Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49719
Title: บทบาทในอนาคตของครูภูมิปัญญาไทยในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านศิลปกรรม
Other Titles: Future roles of Thai wisdom teachers in lifelong learning management in fine arts
Authors: จักรกริศษ์ สุขสวัสดิ์
Advisors: วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Worarat.A@Chula.ac.th
Subjects: ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน
ครูศิลปศึกษา
การศึกษาต่อเนื่อง
Art -- Study and teaching
Art teachers
Continuing education
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการบทบาทในอนาคตของครูภูมิปัญญาไทยในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านศิลปกรรม 2) เพื่อศึกษาบทบาทในอนาคตของครูภูมิปัญญาไทยในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านศิลปกรรม ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญ 19 ท่าน ได้แก่ ครูภูมิปัญญาไทยด้านศิลปกรรม และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยเทคนิคเดลฟายแล้วนำมาคำนวณค่าหาค่ามัธยฐานค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษา สภาพ ปัญหา ความต้องการประกอบด้วย 1) ผลการศึกษาสภาพประกอบด้วย ครูภูมิปัญญาไทยมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ตามหลักการ วัตถุประสงค์ตามเนื้อหาสาระของภูมิปัญญาไทย ด้วยจิตอาสา อนุรักษ์ศิลปกรรมไทยโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยตามนโยบายของรัฐบาลเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดองค์ความรู้ สู่การจัดการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และตามอัธยาศัยเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ผลการศึกษาปัญหาประกอบด้วย ครูภูมิปัญญาไทยขาดผู้สืบทอดองค์ความรู้ คนรุ่นใหม่ไม่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาไทย ขาดการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง 3) ผลการศึกษาความต้องการประกอบด้วยครูภูมิปัญญาไทยต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้ เผยแพร่องค์ความรู้สู่คนรุ่นหลัง การสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐเพื่อพัฒนา หลักสูตร สื่อพื้นบ้าน สื่อเทคโนโลยี ในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. บทบาทในอนาคตของครูภูมิปัญญาไทยในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านศิลปกรรม ประกอบด้วย 5 บทบาท ได้แก่ 1) ด้านผู้สอน คือมีบทบาทในการพัฒนากระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาไทยด้านศิลปกรรม และการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ 2) ด้านเนื้อหาและหลักสูตร คือ รวบรวมองค์ความ พัฒนาเป็นหลักสูตรของครูภูมิปัญญาไทยที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของครูเพื่อป้องกันการสูญหาย 3) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คือ การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทยในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4) ด้านสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน คือ การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีช่วยส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้ และผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามอัธยาศัย 5) ด้านการประเมินผล คือ การจัดทำเกณฑ์มาตรฐานให้ผู้เรียนที่ผ่านหลักสูตรการเรียนรู้ของครูภูมิปัญญาไทย
Other Abstract: The purposes of this research were to 1) study the state, problems, and needs of the future roles of the future roles of Thai wisdom teachers in lifelong learning management in fine arts; and 2) study the future roles of Thai wisdom teachers in lifelong learning management in fine arts. The research instruments were an interview question form and a questionnaire. The samples were nineteen Thai wisdom teachers in fine arts and experts in lifelong learning. The data were gathered by using the Delphi Technique, then analyzed through Median ( ), and interquartile range (IGR). The research findings were as follow. 1. The results of state showed that 1) Thai wisdom teachers in fines arts shared their knowledge based on principles, objectives and contents of Thai wisdom, carried volunteering spirit, conserved Thai traditional arts depends on government policies, and contributed to the knowledge transferring in formal education, non-formal and informal education. 2) The problems of Thai wisdom teachers included the lack of successors, budget, and compensation provided by the government agencies, as well as the lack of interest and value in wisdom knowledge of the new generation. 3) The needs of Thai wisdom teachers included the knowledge transferring from generations to generations and the development of the local knowledge curriculum, the folk media, ICTs, and the financial support in organizing lifelong learning. 2. The future roles of Thai wisdom teachers consisted of five main roles: 1) teacher roles: Thai wisdom teachers should develop knowledge transfer processes and Thai cultural conservation; 2) contents and curriculums roles: Thai wisdom teachers should gather all knowledge and develop local knowledge curriculum; 3) teaching and learning activity roles: the wisdom teachers should help setting the learning centers to promote lifelong learning; 4) learning materials roles: teacher should develop informal learning materials for knowledge transferring to the learners; and 5) evaluation and assessment roles: Thai wisdom teachers should develop the learning criteria and standard for those learners who pass the learning courses or programs.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49719
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1576
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1576
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jukkit_su.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.