Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50267
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ฐิติยา เพชรมุนี | en_US |
dc.contributor.author | สรยุทธ จิโรภาส | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-01T08:03:53Z | - |
dc.date.available | 2016-12-01T08:03:53Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50267 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการทะเลาะวิวาท ปัจจัยที่มีผลต่อการทะเลาะวิวาท และแนวทางการป้องกันและแก้ไข การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณควบคู่กับการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ในการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากกลุ่มนักศึกษาระดับอนุปริญญาเพศชาย จำนวน 364 คน ประมวลผลด้วยโปรแกรม SPSS วิเคราะห์หาค่าทางสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสังเกต และการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรที่ศึกษาจำนวน 12 คน ประกอบด้วย นักศึกษาที่เคยมีประสบการณ์การทะเลาะวิวาท 3 คน ผู้ปกครอง 3 คน เจ้าหน้าที่ของรัฐ 3 คน และครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษา 3 คน จากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่าสภาพปัญหาการทะเลาะวิวาทเกิดจากความเชื่อมโยงใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ด้านนักศึกษา 2) ภาวะด้านครอบครัว และ 3) ด้านสภาวะแวดล้อม เนื่องจากนักศึกษาอยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนต้นซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและอารมณ์สูง ชอบลองในสิ่งที่ท้าทาย ขาดการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดจากครอบครัว ประกอบกับการจัดตารางเวลาเรียนและกิจกรรมที่มีเวลาเรียนตรงกันกับสถาบันคู่อริ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองมีจำนวนไม่เพียงพอ เมื่อเกิดเหตุจึงไม่สามารถเข้าระงับเหตุได้อย่างทันท่วงที ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตอยู่บ่อยครั้ง โดยมีปัจจัยที่มีผลต่อการทะเลาะวิวาทในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการทั้งหมดที่ศึกษา 8 ปัจจัย คือ อายุ ช่วงเวลาเรียน การคิดก่อนกระทำผิด การควบคุมทางสังคม การคบเพื่อน ความผูกพันทางสังคม สัญลักษณ์ของสถาบัน และการควบคุมตนเอง ซึ่งมีแนวทางการป้องกันและแก้ไขหลักโดยให้สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ต้องกำหนดแผนและวิธีป้องกันการก่อเหตุ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The research on “Factors Affecting Of Students Violence in Samut Prakan Province” aimed to study the situation of student violence problems, factors influencing student violence and guidelines for prevention and solutions. This was quantitative and qualitative research. For quantitative research, questionnaire was used as a research tool and the purposive sampling was applied to select sample group from 364 diploma male students. Processed with SPSS. Statistical analysis applied percentage, mean, standard deviation and Chi square at 0.5 level of statistical significance. For qualitative research, observation and in-depth interview were utilized. Sample group consisted of three students with experience in quarrel, three parents, three government agents and three teachers from educational institute, 12 samples in total. Descriptive analysis and content analysis were used to analyze collected data. Findings revealed that the problems of student violence concerned with three main relevant aspects: students, family and environment. Because the students were in early adolescence period, they had both physical and mental change were eager to challenge as well as they lacked of care from family. Moreover, with the corresponding timetable and activities time with the opponent institute and the insufficient of police and administration manpower, they could not stop the situation immediately. That caused the damage to assets and life. It was found that there were eight factors influencing the quarrel in Samut Prakan Province, which were age, time, rational choice, social control,differential association, social born, symbolic interaction and self-control. The guidelines for prevention and solution were to guide family institute, educational institute and relevant organizations to set plan and preventive measurement. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ | en_US |
dc.title.alternative | FACTORS AFFECTING OF STUDENT VIOLENCE IN SAMUT PRAKAN PROVINCE | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สังคมวิทยามหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สังคมวิทยา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Thitiya.P@Chula.ac.th,thiyaj3@hotmail.com | en_US |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5580626924.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.