Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49216
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดุษฎี ทายตะคุ-
dc.contributor.authorอัครพล อ่อนประทุม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialนครพนม-
dc.date.accessioned2016-07-13T07:08:31Z-
dc.date.available2016-07-13T07:08:31Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49216-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองเรณูนครตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2384-2554) 2) ศึกษาปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองเรณูนครในแต่ละช่วงเวลา 3) วิเคราะห์สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองเรณูนคร จากการวิจัยพบว่า ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองเรณูนครมีพัฒนาการจากภูมิทัศน์วัฒนธรรมแบบชนบทกลายเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบทและมีปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงตามลำดับดังนี้ ช่วงที่ 1 (พ.ศ.2384-2500) คนได้ปรับตัวให้เข้าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและฤดูกาลด้วยการทำนาข้าวอาศัยน้ำฝนและสวนชนบทที่ผสมกลมกลืนกับป่าโปร่งและ ป่าบุ่งอยู่ล้อมรอบพื้นที่ดอนซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีสภาพเป็นเรือนผู้ไทเกาะกลุ่มอยู่ตาม ลานบ้าน มีวิถีชีวิตเรียบง่ายแบบชนบทยึดถือฮีตสิบสองคองสิบสี่จารีตประเพณีของชาวผู้ไทอย่างเคร่งครัดโดยมี พระธาตุเรณูเป็นศูนย์กลาง เกิดเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมหมู่บ้านชาวนาผู้ไท ช่วงที่ 2 (พ.ศ.2501-2531) คนเริ่มเข้ามาจัดการสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเพื่ออำนวยความสะดวกมากขึ้นจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเศรษฐกิจโดยภาครัฐ เกิดเป็นภูมิทัศน์ถนนที่มีบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้และตลาดเรือนแถวเกาะตัวอยู่ย่านใจกลางชุมชนพื้นที่โดยรอบยังคงเป็นนาข้าวและสวนชนบทที่ผสมกับไร่พืชเศรษฐกิจ โดยวิถีชีวิตยังคงลักษณะความเป็นชนบทที่มีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมผู้ไทและสังคมของชาวนาในลักษณะของภูมิทัศน์วัฒนธรรมหมู่บ้านพัฒนา และช่วงที่ 3 (พ.ศ.2532-2554) คนเข้ามาจัดการสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่และการปรับให้เข้าระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมมากขึ้น พื้นที่ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนจากอาคารบ้านเรือนสมัยใหม่ วิถีชีวิตมีความเป็นเมืองมากขึ้นจากอาชีพการค้าและการบริการภายในชุมชน พื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่โดยรอบมีรูปแบบการผลิตที่เข้มข้นขึ้นและเน้นเพื่อการค้า การดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวผู้ไทที่มีความเป็นชนบทจึงพบเห็นได้น้อยลง แต่สังคมชาวผู้ไทเมืองเรณูนครยังคงมีพระธาตุเรณูเป็นศูนย์กลางสำคัญและยึดเหนี่ยวกันด้วยวัฒนธรรมประเพณีที่มีรากฐานมาจากฮีตสิบสองคองสิบสี่และวิถีชีวิตชาวนา เกิดเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบทที่มีหน้าตาไม่แตกต่างจากเมืองอื่นทั่วไปใน ยุคปัจจุบันและอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกลักษณ์ทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมแบบชนบทของชาวผู้ไทไปอย่างสิ้นเชิง สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงมีความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ภายนอกที่มากระทบต่อเมืองเรณูนครทำให้ ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นผลกระทบเกี่ยวเนื่องกันและยังเกิดการต่อเนื่องกันมาในแต่ละช่วงเวลา มีสาเหตุดังนี้ 1) นโยบายการวางแผนจากภาครัฐเพื่อเปลี่ยนบ้านเรณูให้เป็นเมืองในฐานะสุขาภิบาลตำบลและเทศบาลตำบลตามลำดับ 2) การปลูกฝังแนวความคิดการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยให้กับชาวผู้ไทในช่วงการพัฒนาประเทศหลัง พ.ศ.2500 3) การพัฒนาและปรับปรุงเส้นทางคมนาคมขนส่งทางถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2031และถนนเชื่อมต่อภายในชุมชนเมืองเรณูนคร 4) การปรับตัวของชาวผู้ไทให้สอดคล้องกับกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยม 5) การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่อยู่รอบพื้นที่ชุมชนเมืองเรณูนคร 6) การยืมรูปแบบอาคารในชุมชนเมืองและนำวัสดุจากภายนอกท้องถิ่นเข้ามาใช้ในวิถีชีวิตของชาวผู้ไทเรณูนครen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this thesis are 1) studying cultural landscape change of Muang Renunakorn from past to present (1841-2011); 2) studying change phenomenon of cultural landscape in Muang Renunakorn in each period; and 3) analyzing causes of cultural landscape change in Muang Renunakorn. From this research it is found that cultural landscape of Muang Renunakorn has developed from rural cultural landscape to rurban cultural landscape as following changes; during first period (1841-1957), people adjusted themselves to natural environment and seasons. They grew rice depending on rainwater. Their orchards located harmoniously with sparse and swamp forests surrounded by upland where villages consist of Phu Thai houses gather together. They have simple life and adhere in Phu Thai’s Heat Sib Song Kong Sib See (traditional rituals all year (twelve months) and fourteen practices) where Renu Relics is a center of their belief. This becomes Phu Thai farmers’ cultural landscape. Second period (1958-1988), people managed natural environment to facilitate from infrastructure and economic development by government sector. This phenomenon created road landscape where brick and wood houses and row houses market can be found in the center of community. Meanwhile, the nearby area still was rice fields and orchards mixed with industrial crop. Their lifestyle was rural characteristics based on Phu Thai culture and peasant society with cultural landscape of development villages. Third period (1989-2011) people manage natural environment applying advanced technology and adapting to capitalism economy. The community has changed apparently. Modern building and urbanized lifestyle can be found from business and services in the community. The nearby agricultural area has intensive production and focusing on business. Phu Thai traditional lifestyle can be less found, however, Phu Thai people in Muang Renunakorn still have Renu Relics as their important center and bound by culture and tradition derived from Heat Sib Song Kong Sib See and farmer lifestyle. This phenomenon causes rurban cultural landscape similar to other cities in modern era. They are risky to lose their Phu Thai cultural landscape uniqueness of completely. The causes of such changes have connected with external incidents affected to Renunakorn. The changes of cultural landscape have affected relatively and subsequently have occurred in each period. Such changes consist of 1) government plans to change Renunakorn to town as sanitation district and district municipality, respectively; 2) indoctrinating concept of modern development to Phu Thai people during nation development period after 1957; 3) transportation routes development and improvement, which is 2031 highway and roads connecting to Muang Renunakorn; 4) Phu Thai’s adjustment to meet capitalism economy; 5) changes of natural environment adjacent to Muang Renunakorn; and 6) borrowing building styles in urban area and bringing in materials from outside to use in Phu Thai Renunakorn’s lifestyle.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1508-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเรณูนคร (นครพนม)en_US
dc.subjectภูมิทัศน์วัฒนธรรม -- ไทย -- นครพนมen_US
dc.subjectRenunakorn (Nakhonphanom)en_US
dc.subjectCultural landscapes -- Thailand -- Nakhonphanomen_US
dc.titleการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองเรณูนคร จังหวัดนครพนมen_US
dc.title.alternativeCultural Landscape Change Of Muang Renunakorn, Nakhon Phanom Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDusadee.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1508-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
akkhraphol_on.pdf14.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.