Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50254
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราพร เกศพิชญวัฒนาen_US
dc.contributor.authorลาวัณย์ ผาติวิกรานต์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:03:30Z-
dc.date.available2016-12-01T08:03:30Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50254-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในเขตภาคใต้ ศึกษาความสัมพันธ์และสร้างสมการพยากรณ์ศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วย ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในเขตภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วย ที่เข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลในเขตภาคใต้ จำนวน 215 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย แบบสอบถามความทุกข์ทางร่างกาย แบบสอบถามความทุกข์ทางจิตใจ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมและแบบสอบถามการรับรู้ศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วย เครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .79, .89, .85, .82, .89 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วย ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในเขตภาคใต้ ร้อยละ 55.8 มีการรับรู้ศักดิ์ศรีอยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 89.62, SD = 21.87) 2. ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วย ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในเขตภาคใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .173, .546 ตามลำดับ) ความทุกข์ทางร่างกายและความทุกข์ทางจิตใจมีความสัมพันธ์ทางลบกับศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วย ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในเขตภาคใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.446, r = -.335 ตามลำดับ) 3. ตัวแปรพยากรณ์ที่ร่วมกันทำนายความแปรผันของศักดิ์ศรี ได้แก่การสนับสนุนทางสังคมและความทุกข์ทางร่างกาย สามารถพยากรณ์ศักดิ์ศรีได้ร้อยละ 38 (R² = .381) สมการคะแนนมาตรฐาน ศักดิ์ศรี = .449 (การสนับสนุนทางสังคม) - .304 (ความทุกข์ทางร่างกาย)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the dignity of the hospitalized elderly, their relationships and to construct the equation predicting the dignity of the hospitalized elderly in the southern region. The subjects consisted of 215 hospitalized elderly in the southern region selected by the multi-stage sampling technique. The research instruments were questionnaires consisting of demographic data, functional ability assessment, physical distress, psychological distress, social support and dignity. All instruments were tested for validity by five experts. The reliability were .79, .89, .85, .85, .82, .89 and .97, respectively. The statistical techniques utilized in data analysis were mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis. The major findings were as follows: 1. The dignity of the hospitalized elderly in the southern region was at a moderate level. (Xˉ = 89.62, SD = 21.87) 2. The relationship between functional ability and social support were positively related to dignity in the hospitalized elderly in the southern region with statistical significance at .05 (r = .173, .546 respectively) physical distress and psychological distress were negatively related to dignity in the hospitalized elderly in the southern region with statistical significance at .05 (r = -.446, -.335 respectively) 3. The variables that could significantly predict dignity in the hospitalized elderly in the, southern region were social support and physical distress predictors, accounting for 38% of variance. (R² = .381) The predicted equation in the standard score from the analysis of dignity was as follows: Dignity = .449 (Social support) - .304 (Physical distress)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.786-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ
dc.subjectศักดิ์ศรี
dc.subjectOlder people
dc.subjectDignity
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในเขตภาคใต้en_US
dc.title.alternativeFACTORS RELATED TO DIGNITY OF HOSPITALIZED OLDER PERSONS, SOUTHERN REGIONen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorJiraporn.Ke@Chula.ac.th,wattanaj@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.786-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577224936.pdf5.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.