Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50047
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประเสริฐ เรียบร้อยเจริญen_US
dc.contributor.advisorลลิตา อัตนโถen_US
dc.contributor.authorนันทนา สูตรเชี่ยวชาญen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-11-30T05:41:47Z
dc.date.available2016-11-30T05:41:47Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50047
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการผลิตไบโอดีเซลโดยทั่วไปจะผลิตจากน้ำมันพืชและแอลกอฮอล์ด้วยปฏิกิริยา ทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน (Transesterification) เกิดเป็นเอสเทอร์ของกรดไขมัน และมีกลีเซอรอลเป็น ผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต อุตสาหกรรมการผลิตไบโอดีเซลมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณกลีเซอรอลมากเกินความต้องการและจะต้องถูกจัดการในรูป ของเสีย ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาการผลิตไบโอดีเซลแบบไม่เกิดกลีเซอรอล โดยการทำปฏิกิริยาอินเทอร์เอสเทอริฟิเคชัน (Interesterification reaction) ระหว่างน้ำมันพืชกับเอทิลแอซีเทตที่ภาวะเหนือวิกฤตในเครื่องปฏิกรณ์ไมโคร ซึ่งจะได้เอทิลเอสเทอร์ของกรดไขมัน (Fatty Acid Ethyl Ester, FAEE) และ ไตรแอซีตินเป็นผลพลอยได้แทนที่กลีเซอรอล โดยศึกษาผลของปัจจัยในกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลของอัตราส่วนโดยโมลของเอทิลแอซีเทตต่อน้ำมัน (30:1-50:1) ผลของอุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา (330-380 องศาเซลเซียส) ผลของความดันในการทำปฏิกิริยา (100-200 บาร์) ผลของระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา (1-60 นาที) และผลของชนิดน้ำมันพืช (น้ำมันสบู่ดำและน้ำมันปาล์ม) จากผลการทดลองพบว่า การใช้อุณหภูมิและระยะเวลาในการทำปฏิกิริยาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ร้อยละผลได้ของเอทิลเอสเทอร์และร้อยละผลได้ของไบโอดีเซล(เอทิลเอส เทอร์และไตรแอซีติน) เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามอุณหภูมิและระยะเวลาที่ สูงเกินไป จะส่งผลให้ร้อยละผลได้ของเอทิลเอสเทอร์ลดลงเนื่องจากการสลายตัวทางความร้อน โดยเมื่อใช้น้ำมันปาล์มเป็นสารตั้งต้น จะได้ร้อยละผลได้ของเอทิลเอสเทอร์และไบโอดีเซลสูงกว่าน้ำมันสบู่ดำ เนื่องจากน้ำมันปาล์มมีปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวสูงกว่า ทำให้มีเสถียรภาพทางความร้อนดีกว่า นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาผลของการเติมกรดแอซีติกและน้ำเพื่อเป็นสารเติม แต่งในน้ำมันปาล์ม โดยพบว่าการเติมกรดแอซีติก 2.5% และน้ำ 7.5%โดยน้ำหนัก ที่อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส ความดัน 200 บาร์ อัตราส่วนโดยโมลของเอทิลแอซีเทตต่อน้ำมัน 50:1 และระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 20 นาที จะได้ร้อยละผลได้ของเอทิลเอสเทอร์และไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นเป็น 70.0% และ 88.3% ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe glycerol-free process for producing biodiesel was investigated in this study. Biodiesel production from the interesterification reaction of vegetable oil with supercritical ethyl acetate was performed in microreactor. The influence of reaction temperature (330-380°C) pressure (100-200 bar) residence time (1-60 min) and ethyl acetate to oil molar ratio (30:1-50:1) was evaluated. Two different oil with different fatty acid composition were utilized; Jatropha oil and Palm oil. Results showed that reaction temperature and residence time had positive effect on fatty acid ethyl esters (FAEE) and biodiesel yield (FAEE and triacetin). However, the partly decomposition which led to the decreasing of FAEE yield was observed at high temperature and long residence time. The higher FAEE and biodiesel yield were obtained when using palm oil as feedstock, due to the higher saturated fatty acid content and higher thermal stability of palm oil compared to Jatropha oil. Moreover, the addition of additive (acetic and water) in palm oil had positive effect on FAEE and biodiesel yield. The higher FAEE yield of 70.0% and biodiesel yield of 88.3% were obtained when using 2.5 wt% acetic acid and 7.5 wt% water at temperature of 350°C pressure of 200 bar ethyl acetate to oil molar ratio of 50:1 and residence time of 20 min.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.873-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเชื้อเพลิงไบโอดีเซล
dc.subjectสบู่ดำ (พืช)
dc.subjectน้ำมันปาล์ม
dc.subjectBiodiesel fuels
dc.subjectPalm oil
dc.subjectJatropha curcus
dc.titleการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำและน้ำมันปาล์มโดยใช้เอทิลแอซีเทตที่ภาวะเหนือวิกฤตในเครื่องปฏิกรณ์ไมโครen_US
dc.title.alternativeBiodiesel production from jatropha oil and palm oil using supercritical ethyl acetate in microreactoren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPrasert.R@Chula.ac.th,Prasert.R@Chula.ac.th,prasert.r@chula.ac.then_US
dc.email.advisorlalita@tistr.or.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.873-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5671998023.pdf4.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.