Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50287
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ | en_US |
dc.contributor.advisor | ราเชน มีศรี | en_US |
dc.contributor.author | มยุเรศ ใยบัวเทศ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-01T08:04:16Z | - |
dc.date.available | 2016-12-01T08:04:16Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50287 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ภาษาตามกระบวนการฟังแบบเมตาคอกนิทีฟเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย มีวัตถุประสงค์การวิจัยทั่วไปเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ภาษาตามกระบวนการฟังแบบเมตาคอกนิทีฟเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน ครูจำนวน 20 คน และนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 50 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แผนการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนฯ แบบวัดความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ก่อนเรียน-หลังเรียน จำนวน 1 ฉบับ และแบบวัดความสามารถในการฟังเพื่อความเข้าใจระหว่างหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 4 ฉบับ เว็บไซต์และคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ภาษาสำหรับรูปแบบการเรียนการสอนฯ แบบสัมภาษณ์ผู้เรียน แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในรูปแบบการเรียนการสอนฯ การวิเคราะห์ผลข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติ t-test dependent และการวัดคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ระดับความมีปัญหาในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 ปัญหาการฟังที่นักเรียนมีอยู่ในระดับมากสามอันดับแรก ได้แก่ ไม่รู้คำศัพท์ บทฟังมีความยาวมาก และไม่มีสมาธิในการฟัง ตามลำดับ 2. รูปแบบการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ภาษาตามกระบวนการฟังแบบเมตาคอกนิทีฟเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ภาษา กระบวนการฟังแบบเมตาคอกนิทีฟ เนื้อหา ปฏิสัมพันธ์ทางการเรียน และระบบบริหารการเรียนรู้ และ ขั้นตอน 11 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เตรียมความพร้อมของผู้เรียน 2) คาดการณ์ก่อนฟัง 3) แนะนำศัพท์ 4) ฟังและตรวจสอบด้วยตนเอง 5) ฟังและตรวจสอบการฟังกับเพื่อน 6) ฟังและตรวจสอบกับสคริปต์ 7) ฝึกทำแบบฝึกหัดการฟัง 8) ฝึกฝนด้วยตนเองตามผ่านคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ภาษาตามกระบวนการฟังแบบเมตาคอกนิทีฟ [8.0) ฝึกฝนด้วยตนเองตามอัธยาศัย 8.1) เตรียมความพร้อมของผู้เรียน 8.2) คาดการณ์ก่อนฟัง 8.3) แนะนำศัพท์ 8.4) ฟังและตรวจสอบด้วยตนเอง 8.5) ฟังและตรวจสอบด้วยตนเอง 8.6) ฟังและตรวจสอบกับสคริปต์ 8.7) ฝึกทำแบบฝึกหัดการฟัง] 9) สะท้อนคิด 10) ฟังตามอัธยาศัย 11) ทดสอบประจำหน่วย 3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ภาษาตามกระบวนการฟังแบบเมตาคอกนิทีฟมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการของความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ 16.09 4. ผลการศึกษาพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ภาษาในรูปแบบการเรียนการสอนฯ ที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสูงได้รับประโยชน์สูงสุดจากคลิปวีดิทัศน์และคลิปเสียง ผู้เรียนระดับกลางได้รับประโยชน์สูงสุดจากบัตรคำออนไลน์ ผู้เรียนระดับต่ำได้รับประโยชน์ระดับมากจากคลิปวีดิทัศน์และบัตรคำออนไลน์ ผู้เรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสูงและระดับต่ำมีความถี่ในการใช้งานบัตรคำออนไลน์มาก ผู้เรียนระดับกลางมีความถี่ในการใช้งานแบบฝึกหัดการฟังออนไลน์มาก 5. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 ระดับเหมาะสมดีมาก | en_US |
dc.description.abstractalternative | The research entitled “Development of an Instructional Model of CALL using Metacognitive Listening Processes to Enhance English Listening Comprehension Ability of Upper Secondary School Students” aims to develop an instructional model of CALL using Metacognitive Listening Processes to enhance English listening comprehension ability of upper secondary school students. The samples were 9 experts, 20 teachers, and 50 students in second semester, the academic year 2015. The research instruments used were the lesson plans based on the instructional model, listening comprehension tests namely: 1 pre-test/post-test and 4 formative tests, website and CALL materials, interview questionnaire, behavior of using CALL questionnaire. Data analysis procedures were by content analysis, frequency, percentages, means, standard deviations, t-test for dependent samples and development score. The results were as follows: 1. The mean of upper secondary school students' English listening problems was 3.55 (at high level). The top three problems were lack of vocabulary, long length of listening texts, and lack of concentration in listening, respectively. 2. The Instructional Model of CALL using Metacognitive Listening Processes to Enhance English Listening Comprehension Ability of Upper Secondary School Students consisted of 5 elements: 1) Computer Assisted Language Learning [CALL], 2) Metacognitive listening processes, 3) Content, 4) Interaction, and 5) Learning Management System. There are 11 teaching and learning steps in this instructional model: 1) Students’ Preparation, 2) Predication, 3) Introducing critical vocabulary, 4) Self-listening and checking, 5) Listening and checking with partner, 6) Listening and verifying with script, 7) Comprehension check, 8) Self- practice via CALL using metacognitive listening processes [8.0) Free-choice self-practice via CALL, 8.1) Students’ Preparation 8.2) Predication, 8.3) Introducing critical vocabulary, 8.4) Self-listening and checking 8.5) Self-listening and checking, 8.6) Listening and verifying with script, 8.7) Comprehension check], 9) Reflection, 10) Free-choice listening, and 11) Evaluation 3. Listening comprehension ability posttest scores of the students who studied with the Instructional Model of CALL using Metacognitive Listening Processes were significantly higher than the pretest scores at .05 level. The mean of development score of students who studied with the Instructional Model of CALL using Metacognitive Listening Processes was 16.09 %. 4. The greatest benefit realized by the students from CALL usage in the instructional model divided by their listening proficiency groups (high and medium) were video/audio clip and online flashcard respectively. The great benefit realized by the other was video clip/online flashcard. In term of the highest frequency, two groups (high and low listening proficiency students) were often use online flashcard. The other was often use online listening quiz. 5. The instructional model validation result by experts was 4.33 (at very good level). | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1242 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ภาษาอังกฤษ -- การสอนด้วยสื่อ | |
dc.subject | ภาษาอังกฤษ -- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน | |
dc.subject | ความเข้าใจในการฟัง | |
dc.subject | English language -- Teaching -- Aids and devices | |
dc.subject | English language -- Computer-assisted instruction | |
dc.subject | Listening comprehension | |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ภาษาตามกระบวนการฟังแบบเมตาคอกนิทีฟเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย | en_US |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL OF CALL USING METACOGNITIVE LISTENING PROCESSES TO ENHANCE ENGLISH LISTENING COMPREHENSION ABILITY OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Praweenya.S@Chula.ac.th,praweenya@gmail.com,praweenya@gmail.com | en_US |
dc.email.advisor | Ra-Shane.M@Chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.1242 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584254827.pdf | 12.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.