Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48831
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตตภัทร เครือวรรณ์-
dc.contributor.advisorบวร ปภัทราทร-
dc.contributor.authorวรวัฒน์ ศรียุกต์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-10T08:56:46Z-
dc.date.available2016-06-10T08:56:46Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745810789-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48831-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้ประสงค์จะวิเคราะห์ วัฎจักรทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำ โดยอาศัยแนวคิดจากทฤษฎีวัฎจักรสินค้า (product life cycle) มาอธิบายว่าทฤษฎีวัฎจักรสินค้า สามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ของการคิดค้น การตลาด และการย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำได้มากน้อย และถูกต้องเพียงใด เพื่อคาดคะเนรูปแบบการย้ายฐานการผลิต เพื่อนำมาใช้อธิบายสินค้าที่มีเทคโนโลยีสูงในอนาคต การศึกษานี้ได้จำกัดการศึกษาใน DRAM (Dynamic Random Access Memory) เป็นตัวแทนในสารกึ่งตัวนำ โดยแบ่ง DRAM เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ DRAM ขนาด 1 Kbit 4 Kbit 16 Kbit และ 64 Kbit กลุ่มที่ 2 ได้แก่ 256 Kbit 1 Mbit และ 4 Mbit กลุ่มที่สามได้แก่ 16 Mbit 64 Mbit และ 256 Mbit จากผลการวิจัยพบว่าในกลุ่มที่ 1 ทฤษฎีวัฎจักรสินค้าสามารถอธิบายปรากฏการณ์ในอุตสาหกรรม DRAM ได้ดีพอสมควรในช่วงแรกๆ การย้ายฐานการผลิตมาประเทศกำลังพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์จากแรงงานยังพอทำได้บ้าง แต่ในกลุ่มที่สอง และสาม DRAM มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ต้องใช้เครื่องจักรในการผลิต การใช้ประโยชน์จากแรงงานไม่จำเป็นต่อไป ทฤษฎีวัฎจักรสินค้าไม่สามารถอธิบายการย้ายฐานการผลิตไปประเทศกำลังพัฒนา เพื่อได้ประโยชน์จากแรงงานได้ โดยสรุปคือประเทศผู้คิดค้นจะมีการย้ายฐานการผลิตไปใน 3 รูปแบบคือรูปแบบแรกจะมีการย้ายฐานการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยอาศัยแรงงานราคาถูกในประเทศกำลังพัฒนาตามทฤษฎีวัฎจักรสินค้า สำหรับสินค้าที่เทคโนโลยีอยู่ตัวและลอกเลียนแบบได้ง่าย รูปแบบที่สองคือ การย้ายฐานการผลิตเนื่องจากปัญหาการตลาด และมาตรการกีดกันทางการค้าสำหรับสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน การลอกเลียนแบบยังทำได้ไม่ง่ายนัก และรูปแบบที่สามคือการย้ายฐานการผลิต เนื่องมาจากการร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิตของประเทศพัฒนาแล้วเพื่อการวิจัยและพัฒนา สำหรับสินค้าที่ยังไม่มีการผลิตจำนวนมากในเชิงพาณิชย์ และเทคโนโลยียังอยู่ในระหว่างการพัฒนา สำหรับโอกาสที่เป็นไปได้ในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำของประเทศไทย คือการออกแบบ ASIC (Application Specific Integrated Circuit) เนื่องจากประเทศไทยมีคุณสมบัติของแรงงานที่เหมาะสม และต้นทุนการลงทุนต่ำ ยิ่งกว่านั้นการผลิต ASIC เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าใช้เงินทุนต่ำ ไม่ต้องผลิตเป็นจำนวนมาก สามารถออกแบบได้ตามความต้องการ และยากในการเลียนแบบ ถ้ามีการออกแบบและผลิตที่เหมาะสมแล้ว ASIC สามารถทำให้อุตสาหกรรมปลายน้ำ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สามารถผลิตสินค้าได้แตกต่างจากคู่แข่ง และสามารถวางสินค้าในตลาดได้อย่างรวดเร็วen_US
dc.description.abstractความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย พ.ศ. 2493 - 2529 เป็นเหตุการณ์ที่มี ความสำคัญช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย กล่าวคือ ถือว่า เป็นช่วงเริ่มต้นแห่งการเปิดความสัมพันธ์โดยตรงในด้านต่าง ๆ หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ ทั้งยังสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองในช่วงระยะเวลาดังกล่าว จุดมุ่งหมายของการศึกษา มีอยู่ 2 ประการ คือ ประการแรก เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศไทยกับประเทศอินเดียในขณะนั้น และประการที่สอง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศทั้งสอง เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงความสัมพันธ์กันต่อไปจากการศึกษาพบว่า ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย พ.ศ. 24932529 ถูกกำหนดโดยเหตุการณ์ในเวทีการเมืองระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยเฉพาะ นโยบายของผู้นำทั้งสองประเทศเป็นหลัก ซึ่งส่งผลต่อความสัมพันธ์ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างกัน-
dc.description.abstractalternativeThis research was aimed at analyzing the technological cycle in the semiconductor industry. The main objective of this analysis was to analyse the concept of product life cycle theory in order to explain the invention, marketing and movement of production base of semiconductor industry. The results will lead us to understand the movement of high technology commodity production base in the future. The scope of this research is limited to DRAM (Dynamic Random Access Memory) as the representative of semiconductors. DRAM is classified into 3 groups according to marketing reasons. The first group is 1Kbit, 4Kbit, 16Kbit and 64 Kbit. The second one is 256 Kbit, 1 Mbit and 4Mbit. The last one is 16 Mbit, 64 Mbit and 256 Mbit. It is confirmed from this research that the product life cycle is able to explain what has happened in the first group quite well. The movement of production base for gain the benefit from cheap labour still occur. But in the second and third group, DRAMS are much more complicated. They must be produced by highly complicated machines with sufficiently high technology environment. In such a case, the product life cycle theory cannot explain the movement of production base to gain benefit from low wage in developing countries. In the summary, Innovators are able to move production base in 3 forms. The first is decrease production cost by using cheap labour in developing countries according to the concept of product life cycle theory. The product in this form is technologically mature and easy [to] imitate. The second form of the movement is to decrease the problems of marketing and trade barriers. The products in this form is more modern and more difficult to imitate. The final form of the movement is a joint venture in research and development with other manufacturers among developed countries. This is the case when products are still not mass produced and technology is still in the state of development. The possible opportunity for Thailand’s semiconductor industry is ASIC (Application Specific Integrated Circuit) design. This is because not only Thailand has qualified manpower but also investment cost involved is relatively low. Moreover, ASIC production is known to require less investment, unnecessary to mass produced, able to design according to needs, and more difficult to imitate. If properly designed and produced, ASIC would allow domestic downstream industries, such as electronic industry, to produce differentiated products and to launch their products to the market faster.en_US
dc.description.abstractalternativeThe relationship between Thailand and India during 1950-1986 is considered as an important period in the history of these two countries. Their reciprocal relations in various fields have developed progressively. The author is interested in --1) focusing on the relationship between Thailand and: India 1950-1986 and 2) using the results of the research as a basis to suggest ways of improving the relationship in the future. The study shows that the relations between Thailand and India may often be influenced by the impact from international and regional events. Moreover, on the national level, the policy of both countries also plays an important role in the relationship in political, economic and social aspects.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์en_US
dc.subjectอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำ-
dc.subjectProduct life cycle-
dc.subjectSemiconductor industry-
dc.titleวัฏจักรทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำ : อดีต ปัจจุบัน และอนาคตen_US
dc.title.alternativeTechnological cycle in semiconductor industry : past, present and futureen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorJittapatr.K@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worrawat_sr_front.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Worrawat_sr_ch1.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open
Worrawat_sr_ch2.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open
Worrawat_sr_ch3.pdf10.75 MBAdobe PDFView/Open
Worrawat_sr_ch4.pdf6.79 MBAdobe PDFView/Open
Worrawat_sr_ch5.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open
Worrawat_sr_back.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.