Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/499
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญมี เณรยอด-
dc.contributor.authorชนินทร หมอแก้ว, 2504--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-24T08:21:27Z-
dc.date.available2006-06-24T08:21:27Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741762429-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/499-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในโครงการผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ ปีพุทธศักราช 2545 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในโครงการผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ ปีพุทธศักราช 2545 จำนวน 17 โรง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย คณะกรรมการวิชาการ และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการแจกแจงความถี่ ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่มีการดำเนินงานวิชาการ ดังนี้ 1. การวางแผนงานวิชาการ โรงเรียนกำหนดวิสัยทัศน์ โดยนำข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา มาประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกัน แจ้งวิสัยทัศน์ในที่ประชุมครู/ผู้ปกครอง ส่วนการกำหนดนโยบาย/เป้าหมายด้านวิชาการ กำหนดให้สอดคล้องกับหลักการและจุดหมายของหลักสูตร และแจ้งให้ครูทราบในที่ประชุมครู ในการจัดทำแผนงาน/โครงการวิชาการ มีการศึกษาสภาพปัญหาในฝ่ายวิชาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้/งาน/ฝ่ายประชุมเขียนแผนงาน/โครงการร่วมกัน ติดตามผลโดยให้ผู้ที่รับผิดชอบแผนงาน/โครงการรายงานในที่ประชุม โรงเรียนจัดบุคลากรด้านวิชาการ ตามความรู้ ความสามารถ ติดตามผลโดยสังเกตการปฏิบัติงานของบุคลากร ส่วนการประชาสัมพันธ์งานวิชาการ มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ประจำโรงเรียน จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน 2. ด้านการดำเนินงานวิชาการ โรงเรียนจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยเตรียมความพร้อมให้ครูผู้สอน จัดตั้งกรรมการหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง วิเคราะห์สภาพและความต้องการของผู้เรียน/ชุมชน กำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร จัดสาระการเรียนรู้ จัดทำหลักสูตรรายปี/รายภาค และจัดทำแผนการสอน ส่วนการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนจัดทำแผนการสอนเป็นรายบุคคล จัดสอนซ่อมเสริมให้กับผู้เรียน โรงเรียนส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ติดตามผลโดยสังเกตการสอนของครูผู้สอน การใช้สื่อการเรียนรู้ ให้ครูผู้สอนจัดทำสื่อ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้สื่อการเรียนรู้ติดตามผลโดยสำรวจข้อมูลจากบันทึกการใช้สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติและเอกสารการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง ติดตามผลโดยการตรวจหลักฐานเอกสารการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ส่วนการพัฒนาบุคลากรด้านวิชาการ มีการสำรวจความต้องการในการพัฒนาบุคลากร จัดประชุม อบรมสัมมนาเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ติดตามผลโดยการเขียนรายงาน 3. การติดตามประเมินผล โรงเรียนจัดการนิเทศภายในสถานศึกษา โดยกำหนดเป็นนโยบายและแผนปฏิบัติงาน แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และประชุมชี้แจงให้ครูผู้สอนรับทราบ จัดนิเทศการสอนในชั้นเรียน ติดตามผลโดยสังเกตการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ส่วนการประเมินผลงานวิชาการ มีการจัดประชุม สัมมนา สรุปผลงานประจำปี และประเมินผลเมื่อสิ้นสุดแผนงาน/โครงการ 4. การปรับปรุงงานวิชาการ วิเคราะห์ผลการประเมินการดำเนินงานวิชาการ และนำผลการประเมินไปใช้ในการวางแผนพัฒนา/ปรับปรุงงาน ปัญหาของโรงเรียนส่วนใหญ่ คือ ครูผู้สอนมีภาระงานมาก ครูผู้สอนขาดความรู้ ความเข้าใจที่ชัดเจดในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เวลาเรียนไม่เพียงพอสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูผู้สอนขาดความรู้และขาดงบประมาณสนับสนุนในการผลิตสื่อ และการจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ยังไม่ชัดเจนen
dc.description.abstractalternativeThe research purposes were to study the states and problems of academic operation of schools in the leading principal project in B.E. 2545. The Office of Education Council. The populations of the study were seventeen schools in the project. The data were gathering from academic committee members, teachers, and documents analysis. The research instruments were semi-structural interview sheets, questionnairs, and document study sheets. The data were analyzed by using content analysis. The research instruments were semi-structural interview sheets, questionnairs, and document study sheets. The data were analyzed by using content analysis, and frequencies. The research results showed that the academic operation in most schools were as follows: 1. Academic planning : School visions were set by collaborative policies and goals were setting accordance with the curriculum objectives and were invormed at teachers meeting. Academic plans and projects were formulated relevant to state and problems in academic section and subject areas by using collaborative approach. Follow-up were conducted through report in meeting by project assigned staff. Academic staff were assigned according to their knowledge and abilities and they were checked on their performances. academic public relations function was organized by assigning staff, their activities included both internal and external public relation which related to teaching and learning activities. 2. Academic implementation : School curriculum was developed upon activities included teacher preparation, curriculum committee set up,core curriculum analysis, an analyzing of students' needs and interest, community problems and needs. Curriculum objectives were set, curriculum structure was designed and content was described, and instructional plans were prepared among teachers. School encouraged teachers to use child-centered approach in conducting lesson and teachers were supervised through class observation, remedial teaching was provided, teachers were eicouraged to use instructional media and they were supervised through media users records. Concerning achievement evaluation, schools proviced evaluation guidelines, evaluation forms, authentic assessment method was employed in evaluation. Academic staff development activities included need assessment study, training, seminars, and meetings, it was monitored through staff reports. 3. Academic evaluation : School Internal supervision were conducted by which policies and plans were set, Supervisory committee was assigned, and teachers were informed. Classroom observation was conducted also as teachers' performance evaluation. Academic evaluation was conducted through meetings, seminars, annual reports, and projects reports. 4. Academic improvement : Data analysis on academic evaluation were utilized for further plans and projects development. Problems found in most schools were over work load among teachers, insufficient knowledge on school curriculum development and instruction media production among teachers, insufficient time for conducting lesson with emphasize on child-centered approach same as amount of budget, and the uncleared stated on evaluation guidelines.en
dc.format.extent6497693 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.371-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectงานวิชาการในโรงเรียนen
dc.subjectโครงการผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบen
dc.titleการศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในโครงการผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบปีพุทธศักราช 2545 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาen
dc.title.alternativeA study of the academic operation of schools in the Leading Principal Project in B.E. 2545, The Office of Education Councilen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.371-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaninthorn.pdf6.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.