Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50110
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรักชนก คชานุบาลen_US
dc.contributor.authorวรฤทัย จันทร์วังen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-11-30T05:42:57Z-
dc.date.available2016-11-30T05:42:57Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50110-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะการหกล้มในผู้สูงอายุไทย และค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการหกล้มในผู้สูงอายุไทย โดยใช้ข้อมูลจากโครงการ “สำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2554” ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 16,625 ราย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.8 มีอายุเฉลี่ย 68.75 ปี จากกลุ่มตัวอย่างมีผู้สูงอายุที่เคยหกล้มสูงถึงร้อยละ 9.0 (1,490 ราย) นอกจากนี้ในกลุ่มของผู้ที่เคยหกล้ม พบว่า เคยหกล้มอย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป สูงถึงร้อยละ 51.5 ในการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิภาคแบบพหุ พบว่า ตัวแปรอิสระทั้งหมด 19 ตัวแปร สามารถร่วมกันอธิบายการแปรผันของการหกล้มในผู้สูงอายุได้ร้อยละ 6.8 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และพบว่า มีตัวแปรอิสระ 11 ตัวแปร ที่มีอิทธิพลต่อการหกล้มในผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ อายุ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน จำนวนของโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัว สุขภาพจิต ความสามารถในการมองเห็น การตรวจสุขภาพประจำปี ประเภทส้วมที่ใช้ ที่ตั้งห้องน้ำหรือห้องส้วม ระดับรายได้ และความเพียงพอของรายได้ นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิภาคแบบพหุขั้นตอน พบว่า มีตัวแปรอิสระ 12 ตัวแปร ที่ร่วมกันอธิบายการแปรผันของการหกล้มในผู้สูงอายุได้ ร้อยละ 6.6 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยสุขภาพจิต สามารถอธิบายการแปรผันของการหกล้มในผู้สูงอายุได้ดีที่สุด ร้อยละ 2.7 รองลงมาคือ จำนวนของโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัว ความเพียงพอของรายได้ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน การตรวจสุขภาพประจำปี ความสามารถในการมองเห็น ที่ตั้งห้องน้ำหรือห้องส้วม ประเภทส้วมที่ใช้ เพศ ระดับรายได้ ระดับการศึกษาสูงสุด และอายุ สามารถอธิบายการแปรผันของการหกล้มในผู้สูงอายุได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.3, 0.6, 0.4, 0.4, 0.3, 0.2, 0.2, 0.2, 0.1, 0.1 และ 0.1 ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to examine falls in Thai older persons and investigate the risk factors involved. The data from the 2011 Survey of Older Persons in Thailand conducted by the National Statistical Office was used. The sample size was 16,625 older persons. The majority are female (58.8 per cent), the average age of 68.75 years. There are up to 9.0 percent (1,490 people) of Thai older persons have fallen. Moreover, 51.5 percent of older persons who have experienced falls, have fallen twice or more. Multiple binary logistic regression analysis revealed that, taken together, the 19 independent variables explained the variations in falls by 6.8 percent at the 0.05 significance level. And found that there are 11 independent variables of falls in the elderly statistically significant include sex, age, activities of daily living, number of chronic diseases, mental health, visibility, annual health check, types of toilet, toilet location, income and adequacy of income. In addition, stepwise multiple logistic regression analysis have the 12 independent variables explained the variations in falls by 6.6 percent at the 0.05 significance level. The mental health was the prime factor in explaining the variations of falls in Thai older persons by 2.7 percent, followed by number of chronic diseases, adequacy of income, activities of daily living, annual health check, visibility, toilet location, types of toilet, sex, income, education level and age, which increased in term of the degree of explanation with the percentages of 1.3, 0.6, 0.4, 0.4, 0.3, 0.2, 0.2, 0.2, 0.1, 0.1 and 0.1 respectively, whereas the remaining variables did not.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการหกล้มในผู้สูงอายุไทยen_US
dc.title.alternativeFALLS IN THAI OLDER PERSONSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineประชากรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorRukchanok.K@Chula.ac.th,Rukchanok.K@Chula.ac.then_US
Appears in Collections:Pop - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686853151.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.