Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49726
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนราพงษ์ จรัสศรี-
dc.contributor.authorจุลชาติ อรัณยะนาค-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-11-07T09:35:00Z-
dc.date.available2016-11-07T09:35:00Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49726-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่อง เอกลักษณ์ไทยในงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย “นารายณ์อวตาร” พ.ศ.2546 ของ นราพงษ์ จรัสศรี นี้ ผู้วิจัยต้องการศึกษารูปแบบและแนวคิดในการสร้างสรรค์เอกลักษณ์ไทยในงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย “นารายณ์อวตาร” พ.ศ. 2546 ของ นราพงษ์ จรัสศรีที่จัดแสดงขึ้นระหว่างวันที่ 2- 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยแบบสร้างสรรค์ให้เป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์มรดกทางนาฏยศิลป์และวรรณกรรมของชาติสำหรับคนรุ่นใหม่ ดังนั้นผู้วิจัยจึงตั้งประเด็นคำถามถึง รูปแบบและแนวคิดในการสร้างสรรค์เอกลักษณ์ไทยในงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย “นารายณ์อวตาร” พ.ศ. 2546 ของ นราพงษ์ จรัสศรี จะเป็นอย่างไร เครื่องมือ 6 ชนิดที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างงานนาฏยศิลป์แบบสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วมในงานสัมมนา สื่อสารสนเทศอื่นๆ การสำรวจข้อมูลภาคสนาม และเกณฑ์มาตรฐานศิลปินต้นแบบ การเก็บข้อมูลได้ดำเนินการอยู่ในช่วงของเดือน มกราคม 2546 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ข้อมูลทั้งหมดได้ถูกนำมาวิเคราะห์ และได้คำตอบของงานวิจัยในครั้งนี้ คือ รูปแบบของการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย “นารายณ์อวตาร” ประกอบไปด้วย 1) บทการแสดง 2) การออกแบบลีลา 3) การออกแบบเครื่องแต่งกาย 4) การออกแบบดนตรี 5) การออกแบบพื้นที่เวที 6) การออกแบบแสง 7) การออกแบบอุปกรณ์การแสดง 8) นักแสดง และแนวคิดในการสร้างเอกลักษณ์ไทยในงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย “นารายณ์อวตาร” พ.ศ. 2546 ประกอบด้วย 1) สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ไทย 2) การใช้สัญลักษณ์เพื่อสร้างเอกลักษณ์ไทย 3) การใช้ทฤษฎีทางด้านนาฏยศิลป์และทัศนศิลป์เพื่อสร้างเอกลักษณ์ไทย 4) การใช้ความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเสริมเอกลักษณ์ไทยให้เด่นขึ้น 5) สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมไทย 6) คำนึงถึงการสร้างสรรค์เพื่อสร้างเอกลักษณ์ไทย 7) การอนุรักษ์ความเป็นไทย 8) คุณธรรมที่ยอมรับกันในสังคมไทย 9) การสร้างอรรถรสในการแสดงเพื่อสร้างเอกลักษณ์ไทย 10) คำนึงถึงการสื่อสารเพื่อสร้างเอกลักษณ์ไทย 11) สร้างจิตสำนึกในด้านเอกลักษณ์ไทยให้กับคนรุ่นใหม่ ตรงตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยทุกประการen_US
dc.description.abstractalternativeIn the thesis, Thai Identity in Contemporary Dance “Narai Avatar 2003”, the researcher studied Thai identities appeared in a Naraphong Charassri‘s Thai contemporary dance work piece called “Narai Avatar 2003” performed from 2nd to 4th of February 2003 as guideline in creating creative Thai performing arts to preserve performing art heritage for the new generation. The main question is “What is the Thai form and the idea behind creation of the Thai identity in Thai Contemporary dance “Narai Avatar 2003” by Naraphong Charassri”. The six tools for this research are; exploring literatures, interviewing people involving creations of creative performing arts, participating in symposiums, collecting data from various medias, field studies, and studying original artist’s standard. Information are collected during January 2003 – February 2012. The answer to this research is Thai Contemporary dance, “Narai Avatar 2003” contains:- 1) Play script 2) Choreographing 3) Costumes design 4) Music composition. 5) Stage functioning design 6) Light design 7) Props design and 9) Performers. Concept of Thai identities creation in Thai Contemporary dance “Narai Avatar 2003” is consisted of ; 1) Reflection of Thai identities 2) Application of symbols in creation of Thai identities. 3) Utilization of performing arts and visual arts theories in creation of Thai identities. 4) Applications of cultural diversifications in support and emphasis of Thai identities 5) Reflection of Thai social life 6) Consideration of creative creation in creation of Thai identities 7) Conservation of Thai identities 8) Practiced ethics in Thai society 9) Consideration of communication in creation of Thai identities 10) Aesthetic value in the performance for creation of Thai identities and 11) Encouraging consciousness of Thai identity to people of new generations.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1583-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนราพงษ์ จรัสศรีen_US
dc.subjectนาฏศิลป์ไทยen_US
dc.subjectการรำ -- ไทยen_US
dc.subjectNarapong Charassrien_US
dc.subjectDramatic arts, Thaien_US
dc.subjectDance -- Thailanden_US
dc.titleเอกลักษณ์ไทยในงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย “นารายณ์อวตาร” พ.ศ. 2546 ของ นราพงษ์ จรัสศรีen_US
dc.title.alternativeThai identity in contemporary Thai dance “Narai Avatara 2003” by Narapong Charassrien_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNaraphong.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1583-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chulachat_ar.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.