Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50243
Title: Adaptive Reuse of Old Shophouses in Bangkok
Other Titles: การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยตึกแถวเก่าในกรุงเทพมหานคร
Authors: Attachai Luangamornlert
Advisors: Vorapat Inkarojrit
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Architecture
Advisor's Email: Vorapat.I@Chula.ac.th,ivorapat@hotmail.com
Subjects: Row houses -- Remodeling for other use
Buildings -- Remodeling for other use
ตึกแถว -- การดัดแปลงการใช้งาน
อาคาร -- การดัดแปลงการใช้งาน
Issue Date: 2015
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Currently in central Bangkok where land value is high, the demand for space in various forms has been increasing steadily. This is a result of the urban development that has grown rapidly over the last 10 years. Today, there are many shophouses in Bangkok that have been in vacant condition or underutilized. The demolition of particular slot and reconstruction in the same footprint as original building is impossible because of the setback requirement. Therefore, the reuse of old shophouse is necessary. Thus, this research aims to provide guidelines for reusing the old shophouse to support the changes in physical components, spatial organization and adaptability. The research methods include 1) reviewing the academic documents related to the shophouse and theory related to adaptability and 2) surveying spatial and physical characteristic of the shophouse in Siam Square area. Photographic documentation and hand sketch are the primary method of collecting information in order to analyze the usage patterns. The findings reveal that the spatial characteristic of shophouse shows irregularity and obscurity of the usage patterns which depends on the type of businesses. While, the physical characteristic has high rigidity in structural layout, dimension and supporting utility. This physical characteristic has already determined the circulation, location of sewage system and floor slab that are difficult to modify to follow the usage patterns. This contrary is the key reason that make shophouse difficult to adapt. Therefore, the analysis from the survey has led to the proposal of design guideline for reusing old shophouse in Bangkok. In order to accommodate changes in the physical and spatial configuration in the future, the supporting utility should be placed along with the structural columns that is distributed throughout. The stair and slab should be designed as a modular unit that can be filled in or moved out easily. The façade should be designed as a frame with adaptable module that corresponds to the interior space. This design guideline is implemented in the vacant shophouse in Asoke to study the possibility, as well as advantages and disadvantages of the design proposal. Finally, it is anticipated that the knowledge gained from this study will provide architects, building owners, and users of old shophouse with appropriate adaptive reuse design alternatives.
Other Abstract: ปัจจุบัน ในเขตตัวเมืองกรุงเทพมหานครที่มูลค่าที่ดินมีราคาสูง และความต้องการในการใช้พื้นที่ในรูปแบบต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จากการสำรวจพบว่า มีตึกแถวจำนวนมากในพื้นที่กรุงเทพ ที่ถูกปล่อยทิ้งร้างหรือไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากไม่สามารถทำการปรับเปลี่ยนทางด้านกายภาพของอาคารให้รองรับการใช้งานในรูปแบบใหม่ๆได้ การทุบตึกแถวเดิม และสร้างใหม่ให้เท่ากับขนาดของอาคารเดิมนั้น ไม่สามารถทำได้เนื่องจากข้อบังคับทางฎหมายเรื่องระยะร่นของอาคาร ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการปรับปรุงอาคารทางด้านกายภาพ เพื่อรองรับการใช้งานในรูปแบบใหม่ๆที่เกิดขึ้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการปรับปรุงตึกแถวให้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในด้านกายภาพและใช้งานพื้นที่ภายในของอาคารประเภทตึกแถว งายวิจัยนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ เพื่อศึกษาทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งทำการสำรวจ และศึกษาลักษณะการใช้งานตึกแถวที่เกิดขึ้นในสยามสแควร์ โดยทำการถ่ายภาพและจดบันทึกการใช้งานของพื้นที่ส่วนต่างๆในอาคาร เพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบการใช้งาน จากการสำรวจพบว่าการใช้งานพื้นที่ภายใน มีลักษณะไม่ตายตัวเพราะขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ ความต้องการของเจ้าของอาคารหรือผู้ใช้อาคารที่แตกต่างกัน โดยมีการต่อเติมและลดทอนส่วนต่างๆของอาคาร เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของการใช้งาน ซึ่งมักขัดกับข้อบังคับของกฎหมายว่าด้วยเรื่องการดัดแปลงอาคาร และจากการวิเคราะห์ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พบว่าระบบโครงสร้างของอาคาร แผ่นพื้น เป็นส่วนประกอบของอาคารที่มีลักษณะตายตัวและยากต่อการปรับเปลี่ยน งานระบบท่อน้ำดี-น้ำเสีย จะพบในส่วนด้านท้ายของอาคาร ซึ่งยากต่อการเชื่อมต่อเมื่อต้องการพื้นที่ ที่เข้าถึงงานระบบนี้ในส่วนด้านหน้าอาคาร นอกจากนี้ยังพบว่าตำแหน่งบันไดมักพบในบริเวณด้านในสุดของอาคาร เป็นข้อจำกัดในการปรับเปลี่ยนการใช้งานพื้นที่ภายในของอาคาร เนื่องจากเป็นตัวกำหนดตำแหน่งการเข้าถึงพื้นที่ในแต่ละชั้นของอาคาร ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงนำข้อจำกัดที่ได้จากการวิเคราะห์มาเป็นแนวทางในการออกแบบ เพื่อให้อาคารประเภทตึกแถวเก่าที่มีอยู่ในกรุงเทพมหานคร สามารถทำการปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอย และรองรับการเปลี่ยนแปลงในด้านกายภาพและพื้นที่การใช้งานที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยการวางงานระบบให้เข้าถึงพื้นที่ในแต่ละส่วนของอาคาร และออกแบบบันได แผ่นพื้น และ ส่วนด้านหน้าอาคาร ให้มีลักษณะเป็นหน่วยย่อย ที่สามารถแยกส่วน หรือประกอบเข้ากันได้ โดยแนวทางการออกแบบนี้ได้นำไปทดลองใช้กับตึกแถวบริเวณอโศกเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริง พร้อมทั้งศึกษาข้อดีและข้อเสียที่เกิดขึ้น ท้ายที่สุด งานวิจัยนี้คาดว่าจะสามารถเสนอแนวทางการปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยตึกแถวเก่าที่เหมาะสม แก่สถาปนิก เจ้าของอาคาร และผู้ใช้อาคาร
Description: Thesis (M.Arch.)--Chulalongkorn University, 2015
Degree Name: Master of Architecture
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Architectural Design
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50243
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.72
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.72
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573704025.pdf7.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.