Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49961
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาชัญญา รัตนอุบลen_US
dc.contributor.advisorสุวิธิดา จรุงเกียรติกุลen_US
dc.contributor.authorจันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-11-30T05:40:09Z-
dc.date.available2016-11-30T05:40:09Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49961-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่อง อนาคตภาพของรูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อการสร้างเสริมองค์กรสุขภาวะอย่างบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาอนาคต ใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบของการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อการสร้างเสริมองค์กรสุขภาวะอย่างบูรณาการ โดยการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศและการศึกษาภาคสนาม 3 กรณีศึกษาที่ดี โดยการศึกษาความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน 2) พัฒนาอนาคตภาพของรูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อการสร้างเสริมองค์กรสุขภาวะอย่างบูรณาการ โดยใช้เทคนิคการวิจัย EDFR ด้วยการศึกษาความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 44 คน และ 3) ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขของอนาคตภาพของรูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อการสร้างเสริมองค์กรสุขภาวะอย่างบูรณาการ โดยการสนทนากลุ่มจำนวน 10 คน รวมกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทั้งสิ้น 63 คน ผลการวิจัยพบว่า อนาคตภาพของรูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อการสร้างเสริมองค์กรสุขภาวะอย่างบูรณาการประกอบด้วย 1) แนวคิดของรูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อการสร้างเสริมองค์กรสุขภาวะอย่างบูรณาการ 2) องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงฯ 3) แนวโน้มของรูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงฯ 4) กระบวนการของรูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงฯ และ 5) ปัจจัยและเงื่อนไขของรูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงฯ ซึ่งรูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปปรับใช้เพื่อการพัฒนาองค์กรสู่ความอย่างยั่งยืน โดยเริ่มจากการตระหนักถึงความสอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัต ด้วยการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบของ 6 องค์ประกอบหลัก อันได้แก่ หลักการ โครงสร้าง บุคลากร (จิตใจ ปัญญา อารมณ์) รวมทั้งองค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทุกองค์ประกอบต่างอิงอาศัย เชื่อมโยง และส่งผลซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสู่องค์กรสุขภาวะที่มีความสามารถในการพัฒนาศักยภาพอย่างเป็นองค์รวม มีความสามารถในการปรับตัวอย่างยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง มีความในการพัฒนาตนเองและการจัดการตนเอง เพื่อการเติบโตอย่างสมดุลทั้งในระดับบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อการประสบความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมั่นคง ยั่งยืน มีความสุขen_US
dc.description.abstractalternativeThe research on “The Scenario of a Transformative Learning Model to Enhance Integral Healthy Organizations” employs a qualitative approach by way of EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) method. The objectives of this paper are 1) to analyze and synthesize transformative learning factors to enhance integral healthy organizations via both local and international literature reviews, academic articles and research studies as well as the in-depth interviews of nine experts from three best cases organizations and communities: 2) to develop a scenario of a transformative learning model to enhance integral healthy organizations via EDFR research technique through the exploration of 44 experts’ perspectives; 3) to study factors and conditions of a transformative learning model to enhance integral healthy organizations with focus group discussion from ten experts. The total samples of this research are sixty-three persons. The results have shown that The Scenario of a Transformative Learning Model to Enhance Integral Healthy Organizations consists of four main components: 1) the concepts of a transformative learning model to enhance integral healthy organizations, 2) the components of a transformative learning model to enhance integral healthy organizations, 3) the trends of a transformative learning model to enhance integral healthy organizations, and 4) the factors and conditions of a transformative learning model to enhance integral healthy organizations. This model could be practically applied towards the development of integral healthy organizations with the initiating of the awareness of conformation to the continuous and dynamic change nature towards the systematic interconnectedness of six essential factors: Principle, Structure, Personnel (Mind, Intellect, and Emotion), Organization, Social, and Environment. All of these are reciprocally interwoven towards an integral organizational potential transformation with balanced flexibility and adaptability to change and also towards a resilient healthy organization with sustainable growth and happiness.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleอนาคตภาพของรูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อการสร้างเสริมองค์กรสุขภาวะอย่างบูรณาการen_US
dc.title.alternativeTHE SCENARIO OF A TRANSFORMATIVE LEARNING MODEL TO ENHANCE INTEGRAL HEALTHY ORGANIZATIONSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorArchanya.R@Chula.ac.th,archanya@gmail.comen_US
dc.email.advisorSuwithida.C@Chula.ac.then_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584461327.pdf8.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.