Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49603
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนรลักขณ์ เอื้อกิจ
dc.contributor.authorสมใจ สายสม
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2016-10-10T02:21:04Z
dc.date.available2016-10-10T02:21:04Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49603
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจอย่างต่อเนื่อง ต่อความสำเร็จและระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยอายุรกรรมวัยผู้ใหญ่ ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะการหายใจล้มเหลวที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก และหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 27 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการหย่าเครื่องช่วยหายใจตามวิธีปกติ ที่แพทย์และพยาบาลให้การดูแลและปฏิบัติตามมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพตามความชำนาญ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล กลุ่มทดลองได้รับการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ตามโปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจอย่างต่อเนื่องที่ผู้วิจัยพัฒนาตามแนวคิดกระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจของสมาคมพยาบาลภาวะวิกฤตสหรัฐอเมริกา (1998) แบ่งเป็น 3 ระยะ 1) ระยะก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ 2) ระยะหย่าเครื่องช่วยหายใจ และ3) ระยะประเมินผลการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งประเมินผลโดยวัดอัตราความสำเร็จ และระยะเวลาเฉลี่ยในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Independent Z-test และ ค่า Independent t-test ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. ผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวที่ได้รับโปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจอย่างต่อเนื่อง มีอัตราความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการหย่าเครื่องช่วยหายใจตามวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวที่ได้รับโปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจอย่างต่อเนื่อง มีระยะเวลาเฉลี่ยในการหย่าเครื่องช่วยหายใจน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการหย่าเครื่องช่วยหายใจตามวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to examine the effects of weaning continuum program on success rate and duration of ventilator weaning among patients with respiratory failure. Fifty-four critically ill patients (adults) diagnosed with respiratory failure and intubation were recruited from the medical intensive care unit and the medical ward at Photharam Hospital, Rajburi. Twenty-seven (n = 27) patients were randomly assigned to the control group and the rest was assigned to the experimental group (n = 27). The control group received the method of the weaning ventilation based on professional standards and experiences. The experimental group received the weaning continuum program developed by researchers based on the concept of the weaning program of American Association of Critical-Care Nursing in 1998. This program was composed of 1) pre-weaning phase; 2) weaning phase; and 3) the phase of weaning outcome evaluation measured by the success rate and duration of weaning. Percentage, mean, standard deviation, Independent Z-test and Independent t-test were used to analyze data. The research findings showed: 1. The experimental group after receiving the program was significantly higher success rate than the control group at the significant level of .05 2. The experimental group after receiving the program had shorter duration of weaning success than the control group at the significant level of .05.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1532-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเครื่องช่วยหายใจen_US
dc.subjectทางเดินหายใจ -- โรค -- การพยาบาลen_US
dc.subjectRespirators (Medical equipment)en_US
dc.subjectRespiratory organs -- Diseases -- Nursingen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจอย่างต่อเนื่อง ต่อความสำเร็จและระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวen_US
dc.title.alternativeEffects of weaning continuum program on success and Duration of ventilator weaning among patients with Respiratory failureen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNoraluk.U@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1532-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somjai_sa.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.