Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50335
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุลen_US
dc.contributor.authorวีรเกียรติ พันธุมะโอภาสen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:05:16Z-
dc.date.available2016-12-01T08:05:16Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50335-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการทดสอบความสามารถการทรงตัวของร่างกายมนุษย์ได้ถูกประยุกต์ใช้อย่างเพื่อทดสอบสมรรถภาพร่างกายเนื่องจากในการทรงตัวจำเป็นต้องใช้การทำงานร่วมกันของระบบต่างๆ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาปัจจัยด้านระยะเวลาที่ร่างกายยังคงตื่นนอน (การอดนอน) ที่มีผลต่อความสามารถในการทรงตัว โดยศึกษาและทดสอบความสามารถในการทรงตัวของมนุษย์ผ่านวิธีการต่างๆ ได้แก่ วิธีการทดสอบเชิงคลินิกดัดแปลงเพื่อทดสอบปฏิสัมพันธ์ของการรับรู้ความรู้สึกในการทรงตัว (mCTSIB) วิธีการทดสอบขีดจำกัดของการทรงตัว (LOS) และวิธีการประเมินสมรรถนะแบบฟิตส์ (Fitts’ Performance Test) โดยใช้วีอ์บาลานซ์บอร์ด (Wii Balance Board) เพื่อตรวจวัดตำแหน่งของจุดศูนย์กลางความดันของผู้เข้าร่วมการทดลอง ผู้เข้าร่วมการทดลอง 17 คน ได้เข้าร่วมงานวิจัยนี้โดยทำการทดสอบความสามารถการทรงตัวของแต่ละคนทุกๆ 2 ชั่วโมง เริ่มทดสอบครั้งแรกที่เวลา 20 นาฬิกา (ตื่นนอนต่อเนื่อง 12 ชั่วโมง) เรื่อยไปจนกระทั่งเวลา 6 นาฬิกาของวันถัดไป (ตื่นนอนต่อเนื่อง 22 ชั่วโมง) ผลการวิจัยพบว่าระยะเวลาที่ผู้เข้าร่วมการทดลองยังคงตื่นอยู่มีผลต่อความสามารถในการทรงตัวที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สำหรับทั้ง 3 วิธีการทดสอบ ในการทดสอบ mCTSIB พบว่าพื้นที่สนับสนุนการทรงตัว (SS) และค่าระยะทางการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางความดัน (SL) เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระยเวลาตื่นนอนต่อเนื่อง 20 ชั่วโมง และ 22 ชั่วโมง ตามลำดับ ในการทดสอบ LOS พบว่าความเร็วในการเอนตัว (MVL) และระยะทางที่ทำได้ในการเคลื่อนตัวครั้งแรก (EPE) มีค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งคู่เมื่อที่ระยะเวลาที่ยังคงตื่นนอนต่อเนื่อง 16 ชั่วโมง และในการทดสอบสมรรถนะ Fitts’ Performance Test พบว่า ดัชนีสมรรถนะ (IP) และ ค่าจุดตัดแกน Y (Y-Intercept แสดงถึงเวลาที่ใช้การการเคลื่อนจุดศูนย์กลางความดัน) โดยทั้งคู่มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทั้งคู่เมื่อที่ระยะเวลาตื่นนอนต่อเนื่อง 18 ชั่วโมง และ 16 ชั่วโมง ตามลำดับ จากผลการทดลองทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่าความสามารถการทรงตัวของมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่ออยู่ในสภาวะตื่นนอนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาจมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและความปลอดภัยได้en_US
dc.description.abstractalternativeBody balance evaluation is widely applied for confirming human body readiness. Body balance is an integration of various systems and organs (e.g. vestibular system, vision, proprioceptive, central nervous system, and motor neuron system). This research aims to study effect of sleep deprivation which results in body balance capacities. 3 different methods of body balance evaluations were conducted; Modified Clinical Test of Sensory interaction on Balance (mCTSIB), Limits of Stability (LOS), and Fitts’ Performance Test. To acquire the data of body balancing (Center of Pressure: COP), Wii Balance Board was used. 17 subjects were participated and examined for their balancing capacities over a sleepless night. Each subject was tested every 2 hours starting from 20:00 (12 hours of sleep deprived) until 6:00 of the next day (22 hours of sleep deprived). The results showed that the duration of sleep deprivation significantly affected to body balancing capacities. For the mCTSIB, the Support Surface (SS) and the Statokinesigram Length (SL) were significantly increased at the sleep deprivation duration of 20 hours and 22 hours respectively. For LOS test, Movement Velocity (MVL) and Endpoint Excursion (EPE) were found that they were significantly increased at the sleep deprivation duration of 16 hours. And, for Fitts’ Performance Test, subjects’ Index of Performances (IP) and Y-Intercept points were significantly dropped at the sleep deprived duration of 18 hours and 16 hours respectively. In conclusion, sleep deprivation has significant effects on human balance capacities. Working or conducting activities continuously without taking rest would result in work efficiency and safety drops.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการเปรียบเทียบความสามารถของการทรงตัวระหว่างในสภาวะปกติและในสภาวะอดนอนโดยใช้วีอ์บาลานซ์บอร์ดen_US
dc.title.alternativeA COMPARISON OF BODY BALANCE CAPACITIES BETWEEN IN NORMAL CONDITION AND IN SLEEP DEPRIVATION USING WII BALANCE BOARDen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPhairoat.L@Chula.ac.th,phairoat@hotmail.comen_US
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670962121.pdf7.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.