Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50285
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้บทเรียนมัลติมีเดียเชิงสถานการณ์และวิธีการฝึกหัดทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างทักษะการให้เหตุผลทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล
Other Titles: Development of a blended learning model using situated multimedia lesson and cognitive apprenticeship method to enhance clinical reasoning skills of nursing students
Authors: กิตติมา สาธุวงษ์
Advisors: ประกอบ กรณีกิจ
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Prakob.K@Chula.ac.th,onlineteacher2005@hotmail.com
Onjaree.N@Chula.ac.th
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
การให้เหตุผลทางการแพทย์
การให้เหตุผลทางการแพทย์ -- การศึกษาและการสอน
การเรียนรู้แบบผสมผสาน
ระบบการเรียนการสอน -- การออกแบบ
การพยาบาล -- การศึกษาและการสอน
Medical logic
Medical logic -- Study and teaching
Blended learning
Instructional systems -- Design
Nursing -- Study and teaching
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ 2) สร้างรูปแบบการเรียนการสอน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และ 4) นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอน วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย 1) ศึกษาความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) สร้างรูปแบบการเรียนการสอน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และ 4) รับรองรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะการศึกษาผลเป็นรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบทดสอบก่อนหลังและมีกลุ่มเปรียบเทียบ ตัวอย่างการวิจัยได้จากการเลือกอย่างเจาะจง คือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ ภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2557 ทำการจับคู่ตามระดับผลการเรียนและสุ่มอย่างง่ายเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 28 คน กลุ่มทดลองเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดียเชิงสถานการณ์และวิธีการฝึกหัดทางปัญญาจากต้นแบบ ระยะเวลา 58 ชั่วโมง โดยมีสัดส่วนของเวลาเรียนออนไลน์ 60% และการเรียนแบบเผชิญหน้า 40% ขณะที่กลุ่มควบคุมเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานเป็นเวลา 58 ชั่วโมง มีสัดส่วนของเวลาเรียนออนไลน์ 40% และการเรียนแบบเผชิญหน้า 60% ประเมินคะแนนทักษะการให้เหตุผลทางคลินิกก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบ Script Concordance Test และทำการเปรียบเทียบคะแนนด้วยสถิติ t-test ผลการศึกษา 1) รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ เนื้อหา นักศึกษาพยาบาล อาจารย์พยาบาลหรือผู้เชี่ยวชาญ วิธีการเรียนการสอน สื่อและเทคโนโลยีการเรียนการสอน และเครื่องมือประเมินการให้เหตุผลทางคลินิก ขั้นตอนการเรียนการสอน 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นนำเข้า ขั้นสังเกตต้นแบบ ขั้นฝึกหัดและสะท้อนคิด ขั้นแสดงความรู้ ขั้นนำไปใช้ และขั้นสรุปและประเมินผล 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนการให้เหตุผลทางคลินิกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (M=73.07±6.58 vs. M=56.12±9.97; p<.001) และคะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (M=73.07±6.58 vs. M=68.83±7.85; p<.05) 3) ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน รับรองรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.99
Other Abstract: This research and development (R&D) study aimed to: 1) analyze the expert guidelines, 2) develop the instructional model, 3) implement the instructional model, and 4) propose the complete instructional model. The four phases of the study were conducted as follows: 1) the expert in-depth interviews, 2) the development of the instructional model, 3) the implementation, and 4) the expert validation of the complete instructional model. The controlled pretest-posttest quasi-experimental study was implemented with 56 junior nursing students of the Royal Thai Navy College of Nursing during their summer semester of academic year 2015. The overall samples were paired based on their academic performances and assigned to the experimental group and the control group using simple random sampling with the resulting number of 28 in each. The experimental group attended a 58-hour class utilizing situated multimedia lessons and cognitive apprenticeship method with the proportion of 60% online and 40% face-to-face sessions, whereas the control group took a 58-hour blended class with the proportion of 40% online and 60% face-to-face sessions. The Script Concordance Test was employed to evaluate the participants’ pretest-posttest clinical reasoning skills and t-test was done for statistical comparison of the scores. The results of the study revealed that: first, the developed instructional model consisted of 6 components included content knowledge, nursing students, nurse instructors and/or experts, instructional methods, instructional media and technology, and clinical reasoning assessment tools. The steps of instructional process consisted of: 1) introduction, 2) observation of expert modeling, 3) guided practice and reflection, 4) demonstration, 5) application, and 6) conclusion and evaluation. Second, the posttest clinical reasoning score of the experimental group was higher than its pretest score (M=73.07±6.58 vs. M=56.12±9.97; p<.001), and the posttest score of the experimental group was significantly higher than the control group (M=73.07±6.58 vs. M=68.83±7.85; p<.05). Third, A five-expert panel unanimously approved the instructional model with an Index of Congruence = 0.99.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50285
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1136
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1136
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584233627.pdf14.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.