Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49938
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญพักตร์ อุทิศen_US
dc.contributor.advisorสุนิศา สุขตระกูลen_US
dc.contributor.authorอณิมา จันทรแสนen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-11-30T05:39:40Z-
dc.date.available2016-11-30T05:39:40Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49938-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สารแอมเฟตามีนก่อนและหลังการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัว 2) เปรียบเทียบความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สารแอมเฟตา-มีน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สารแอมเฟตามีนและครอบครัว ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 40 คน และครอบครัว (ประกอบด้วยผู้ดูแลหลัก 1 คน และสมาชิกอื่นๆ 1 คน) ผู้ป่วยจิตเภทได้รับการจับคู่ด้วยคะแนนความรุนแรงของอาการทางจิต แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัว ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วยกิจกรรม 9 กิจกรรม ได้แก่ การสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย ผู้ดูแล และสมาชิกในครอบครัว การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคร่วมจิตเภทและการใช้สารแอมเฟตามีน การให้ความรู้เรื่องการรักษาด้วยยาและการฝึกทักษะจัดยาด้วยตนเอง การพัฒนาทักษะการสื่อสารภายในครอบครัว การพัฒนาทักษะการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสมภายในครอบครัว การให้ความรู้และพัฒนาทักษะเรื่องอาการเตือน การป้องกันอาการกำเริบและการจัดการกับอาการกำเริบ กิจกรรมก่อนการจำหน่ายและการติดตามหลังจำหน่าย การพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียด เทคนิคการผ่อนคลายความเครียด 2) แบบวัดความรุนแรงของอาการทางจิต PANSS-T 3) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของญาติ 4) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเภทของผู้ป่วยจิตเภท เครื่องมือชุดที่ 1, 3 และ 4 ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 3 และ 4 มีค่าความเที่ยง (KR-20) เท่ากับ.95 และ .94 ตามลำดับ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สารแอมเฟตามีนหลังการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่ำกว่าก่อนการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สารแอมเฟตามีน หลังการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research using two groups pretest-posttest design were to compare: 1) symptoms severity of schizophrenic patients’ using amphetamine before and after received the family psychoeducational intervention, and 2) symptoms severity of schizophrenic patients’ using amphetamine who received the family psychoeducational intervention and those who received regular nursing care. The subjects composed of 40 schizophrenic patients who met the inclusion criteria and their families (comprised of one primary caregiver and one other member). The subjects were matched- pairs with patient’s symptoms severity and then randomly assigned to either an experimental or control group, 20 subjects in each group. The experimental group received the family psychoeducational intervention and the control group received regular nursing care. The research instruments used in this research are: 1) the family psychoeducational intervention developed by the researcher comprised of 9 activities to enhance family’s knowledge and skills including: relationship building, management of comorbidity, schizophrenia and its symptoms, treatment and its effects on patients and family, medications compliance, effective communication skills and express emotions, warning signs of relapse and relapse prevention, effective stress management and coping, and relaxation techniques, 2) Symptom severity scale (PANSS-T), 3) a test of caregivers’ knowledge to care for schizophrenic, 4) a test of patient’s knowledge on schizophrenia. The 1st, 3rd, and 4th instruments were validated for content validity by 5 professional experts. The 3rd and 4th instrument had Kuder-Richardson (Kr-20) reliability as of 0.95 and 0.94, respectively. The findings are as follows: 1. symptoms severity of schizophrenic patients’ using amphetamine after received the family psychoeducational intervention was significantly lower than that before at p .05 level; 2. symptoms severity of schizophrenic patients’ using amphetamine in the experimental group who received the family psychoeducational intervention was significantly lower than those in the control group who received the regular nursing care at p. 05 level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.761-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้ป่วยจิตเภท-
dc.subjectสุขภาพจิต-
dc.subjectแอมฟิตะมิน-
dc.subjectSchizophrenics-
dc.subjectMental health-
dc.subjectAmphetamines-
dc.titleผลของการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สารแอมเฟตามีนen_US
dc.title.alternativeThe effect of family psychoeducational intervention on symptoms severity in schizophrenic patients using amphetamineen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPenpaktr.U@Chula.ac.th,penpaktr_uthis@yahoo.comen_US
dc.email.advisorSunisa.Su@Chula.ac.th,auyyoo@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.761-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577319936.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.