Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49672
Title: ตัวแบบการตัดสินใจซื้อความจุที่ว่างของเที่ยวรถที่บรรทุกไม่เต็มคันเพื่อขายต่อ
Other Titles: A decesion model for purchasing of left-over capacities in less-than-truckload trips for resale
Authors: วิษณุ สามเมือง
Advisors: มานพ เรี่ยวเดชะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: manop@eng.chula.ac.th
Subjects: การขนส่งด้วยรถบรรทุก
ค่าระวาง
ผู้ประกอบการขนส่ง
Trucking
Freight and freightage
Freight forwarders
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเดินรถเที่ยวเปล่าและการเดินรถโดยบรรทุกสินค้าไม่เต็มคันรถเป็นความสูญเปล่า ทำให้เจ้าของรถอาจเสนอขายความจุที่ว่างบนรถบรรทุกด้วยราคาที่ต่ำกว่าการรับจ้างบรรทุกปกติ งานวิจัยนี้นำเสนอรูปแบบการจัดการรถเที่ยวเปล่าและเที่ยวรถที่บรรทุกไม่เต็มคัน ในธุรกิจที่มีผู้ประกอบการคนกลางรับซื้อความจุที่ว่างบนรถบรรทุกในบางเที่ยวจากเจ้าของรถ เพื่อนำไปให้บริการกับผู้ต้องการขนส่งสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าปกติ โดยการเสนอตัวแบบสำหรับการกำหนดปริมาณเป้าหมายของการซื้อและขายความจุที่ว่างบนรถบรรทุกของแต่ละเส้นทางในแต่ละช่วงเวลา เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจซื้อหรือขาย หรือปฏิเสธที่จะซื้อหรือขายเที่ยวรถบรรทุกซึ่งมีความไม่แน่นอน โดยมีวัตถุประสงค์ให้ค่าคาดหวังของกำไรสูงสุด โดยคำนึงถึงต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการซื้อความจุที่ว่างบนรถบรรทุกไม่เพียงพอกับความต้องการและความสูญเสียจากการซื้อความจุที่ว่างบนรถบรรทุกมากเกินไป และมีการนำตัวแบบการตัดสินใจที่สร้างขึ้นไปเขียนโปรแกรมเพื่อจำลองสถานการณ์และทดสอบกับปัญหาจำนวน 30 ตัวอย่าง พบว่าภายใต้ค่าพารามิเตอร์ที่กำหนดไว้ ตัวแบบการตัดสินใจดังกล่าวสามารถทำกำไรให้กับผู้ประกอบการคนกลางโดยเฉลี่ย 37.43% ของต้นทุน
Other Abstract: Trips of empty trucks and less-than-truckload trucks are wasteful and make truck owners willing to sell the unused capacities at lower prices than usual hauls. This research presents a concept of managing trips of empty or less-than-truckload trucks in the business of a third-party entrepreneur who purchases unused capacities in some trips from truck owners to service customers who want to transport their cargos at lower than usual costs. It also presents models for setting the target capacities to purchase and sell for each route in each period in order to support the decision to accept or reject the offer to sell the unused capacity in a truck trip and the decision to accept or reject the requests for service. Occurrences of offers are uncertain and the objective in decision making is to maximize the expected profit with consideration on costs incurred from insufficient and excessive purchased capacity. A program was developed on the decision models to simulate and test 30 problems. The results under the controlled parameters indicated that the decision model generated on average 37.43% profit to the third-party entrepreneur.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49672
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1549
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1549
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wissanu_sa.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.