Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50074
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกัญญดา ประจุศิลปen_US
dc.contributor.authorพรพรรณ อารีราษฎร์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-11-30T05:42:24Z
dc.date.available2016-11-30T05:42:24Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50074
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาระงานของบุคลากรทางการพยาบาล หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โดยจำแนกตามประเภทผู้ป่วย และศึกษาอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาล หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มารับบริการในหน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 193 คน และบุคลากรทางการพยาบาล ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 28 คน พยาบาลเทคนิคจำนวน 2 คน และพนักงานช่วยการพยาบาลจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คู่มือการจำแนกประเภทผู้ป่วย คู่มือพจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาล หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และแบบบันทึกเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยถือเกณฑ์ที่ผู้ทรงคุณวุฒิยอมรับ ร้อยละ 80 และตรวจสอบความเที่ยง ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของการสังเกตเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สูตรคำนวณอัตรากำลังของกองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ปริมาณเวลาที่พยาบาลวิชาชีพใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลทั้งหมดของผู้ป่วยทั้งหมดเฉลี่ยแต่ละราย 1.69 ชั่วโมง 2. ปริมาณเวลาที่พยาบาลวิชาชีพใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลทั้งหมดเฉลี่ยต่อรายในผู้ป่วยประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (Immediate) 6.04 ชั่วโมง ประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (Emergency) 4.46 ชั่วโมง ประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (Urgency) 2.17 ชั่วโมง ประเภทผู้ป่วยทั่วไป (Semi-Urgency) 1 ชั่วโมง และประเภทผู้รับบริการสาธารณสุขอื่นๆ (Non-Urgency) 0.59 ชั่วโมง 3. อัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลที่ควรจะเป็นของหน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ประกอบด้วย บุคลากรทางการพยาบาลจำนวน 49 คนen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this descriptive research were to determine nursing needs demanded by patient in each classification, and to determine to appropriate nurse staffing in emergency department, Queen Sirikit hospital. Research samples consisted of 193 patients and nursing staff who were 28 registered nurses, 2 nurse technicians and 15 nurses’ aides. Research instruments were patient classification dictionary, nursing staff in emergency department activities dictionary, and nursing activity time record sheet. All instruments were tested for content validity by group of experts. The item criteria considered by the experts admitted 80 percent, and the inter-observe reliability score was 0.91. Data were analyzed using percentage, mean and standard deviation. Nurse staffing was calculated by Nursing Division Ministry of Public Health formula. The major findings were as follows 1. Mean score average of nursing time per patient was 1.69 hours. 2. Mean score of nursing time per patient direct care and indirect care was: 1) Immediate patient was 6.04 hours, 2) Emergency patient was 4.46 hours, 3) Urgent patient was 2.17 hours, 4) Semi-Urgent patient was 1 hour and 5) Non-Urgent patient was 0.59 hours. 3. The numbers of nursing personnel needs in emergency department, Queen Sirikit Hospital were 49 nursing staff..en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.780-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพยาบาล -- อัตรากำลัง
dc.subjectโรงพยาบาล -- บริการพยาบาลฉุกเฉิน
dc.subjectโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
dc.subjectNurses
dc.subjectHospitals -- Emergency medical services
dc.subjectQueen Sirikit Hospital
dc.titleการจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาล หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์en_US
dc.title.alternativeNurse staffing in emergency department, Queen Sirikit Hospitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorGunyadar.P@Chula.ac.th,drgunyadar@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.780-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677191936.pdf6.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.