Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50102
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิรงรอง รามสูตen_US
dc.contributor.authorอรวี ศรีชำนาญen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-11-30T05:42:50Z-
dc.date.available2016-11-30T05:42:50Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50102-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำกับดูแลเนื้อหารายการข่าว และบทบาทในการกำกับดูแลเนื้อหารายการข่าวของผู้ประกอบการสื่อ องค์กรวิชาชีพสื่อและองค์กรกำกับดูแลที่เป็นอิสระของรัฐในโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล และเพื่อแสวงหาแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงการกำกับดูแลเนื้อหารายการข่าวในโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสารทางวิชาการ กฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลเนื้อหารายการและมาตรฐานจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชนของประเทศไทย และต่างประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการโทรทัศน์และการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ ได้แก่ 1) ผู้ให้บริการโทรทัศน์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ และผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจ จำนวน 14 ราย 2) สภาวิชาชีพ/องค์กรวิชาชีพด้านข่าว 4 ราย และ 3) ผู้บริหารระดับนโยบายและและผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการกำกับดูแลเนื้อหาและการกำกับดูแลกันเองในกิจการโทรทัศน์ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 4 ราย ผลการวิจัย พบว่า การกำกับดูแลเนื้อหารายการข่าวในโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลให้ความสำคัญกับเนื้อหาด้านการเมืองเป็นลำดับแรก เนื่องจากอยู่ในช่วงของการปกครองภายใต้ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) โดย คสช. ได้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามสื่อเพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังและตรวจสอบเนื้อหาดังกล่าวซึ่งคณะทำงานจะส่งข้อมูล การตรวจสอบให้ทาง กสทช. ทุกสัปดาห์เพื่อให้นำไปพิจารณาว่าเข้าข่ายผิด 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 หรือไม่ ควบคู่กับการใช้ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 97/2557 และฉบับที่ 103/2557 ส่งผลให้การกำกับดูแลมีความเข้มข้นกว่าเดิม นอกจากนี้ กสทช. ยังใช้เครื่องมืออื่น ในการกำกับดูแล ได้แก่ การแบ่งช่วงเวลาในการนำเสนอ การจัดระดับความเหมาะสมรายการ และเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ เป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลเนื้อหารายการข่าว นอกจากนี้พบว่าองค์กรกำกับดูแลกันเอง ทั้งในระดับองค์กรสื่อและระดับสภาวิชาชีพ/องค์กรวิชาชีพข่าวไม่มีประสิทธิภาพ มีการออกอากาศเนื้อหาข่าวที่ไม่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสภาวิชาชีพ/องค์กรวิชาชีพข่าวไม่มีกระบวนการกำกับดูแลเนื้อหาและกระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่ชัดเจน ทั้งนี้การนำศักยภาพเทคโนโลยีมาใช้เพื่อกลั่นกรองเนื้อหาและสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนในการเฝ้าระวังเนื้อหา ยังไม่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือกำกับดูแลเนื้อหาในกิจการโทรทัศน์ของประเทศไทย งานวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าประเทศไทยควรส่งเสริมบทบาทการกำกับดูแลกันเองให้เข้มแข็ง โดยส่งเสริมให้องค์กรกำกับดูแลกันเองมีกระบวนการกำกับดูแลเนื้อหาและกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ บังคับใช้มาตรการทางจริยธรรมอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจน สร้างการรับรู้ต่อสาธารณะต่อการมีอยู่ขององค์กรวิชาชีพ และสร้างศรัทธาให้เกิดในสาธารณะว่าองค์กรวิชาชีพสื่อมีประสิทธิภาพจริงในการกำกับดูแลกันเองen_US
dc.description.abstractalternativeThis research is a qualitative study and has the following objectives – to study factors influencing regulation of news content in digital terrestrial television stations (DTT), to examine news content regulation role of the following players – the independent regulator of the state (the National Broadcasting and Telecommunications Commission or the NBTC), professional media organizations (self-regulatory organizations or SROs), and news media operators; and to develop approaches for news regulation for DTT. Data was collected through document research of academic literature, related laws, and announcements of regulatory organizations from local sources and in the overseas as well as through in-depth interviews with key informants from the following groups – 1) 14 DTT operators – public service and commercial, 2) representatives from four media SROs, and 3) four senior executives who are in policy-making decisions related to content regulation at the NBTC. The research has these findings. News content regulation in DTT tends to prioritize political news. This is a direct result of the political context under the rule of a military regime led by the National Council for Peace and Order (NCPO) after the coup in May 2014 that toppled a civilian government. The NCPO has appointed a working group to monitor the media in all channels including television. This working group will notify the NBTC each week of their monitor result so that the NBTC’s content regulation board could consider the problematic content whether it falls under section 37 of the Broadcasting Act which is the provision on forbidden content. They also use new provisions like the NCPO Announcement # 97 and # 103 which are on public dissemination of information as framework for their consideration. In addition, the NBTC also uses other regulatory tools including time zone, content rating, and licensing conditions. The research also finds that media SROs are still quite ineffective when it comes to news content regulation as evidenced in continuous airing of inappropriate and unethical content. The SROs studied also lack clear regulatory and complaints-handling system. Furthermore, filtering technology that is available for DTT has not yet been tapped for content regulation or to encourage public participation in content monitor. Meanwhile, civil society and members of the public. The study recommends that self-regulation of news content by SROs be strengthened by standardizing the complaints-handling process, invigorating enforcement mechanisms, and promoting public perception about SROs as well as building public trust in their self-regulation system.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1012-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectข่าวโทรทัศน์-
dc.subjectการบรรณาธิกรข่าว-
dc.subjectรัฐประหาร -- ไทย-
dc.subjectTelevision broadcasting of news-
dc.subjectJournalism -- Editing-
dc.subjectCoups d'etat -- Thailand-
dc.titleการกำกับดูแลเนื้อหารายการข่าวในโทรทัศน์ภาคพื้นดินที่ออกอากาศในระบบดิจิทัล ในช่วงหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557en_US
dc.title.alternativeTHE REGULATION OF CONTENT OF NEWS PROGRAM IN DIGITAL TERRESTRIAL TELEVISION AFTER THE 2014 COUPen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPirongrong.R@Chula.ac.th,pirongrong.r@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1012-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684879128.pdf5.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.