Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49685
Title: ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองปาย จังหวัดแมํฮํองสอน
Other Titles: Cultural landscape of Muang Pai, Mae Hong Son province
Authors: กฤษญา ตันนุกูล
Advisors: วรรณศิลป์ พีรพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wannasilpa.P@Chula.ac.th
Subjects: ปาย (แม่ฮ่องสอน) -- ประวัติศาสตร์
ภูมิทัศน์วัฒนธรรม -- ไทย -- ปาย (แม่ฮ่องสอน)
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- ไทย -- ปาย (แม่ฮ่องสอน)
Pai (Mae Hong Son) -- History
Cultural landscapes -- Thailand -- Pai (Mae Hong Son)
Heritage tourism -- Thailand -- Pai (Mae Hong Son)
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองปาย 2) วิเคราะห์องค์ประกอบและคุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองปาย 3) วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองปาย โดยมีระเบียบวิธีวิจัยหลักคือ การสำรวจภาคสนาม แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ผู้รู้ในท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า เมืองปายมีพัฒนาการภูมิทัศน์วัฒนธรรม 3 ช่วง โดยช่วงที่ 1 (พ.ศ.1855-2397) เป็นช่วงแรกเริ่มในการตั้งถิ่นฐานของเมืองปาย โดยกลุ่มชาวไทใหญ่เข้ามาเป็นกลุ่มแรก ในช่วงนี้มีภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองปายถูกกำหนดโดยสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยมีวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่เป็นตัวสนับสนุน ก่อให้เกิดรูปแบบการตั้งถิ่นฐานที่มีอัตลักษณ์บริเวณชุมชนเวียงเหนือและชุมชนเวียงใต้ ต่อมาในช่วงที่ 2 (พ.ศ.2398-2537) เป็นช่วงของชุมชนเริ่มมีการขยายตัว เป็นผลจากการสร้างถนนจากเชียงใหม่เข้าสู่เมืองปาย โดยกองทัพญี่ปุ่น ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองปายเริ่มปรับเปลี่ยนไปบ้างแต่ไม่มากนัก รูปแบบการตั้งถิ่นฐานยังคงเป็นชุมชนไทใหญ่ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ แต่มีการขยายตัวไปตามถนนสาย 1095มากขึ้น และในช่วงที่ 3 (พ.ศ.2538-ปัจจุบัน) ช่วงของการเปลี่ยนแปลงจากการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการก่อสร้างที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่ออัตลักษณ์การตั้งถิ่นฐานและวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชน ซึ่งมีแนวโน้มที่ปัญหาจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต หากไม่มีการอนุรักษ์ชุมชนที่เหมาะสม จากการศึกษาพบว่าชาวไทใหญ่ที่เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ในเมืองปายมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ โดดเด่น ประกอบกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่เป็นที่ราบขนาดเล็กกลางหุบเขา ก่อให้เกิดองค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สำคัญคือ องค์ประกอบด้านสุนทรียภาพประกอบด้วย รูปแบบการตั้งถิ่นฐานแบบตารางกริด สถาปัตยกรรมวัดศรีดอนชัยและวัดหลวง พื้นที่เกษตรกรรม และแม่น้ำปาย องค์ประกอบด้านวัฒนธรรมและสังคมประกอบด้วย พื้นที่เกษตรกรรมที่ติดลำเหมืองและบริเวณที่ลาดเชิงเขา วัดต่างๆ และศาลเจ้าเมือง และองค์ประกอบด้านประวัติศาสตร์ประกอบด้วย คันดินคูน้ำ ประตูเมืองเก่า บ่อน้ำฮู วัดศรีดอนชัย และวัดหลวง ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองปาย พบว่ามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดในด้านสุนทรียภาพบริเวณพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเปลี่ยนแปลงเป็นที่พักและรีสอร์ท ข้อเสนอแนะในการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองปาย ประกอบด้วยมาตรการทางผังเมืองในการควบคุมกิจกรรมการใช้ที่ดิน และการออกเทศบัญญัติเพื่อควบคุมรูปแบบสถาปัตยกรรมให้เหมาะสม รวมถึงมาตรการจูงใจ เพื่อให้สามารถรักษาอัตลักษณ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป
Other Abstract: The purposes of this thesis are,1) to study the development of cultural landscape of Muang Pai 2) to analyze elements and values of cultural landscape of Muang Pai and 3) to analyze the changing trend of cultural landscape of Muang Pai. The methodology of the study is based on field survey, questionnaire, and interview of experts in the local area. The result of this study revealed that the development of cultural landscape of Muang Pai could be divided into three periods. The first period (B.E. 1855 – 2397) was the initial settlement of Muang Pai where Tai Yai people were the first group who came to this place. In this period, cultural landscape of Muang Pai was dominated by natural environment. With the support of Thai Yai culture, resulting in a unique settlement pattern of Waing Nuea and Waing Tai community. The second period (B.E. 2398 – 2537) showed the expansion of the community due to road construction from Chiang Mai to Muang Pai by the Japanese army. The cultural landscape began to change but the settlement pattern of Tai Yai that agreed with natural environment still remained. There was some community expansions along the 1095 road. The third period (B.E. 2538 – present) was the changing period caused by tourism development, especially the near construction of tourism accommodation and facilities to cope with the vapid increase of tourists. This affected in identity of local settlement and way of living. The problem tended to increase in the future if there was no suitable community conservation measures. This study also revealed that most of local people were Thai Yai whose culture was very unique. In combination with the natural environment of the plain between valleys, they formed several important of cultural landscape. The first component was aesthetics included the grid-pattern settlement, the architecture of Sri Don Chai Temple and Luang Temple, the surrounding agricultural area and Pai River. The second component was culture and society included the agricultural area next to the natural ditches and foothill, temples and the governor’s shrine. The last component was history with included the historical community wall and gate, Hoo pond, Sri Don Chai temple and Wat Luang temple. There cultural landscape components tended to change dramatically, especially the aesthetic component in the surrounding agricultural areas which were replaced by accommodations and resorts The recommendations for cultural landscape conservation of Muang Pai included city planning measure to control land use activity and local architectural patterns as well as the provision of incentives to help conserve the identity of local cultural landscape.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49685
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1603
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1603
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kridsaya_ta.pdf8.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.