Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50078
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์en_US
dc.contributor.authorอมราภรณ์ ฝางแก้วen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-11-30T05:42:28Z-
dc.date.available2016-11-30T05:42:28Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50078-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายภาวะถอนพิษสุราในผู้เสพติดสุรา ได้แก่ อายุ ปริมาณการดื่มสุรา ประวัติการเกิดภาวะถอนพิษสุรา ภาวะความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการดื่มสุรา ความวิตกกังวล การคาดการณ์ต่อความรุนแรงของภาวะถอนพิษสุรา และการสนับสนุนทางสังคมของผู้เสพติดสุรา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดสุรา ตามคู่มือการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช (ICD 10) และเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และโรงพยาบาล จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ซึ่งได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติ คือ มีภาวะถอนพิษสุราอยู่ในระดับเล็กน้อย และยินดีให้ความร่วมมือในการวิจัย จำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินภาวะถอนพิษสุรา 3) แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มสุรา 4) แบบประเมินความวิตกกังวล ประกอบด้วย ตอนที่ 1 แบบประเมินความวิตกกังวลขณะปัจจุบัน ตอนที่ 2 แบบประเมินความวิตกกังวลประจำตัว 5) แบบประเมินความคาดการณ์ต่อความรุนแรงของภาวะถอนพิษสุรา และ 6) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม เครื่องมือชุดที่ 4-6 ได้ผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่4, 5 และ6 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .88, .77, .78, .82 และ .90 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติฟิชเชอร์ ไคว์สแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน สรุปผลการวิจัยที่สำคัญ ดังนี้ 1. พฤติกรรมการดื่มสุรา การคาดการณ์ต่อความรุนแรงของภาวะถอนพิษสุรา การสนับสนุนทางสังคม และภาวะความดันโลหิตสูง ร่วมกันทำนายภาวะถอนพิษสุราในผู้เสพติดสุราได้ ร้อยละ 38 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. อายุ ปริมาณการดื่มสุรา ประวัติการเกิดภาวะถอนพิษสุรา และความวิตกกังวลไม่สามารถทำนายภาวะถอนพิษสุราในผู้เสพติดสุรา Z ภาวะถอนพิษสุรา = .284*Zพฤติกรรมการดื่มสุรา + .265*Zการคาดการณ์ต่อความรุนแรงของภาวะถอนพิษสุรา-.204*Zการสนับสนุนทางสังคม -.183*Z ภาวะความดันโลหิตสูงen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this descriptive research was to identify factors predicting alcohol withdrawal in alcohol dependence clients including age, alcohol drinking withdrawal history, hypertension, alcohol consumption, anxiety, symptom expectancy and social support. The subjects were alcohol dependence clients diagnosed as alcohol dependence according to the International Classification of Diseases (ICD 10) who attened Outpatient department of Prasrimahabhodi psychiatric hospital, Khonkan psychiatric hospital and Nakhonratchasima psychiatric hospital. A total of 154 clients who met the inclusion criteria of having mild alcohol withdrawal level and agreed to participate in the study were recruited. The research instruments were the personal data record, Alcohol Withdrawal Scale (AWS), Alcohol Use Disorders Identification Test (AUDIT), Anxiety including Test State anxiety-ANX-S and Trait-anxiety, Symptom Expectancy and Severity Questionnaire (SAES), and Social support. The 4th to 6th instruments were tested for content validity by five experts. The Cronbach’s Alpha Coefficient reliability of the 4th , 5th and 6th instrument was .88, .77, .78, .82 and .90, respectively. Data were analyzed using Percentage, Mean, Standard deviation, the Fisher exact probability, Chi-Square, Pearson’s Product Moment Correlation, and Stepwise multiple regression analysis. Major findings were as follows: 1. Alcohol consumption, Symptom expectancy, social support and hypertension altogether were able to significantly predict alcohol withdrawal in alcohol dependence clients at 38 percent, at p.05 level. 2. Age, alcohol drinking withdrawal history, and anxiety could not predict alcohol withdrawal in alcohol dependence clients. The equation derived from the standardized score was: Alcohol withdrawal = .284* Z Alcohol consumption + .265*Z symptom expectancy and severity of alcohol withdrawal -.204* Z social support -.183*Z hypertensionen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.781-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพิษสุราเรื้อรัง-
dc.subjectผู้ติดสุรา-
dc.subjectAlcoholism-
dc.subjectAlcoholics-
dc.titleปัจจัยทำนายภาวะถอนพิษสุราในผู้เสพติดสุราen_US
dc.title.alternativePREDICTING FACTORS OF ALCOHOL WITHDRAWAL IN ALCOHOL DEPENDENCE CLIENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPennapa.D@Chula.ac.th,dnayus@yahoo.com,dnayus@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.781-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677227936.pdf5.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.