Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50218
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อภินันท์ สุทธิธารธวัช | en_US |
dc.contributor.advisor | อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย | en_US |
dc.contributor.author | พิชญ์ธิดา จิตตมาโร | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-01T08:02:52Z | |
dc.date.available | 2016-12-01T08:02:52Z | |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50218 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | แอลฟาแมงโกสตินเป็นสารที่มีประโยชน์หลายด้าน ทั้งการต้านอนุมูลอิสระ การลดการอักเสบ และการต้านเชื้อแบคทีเรีย ด้วยเหตุนี้สารแอลฟาแมงโกสตินจึงเป็นประโยชน์ในการนำมาพัฒนาทางด้านยาในอนาคต โดยงานวิจัยนี้จะนำสารแอลฟาแมงโกสตินมาเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับเบต้าไซโคลเด็กซ์ทรินเพื่อเพิ่มความสามารถในการละลายและรักษาความเสถียรภาพของสาร อย่างไรก็ตามการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างแอลฟาแมงโกสตินและเบต้าไซโคลเด็กซ์ทรินเกิดได้ยาก เนื่องจากแอลฟาแมงโกสตินมีคุณสมบัติเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องและมีค่าการละลายน้ำต่ำ ในงานวิจัยนี้ได้ใช้การจำลองโมเลกุลเชิงพลวัตเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน พบว่าสามารถการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างแอลฟาแมงโกสตินและเบต้าไซโคลเด็กซ์ทรินได้ จากนั้นจึงได้ศึกษาผลของเวลา ตัวทำละลายและอุณหภูมิที่มีต่อการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน ผลการทดลองพบว่าอัตราส่วนของเบต้าไซโคลเด็กซ์ทรินต่อแอลฟาแมงโกสตินในการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนแบบไบนารีเป็น 1:1 โดยสารประกอบเชิงซ้อนในน้ำพบแบบไบนารี ในขณะที่สารประกอบเชิงซ้อนในสารละลายแอลกอฮอล์พบทั้งแบบไบนารีและเทอร์นารี ซึ่งในการวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบเชิงซ้อนทั้งสองแบบต้องใช้สมการทางคณิตศาสตร์ จากผลการทดลองพบว่าเวลาที่เกิดภาวะสมดุลของการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนคือ 48 ชั่วโมง และอุณหภูมิในการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนที่เหมาะสมในสารละลายเอทานอล คือ 45 องศาเซลเซียส จากการศึกษายังพบอีกว่าการเติมเบต้าไซโคลเด็กซ์ทรินส่งผลต่อการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนในปริมาณที่มากขึ้น และการเติมแอลกอฮอล์ส่งผลให้การเกิดสารประกอบเชิงซ้อนแบบไบนารีลดลง ในขณะที่การเกิดสารประกอบเชิงซ้อนแบบเทอร์นารีเพิ่มขึ้นตามการเติมแอลกอฮอล์ โดยที่ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์สูงกว่า 10% สารละลายโพรพานอลและไอโซโพรพานอลสามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนแบบเทอร์นารีได้ดีกว่า แตกต่างกับสารละลายเมทานอลและเอทานอลที่สามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนแบบไบนารีได้ดีกว่าโพรพานอลและไอโซโพรพานอล | en_US |
dc.description.abstractalternative | Alpha-mangostin is a substance with many beneficial aspects such as antioxidant, antitumoral, and antibacterial. The forming into complex with Beta-cyclodextrin is a good method to develop into pharmaceutical industry. However, they are hard to make complexation because Alpha-mangostin is solid at room temperature and also has a low solubility in water. The molecular dynamics simulation (MD) was employed to check the complex between Beta-cyclodextrin and Alpha-mangostin. The program demonstrates only binary complex between Alpha-mangostin and Beta-cyclodextrin. This research aims to study the effect of the reaction time, solvent and temperature on the complexation. The results showed that a ratio of Beta-cyclodextrin to Alpha-mangostin was 1:1 for binary complex. Binary complex was found in water whereas the complexation in alcohol was binary and ternary. Mathematical analysis was employed to determine both complexes. The result shows 48 hours is the equiblibrium of complexation and the temperature at 45 degree celcius is the most suitable for complexation in ethanol solution. Moreover, an addition of alcohol can decrease the binary complexes while the ternary complex was found at high alcohol concentration. At high alcohol concentration (>10%), More ternary complex has found in propanol and isopropanol while binary complex was found in methanol and ethanol. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1413 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สารประกอบเชิงซ้อน | |
dc.subject | ไซโคลเดกซตริน | |
dc.subject | Complex compounds | |
dc.subject | Cyclodextrins | |
dc.title | ผลของตัวทำละลายและอุณหภูมิที่มีต่อการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างแอลฟาแมงโกสตินและเบต้าไซโคลเด็กซ์ทริน | en_US |
dc.title.alternative | Effect of solvent and temperature on the complexation of Alpha-mangostin and Beta-cyclodextrin | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมเคมี | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Apinan.S@Chula.ac.th,apinan.s@chula.ac.th | en_US |
dc.email.advisor | uracha@nanotec.or.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.1413 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5570314421.pdf | 5.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.