Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49894
Title: การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นของแหล่งวัตถุดิบสำหรับการผลิตซิลิคอนเกรดเซลล์แสงอาทิตย์จากแหล่งแร่ควอตซ์ในประเทศไทย
Other Titles: Pre-feasibility study of solar glade silicon feedstock from quartz deposit in Thailand
Authors: ปพน หลวงทุมมา
Advisors: ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Titisak.B@Chula.ac.th,tboonpra03@yahoo.com
Subjects: แหล่งแร่ -- ไทย -- ราชบุรี
ซิลิกอน
เซลล์แสงอาทิตย์
Mines and mineral resources -- Thailand -- Ratchaburi
Silicon
Solar cells
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูล และประเมินความเป็นไปได้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ของแหล่งวัตถุดิบที่สามารถนำมาผลิตเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ โดยใช้แร่จากแหล่งแร่ควอตซ์ตะโกปิดทอง จังหวัดราชบุรี และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความคุ้มค่า และไม่คุ้มค่าของโครงการ ด้านธรณีวิทยา ได้ทำการสำรวจพื้นที่แหล่งแร่ควอตซ์ สุ่มเก็บตัวอย่างแร่ และนำมาวิเคราะห์หาความบริสุทธิ์ของแร่โดยใช้เครื่องมือ X-RAY FLUORESCENCE (XRF) จากการวิเคราะห์มูลพบว่ามีปริมาณ SiO2 เฉลี่ยเท่ากับ 99.550% จากข้อมูลดังกล่าวเปรียบเทียบกับข้อมูลในอุตสาหกรรมซิลิคอนในประเทศไทยในปัจจุบัน สรุปเบื้องต้นได้ว่าแร่ควอตซ์ในแหล่งแร่ตะโกปิดทอง จังหวัดราชบุรีมีคุณภาพสูงเพียงพอที่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ได้ ด้านการศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ตั้งแต่ขั้นตอนการทำเหมือง การแต่งแร่ และตั้งโรงงานผลิตซิลิคอนเกรดเซลล์แสงอาทิตย์โดยแบ่งศึกษาเป็น 2 กรณี คือ 1.ศึกษาความเป็นไปได้ของการผลิตซิลิคอนเกรดเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยวิธี ECO-X 2. ศึกษาความเป็นไปได้ของการผลิตซิลิคอนเกรดเซลล์แสงอาทิตย์โดยการจำหน่ายแร่ควอตซ์ที่ได้จากเหมืองเพื่อผลิตเป็นซิลิคอนเกรดโลหกรรม และรับซื้อซิลิคอนเกรดโลหกรรมเพื่อนำมาผลิตเป็นซิลิคอนเกรดเซลล์แสงอาทิตย์ โดยระยะเวลาของเหมืองเท่ากับ 25 ปี โดยข้อสรุปของกรณีที่ 1 พบว่า NPV เท่ากับ 221,108.33 ล้านบาท IRR เท่ากับ 85% และระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 1 ปี 3 เดือน ข้อสรุปของกรณีที่ 2 พบว่า NPV เท่ากับ 143,162.34 ล้านบาท IRR เท่ากับ 46% และระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 2 ปี 2 เดือน จากข้อมูลดังกล่าวสรุปได้ว่าโครงการในกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 นี้น่าสนใจที่จะลงทุน และมีความเป็นไปได้ในการลงทุน
Other Abstract: The object of this study is to conduct the prefeasibility study of solar grade silicon feedstock from Takopidtong mine, quartz deposit in Karnchanaburi province, Thailand. In order to formulate suitable plan in technical by geology, the data were analyzed as financial aspects and economic benefit. In term of geology, the quartz mine have been surveyed, and the quartz samples were collected for geological analysis using X-ray fluorescence (XRF). The data showed the average content of SiO2 is 99.550%. The quartz in this deposit has enough purity to be produced as solar grade silicon. In the financial study, this study was considered as two routes of manufacturing solar grade silicon. The first was used ECO-X method, and the second was produced from metallurgical silicon. The duration of these projects would be 25 years. For the first route, the results indicated that NPV = 221,108.33 million THB, IRR = 85% and the payback period would be 1 year and 3 months. For the second route, NPV and IRR would be 143,162.34 million THB and 46%. The payback period would be 2 years and 2 month. Referring to the financial study, this project is feasible.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมทรัพยากรธรณี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49894
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1309
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1309
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570273321.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.