Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50210
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อัจฉริยา สุริยะวงค์ | en_US |
dc.contributor.advisor | ภารดี ช่วยบำรุง | en_US |
dc.contributor.author | ชนิตสรา งามศักดิ์ประเสริฐ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-01T08:02:41Z | - |
dc.date.available | 2016-12-01T08:02:41Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50210 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้ทำการลดสารตกค้างคาร์เบนดาซิมในใบกุยช่ายด้วยวิธีต่างๆที่ไม่ใช่ปฏิกิริยาโฟโตคะตะไลซิสและใช้ปฏิกิริยาโฟโตคะตะไลซิสจากเส้นใยสังเคราะห์ไทเทเนียมไดออกไซด์ วิธีที่ไม่ใช่ปฏิกิริยาโฟโตคะตะไลซิส ได้แก่ การแช่น้ำประปา การแช่น้ำผสมน้ำส้มสายชู การแช่น้ำผสมน้ำยาล้างผัก St. Andrew การแช่น้ำผสมด่างทับทิม การแช่น้ำไหลล้น และการล้างน้ำไหลผ่านตะแกรง นาน 5-60 นาที ผลการศึกษาพบว่าการล้างน้ำไหลผ่านตะแกรงโดยไม่มีการขังของน้ำที่ใช้แช่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการลดสารคาร์เบนดาซิม โดยสามารถลดเหลือเพียง 0.1-1.2 มก./กก. ในเวลา 60 นาที จากปริมาณคาร์เบนดาซิมเริ่มต้น 17.3-27.2 มก./กก. คิดเป็นร้อยละ 94.8-99.3 ส่วนวิธีที่เหลือสามารถลดได้ร้อยละ 54.1-99.1 ขณะที่ปฏิกิริยาโฟโตคะตะไลซิสมาจากการใช้เส้นใยที่สังเคราะห์จากสารไทเทเนียมไดออกไซด์ตั้งต้นและพอลิเมอร์ที่แตกต่างกัน คือ 1) ไทเทเนียมเตตระไอโซโพรพอคไซด์(TTiP) ผสมกับพอลิเมอร์พอลิไวนิลไพโรลิโดน (PVP) 2) ไทเทเนียมเตตระบิวทอกไซด์ (TBOT) ผสมกับพอลิเมอร์พอลิไวนิลไพโรลิโดน (PVP) และ 3) ไทเทเนียมเตตระไอโซโพรพอคไซด์(TTiP) ผสมกับพอลิเมอร์พอลิไวนิลอะซิเตท (PVAc) โดยเส้นใยที่ได้นำไปเผาที่อุณหภูมิ 500 – 650 องศาเซลเซียส เพื่อให้ได้สัดส่วนโครงสร้างผลึกอนาเทสต่อรูไทล์ เท่ากับ 100 : 0, 80 : 20, 70 : 30, 50 : 50 และ 30 : 70 ผลการศึกษาพบว่าเส้นใยสัดส่วนโครงสร้างผลึกอนาเทสต่อรูไทล์ 70 : 30 ให้ประสิทธิภาพสูงสุด สอดคล้องกันทั้งสามชนิดเส้นใย โดยคิดเป็นประสิทธิภาพการกำจัดคาร์เบนดาซิมของเส้นใย TTiP + PVP คือร้อยละ 99.2 ± 0.4 ขณะที่เส้นใย TBOT + PVP เมีประสิทธิภาพร้อยละ 99.6 ± 0.3 และเส้นใย TTiP + PVAc มีประสิทธิภาพร้อยละ 94.7 ± 3.0 และจากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกำจัดสารคาร์เบนดาซิมของเส้นใยกับการใช้ผงไทเทเนียมไดออกไซด์ (Degussa P25) ที่มีสัดส่วนโครงสร้างผลึกอนาเทสต่อรูไทล์ 80 : 20 พบว่าผงไทเทเนียมไดออกไซด์มีประสิทธิภาพ 93.7 ± 0.9 ดังนั้นเส้นใยไทเทเนียมไดออกไซด์จึงมีประสิทธิภาพมากกว่าผงไทเทเนียมไดออกไซด์ โดยปริมาณเส้นใยที่เหมาะสม คือ 1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร | en_US |
dc.description.abstractalternative | Reduction of carbendazim in Chinese chives with non-photocatalysis and photocatalysis methods was studied. Non-photocatalysis methods were soaking in tap water, soaking in diluted vinegar, soaking in St. Andrew vegetable washing solution, soaking in potassium permanganate solution, soaking in overflowed water and running tap water through the Chinese chives in a basket without soaking for 5-60 min. The highest reduction was from the latest method with the efficiency of 94.8-99.3% (the initial carbendazim concentration was 17.3-27.2 mg/kg and the remaining carbendazim concentration at 60 min t was 0.1-1.2 mg/kg). The rest of non-photocatalysis methods could reduce 54.9-99.1%. In the case of photocatalysis method, the fibers were synthesized from different titanium precursors and polymers, namely 1) TTiP + PVP 2) TBOT + PVP and 3) TTiP + PVAc. All synthetic fibers were calcined at 500 – 650 °c to obtain anatase/rutil ratio of 100 : 0, 80 : 20 , 70 : 30 , 50 : 50 and 30 :70. The results found that the best reduction efficiency was from the ratio of 70 : 30 from all types of fibers. The TTiP + PVP could reduce 99.2 ± 0.4 %, the TBOT + PVP could reduce 99.6 ± 0.3 % and the TTiP + PVAc could reduce 94.7 ± 0.4 %. When compared with titanium dioxide powder (Degussa P25) which has antase/rutile ratio of 80 : 20, it was found that the fibers yielded better efficiency than the powder which had 93.7± 0.9 %. The optimum ratio for photocatalysis was 1 gram of fibers per 1 liter of soaking wate | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การสังเคราะห์เส้นใยไทเทเนียมไดออกไซด์ด้วยวิธีอิเล็กโตรสปินนิ่งเพื่อกำจัดสารคาร์เบนดาซิมตกค้างในใบกุยช่ายโดยใช้ปฏิกิริยาโฟโตคะตะไลซิส | en_US |
dc.title.alternative | SYNTHESIS OF TITANIUM DIOXIDE FIBERS WITH ELECTROSPINNING FOR CARBENDAZIM RESIDUE REMOVAL FROM CHINESE CHIVES USING PHOTOCATALYSIS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Achariya.S@Chula.ac.th,sachariya@yahoo.com | en_US |
dc.email.advisor | parade@tu.ac.th | en_US |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5570156621.pdf | 7.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.