Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50281
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุ่งระวี สมะวรรธนะen_US
dc.contributor.advisorศิลปชัย สุวรรณธาดาen_US
dc.contributor.authorคณิน ประยูรเกียรติen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:04:06Z-
dc.date.available2016-12-01T08:04:06Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50281-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบกิจกรรมทางกายเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการรับรู้การเคลื่อนไหวและสมรรถภาพทางกลไกของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น และ2) ทดสอบผลของรูปแบบกิจกรรมทางกายที่พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1. พัฒนารูปแบบกิจกรรมทางกายเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการรับรู้การเคลื่อนไหวและสมรรถภาพทางกลไกของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น และ 2. ศึกษาผลของรูปแบบกิจกรรมทางกายเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการรับรู้การเคลื่อนไหวและสมรรถภาพทางกลไกของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 45 คนได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน กลุ่มควบคุมกลุ่มที่ 1 ได้รับการปฏิบัติกิจกรรมทางกายแบบอิสระ 15 คน และกลุ่มควบคุมกลุ่มที่ 2 ไม่ได้รับการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย 15 คน คัดเลือกเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 50 นาที มีการทดสอบความสามารถในการรับรู้การเคลื่อนไหวและสมรรถภาพทางกลไกก่อนและหลังการทดลอง นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยสถิติแบบนอนพาราเมตริก ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบกิจกรรมทางกายเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการรับรู้การเคลื่อนไหวและสมรรถภาพทางกลไกสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและแนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการดำเนินการจัดกิจกรรม และ4) ผลลัพธ์การเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) เกมการเคลื่อนไหวแบบยืดเหยียด 2) เกมชิงเป้าหมาย 3) เกมควบคุมลูกบอล 4) เกมกระโดดตามสั่ง และ5) การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.95 2. การศึกษาผลของรูปแบบกิจกรรมทางกายเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการรับรู้การเคลื่อนไหวและสมรรถภาพทางกลไกสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น พบว่า 1) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการรับรู้การเคลื่อนไหวและสมรรถภาพทางกลไกดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการรับรู้การเคลื่อนไหวและสมรรถภาพทางกลไกดีกว่ากลุ่มควบคุมทั้ง 2 กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were; 1) to develop the physical activity model to enhance perceptual motor ability and motor physical fitness for visually impaired students and 2) to examine the effectiveness of the physical activity model. The study was divided into two phases. The first one was to develop the physical activity model to enhance perceptual motor ability and motor physical fitness for visually impaired students. The second phase was to examine the effectiveness of the physical activity model. Using simple random sampling, 45 participants were selected and divided into three groups. The experimental group was 15 students, the first control group was 15 students who were treated physical activity and the second control group was 15 students were not treated physical activity, The experiment was conducted over a period of twelve weeks, three days a week with 50 minutes a day. Data were collected two times, before and after the experiment. The data were analyzed by using mean, standard deviation and non-parametric statistics. The research finding were as follows: 1. The physical activity model to enhance perceptual motor ability and motor physical fitness for visually impaired students consisted of four components: i.e., 1) principles and concepts, 2) objective, 3) steps of the implementation of the activities, and 4) learning outcomes. The activities were consisted of five activities: i.e., 1) Kinetics Game Stretching, 2) Aiming Game, 3) Near-Space Movement Game, 4) Inferior Movement Game, and 5) Non-Locomotor Movement. The model had an aggregate IOC of 0.95 2. The result of the physical activity model to enhance perceptual motor ability and motor physical fitness for visually impaired students were found: 1) After the experiment, the mean scores of perceptual motor ability and motor physical fitness in the experimental group were increased significantly at the .05 level. 2) After the experiment, the mean scores of perceptual motor ability and motor physical fitness in the experimental group were significantly higher than the two control groups at the .05 level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบกิจกรรมทางกายเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการรับรู้การเคลื่อนไหวและสมรรถภาพทางกลไกสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF PHYSICAL ACTIVITY MODEL TO ENHANCE PERCEPTUAL MOTOR ABILITY AND MOTOR PHYSICAL FITNESS FOR VISUALLY IMPAIRED STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineสุขศึกษาและพลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorRungrawee.Sa@chula.ac.th,Rungrawee.Sa@chula.ac.then_US
dc.email.advisorSilpachai.Su@chula.ac.then_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584203827.pdf6.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.