Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49648
Title: เอสเทอร์ริฟิเคชันของเมทานอลและเอทานอลกับกรดไขมันที่กลั่นได้จากน้ำมันมะพร้าวโดยใช้เรซินแลกเปลี่ยนไอออนแอมเบอร์ลิสต์ บีดี 20
Other Titles: Esterification of methanol and ethanol with coconut fatty acid ditillate using amberlyst bd 20 ion exchange resin
Authors: สุธาสิน เสนานิกรม
Advisors: เจิดศักดิ์ ไชยคุนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jirdsak.T@Chula.ac.th
Subjects: เมทานอล
เอทานอล
เอสเทอริฟิเคชัน
กรดไขมัน
น้ำมันมะพร้าว
เรซินแลกเปลี่ยนไอออน
Methanol
Ethanol
Esterification
Fatty acids
Coconut oil
Ion exchange resins
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปฏิกิริยาเอสเทอร์ริฟิเคชันของเมทานอลและเอทานอลกับกรดไขมันที่กลั่นได้จากน้ำมันมะพร้าวโดยใช้เรซินแลกเปลี่ยนไอออนแอมเบอร์ลิสต์บีดี 20 ทำการทดลองโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบกะขนาดความจุ 2 ลิตร ที่ความดัน 100 ปอนด์ต่อตารางนิ้วและปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 20 โดยน้ำหนักของกรดไขมันที่กลั่นได้จากน้ำมันมะพร้าว โดยทำการศึกษาตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยา ได้แก่ ความเร็วรอบในการกวนของเครื่องปฏิกรณ์ อัตราส่วนโดยโมล ของกรดไขมันที่กลั่นได้จากน้ำมันมะพร้าวต่อแอลกอฮอล์ อุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาและการนำตัวเร่งปฏิกิริยากลับมาใช้ใหม่ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ปฏิกิริยาที่ทำการศึกษาเป็นปฏิกิริยาผันกลับได้ ค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงของกรดไขมันที่กลั่นได้จากน้ำมันมะพร้าวเพิ่มขึ้น เมื่ออัตราส่วนโดยโมลของกรดไขมันที่กลั่นได้จากน้ำมันมะพร้าวต่อเมทานอลและอุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น ความเร็วรอบในการกวนของเครื่องปฏิกรณ์มากกว่า 100 รอบต่อนาทีและอัตราส่วนโดยโมล ของกรดไขมันที่กลั่นจากน้ำมันมะพร้าวต่อเมทานอลมากกว่า 1:10 ไม่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยา อีกทั้งผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เรซินแลกเปลี่ยนไอออนแอมเบอร์ลิสต์ บีดี 20 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยามีประสิทธิภาพสูงและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รูปแบบจลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยา เอสเทอร์ริฟิเคชันของเมทานอลกับกรดไขมันที่กลั่นได้จากน้ำมันมะพร้าวโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาในช่วงแรกของปฏิกิริยาเป็นปฏิกิริยาเสมือนอันดับหนึ่งแบบไม่ผันกลับ ในกรณีศึกษาของปฏิกิริยา เอสเทอร์ริฟิเคชันของเอทานอลกับกรดไขมันที่กลั่นได้จากน้ำมันมะพร้าวแสดงให้เห็นว่า ความเร็วรอบในการกวนของเครื่องปฏิกรณ์มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยา ที่อัตราส่วนโดยโมลของกรดไขมันที่กลั่นจากน้ำมันมะพร้าวต่อเอทานอลมากกว่า 1:18 ไม่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยา อัตราการเกิดปฏิกิริยา เอสเทอร์ริฟิเคชันของเอทานอลกับกรดไขมันที่กลั่นได้จากน้ำมันมะพร้าวขึ้นกับอิทธิพลของการถ่ายเทมวลสารภายนอกเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ชนิดของแอลกอฮอล์มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยา
Other Abstract: Esterification of methanol and ethanol with coconut fatty acid distillate using Amberlyst BD 20 ion exchange resin has been investigated in this study. The experiments were conducted in a stainless steel autoclave reactor at pressure of 100 psi and the amount of catalyst of 20 %weight of coconut fatty acid distillate. The effects of speed of agitation, molar ratio of coconut fatty acid distillate to alcohol, reaction temperature and reusability of catalyst were investigated. The experimental results show that the reaction is a reversible reaction. The conversion of coconut fatty acid distillate increases with the molar ratio of coconut fatty acid distillate to methanol and reaction temperature. The speed of agitation more than 100 rpm and molar ratio of coconut fatty acid distillate to methanol higher than 1:10 do not affect the esterification reaction. The experimental result also shows that Amberlyst BD 20 exchange resin is high effective catalyst and can be reused. The kinetic model of esterification of methanol with coconut fatty acid distillate using catalyst is pseudo first order irreversible reaction during initial reaction period. In case study of esterification of ethanol with coconut fatty acid distillate shows that the speed of agitation affects the esterification reaction. At molar ratio of coconut fatty acid distillate to ethanol higher than 1:18 does not affect the esterification reaction. Reaction rate of ethanol with coconut fatty acid distillate using catalyst depends on influence of mass transfer. Type of alcohol affects the reaction.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49648
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1545
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1545
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sutasin_se.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.