. 2539; and moderate degree of attitude. 2. Most male prostitutes both not belonging and belonging to the brothels have moderate degree of knowledge about sex education background; and high degree of attitude. 3. There is not difference of significance value of .05 of the knowledge and attitude about the Prevention and Suppression of Prostitution Act., B.E. 2539 and sex education of male prostitutes belonging and not belonging to the brothels, but it shows the difference of significance value of .05 in attitude of sex education 4. There is not difference of significance value of .05 of the factors influencing the knowledge and attitude about the Prevention and Suppression of Prostitution Act., B.E. 2539 and sex education 5. Comparison of scores before and after participating the non-formal education program demonstrates a significance value of 0.5. After participating the non-formal education program, it is found that male prostitutes have higher degree of knowledge. 6. The assessment of the program administration demonstrates a high degree of satisfaction with respects of activities as well as contents and timing.en
dc.format.extent5348657 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.693-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectผู้ชายขายตัวen
dc.subjectพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539en
dc.subjectเพศศึกษาen
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียนen
dc.titleการนำเสนอโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และเพศศึกษาสำหรับชายขายบริการทางเพศ ในเขตกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeA proposed non-formal education program regarding the Prevention and Suppression of Prostitution Act., B.E. 2539 and sex education for male prostitutes in Bangkok Metropolisen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorOonta.N@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.693-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natee.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.