Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50350
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุจิตรา สื่อประสาร | en_US |
dc.contributor.author | วรรณรัตน์ วิรัชกุล | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-01T08:05:35Z | - |
dc.date.available | 2016-12-01T08:05:35Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50350 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะของสีผิวคนไทย โดยการวัดค่าการสะท้อนแสงเชิงสเปกตรัมของสีผิว ที่ความยาวคลื่น 400-700 นาโนเมตร ทุกระยะห่าง 10 นาโนเมตร บริเวณ 6 ตำแหน่งบนร่างกาย ได้แก่ หน้าผาก แก้ม คาง หลังมือ แขนด้านนอก และแขนด้านใน ของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 710 คน อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป วิเคราะห์ค่าสีในระบบจำลองลักษณะสี CIECAM02 ภายใต้สภาวะ D65/10o ร่วมกับข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ อายุ ภูมิลำเนา และการออกกำลังกายกลางแจ้ง ผลการทดลองพบว่า สีผิวของคนไทยมีแนวโน้มไปทางสีเหลือง และมีความแตกต่างของความสว่างมาก ตั้งแต่ผิวสีขาวเหลืองจนถึงผิวสีแทน แสดงให้เห็นถึง ความหลากหลายด้านเชื้อชาติ ในส่วนของตำแหน่งบนร่างกายพบว่า บริเวณใบหน้ามีความสว่างมากกว่าบริเวณแขน ในขณะที่บริเวณแขนมีค่าความอิ่มตัวสีมากกว่า เพศหญิงมีผิวที่ขาวและซีดกว่าเพศชาย นอกจากเพศแล้วอายุเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อสีผิว พบว่า อายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่าความสว่างลดลง การทำกิจกรรมกลางแจ้งที่ต้องสัมผัสกับแสงแดดก็เป็นเหตุให้สีผิวมีความสว่างลดลง จากการวิเคราะห์ลักษณะของกราฟค่าการสะท้อนแสงพบว่า สีผิวมีค่าการสะท้อนแสงต่ำในช่วงความยาวคลื่นสั้น และมีค่าค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในช่วงความยาวคลื่นที่ยาวขึ้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงความชันของเส้นกราฟในช่วง 520-600 นาโนเมตร ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสีผิว จากการวิเคราะห์กลุ่ม (cluster analysis) สามารถจำแนกสีผิวของกลุ่มตัวอย่างได้ 10 กลุ่ม ซึ่งลักษณะกราฟค่าการสะท้อนแสงของแต่ละกลุ่มมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ความสูงของกราฟ และจากการทดสอบด้วยวิธีทางสถิติพบว่า แต่ละกลุ่มมีความสว่างของสีผิวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผลการเปรียบเทียบค่าการสะท้อนแสงเชิงสเปกตรัมระหว่างสีผิวจริงกับสีผิวจำลอง (PANTONE SkinTone™ Guide) พบว่า มีความแตกต่างกัน และจะไม่เกิดปรากฏการณ์เมแทเมอริซึมเนื่องด้วยแหล่งกำเนิดแสง (illuminant metamerism) | en_US |
dc.description.abstractalternative | The aim of this research is to investigate the characteristics of Thai skin colours by means of spectral reflectance measurements of skin colours from 400-700 nm at 10 nm intervals. The measurements were taken from a sample group of 710 individuals with the age of 15 years and above on six body areas: forehead, cheek, chin, back of hand, outer forearm, and inner forearm. Analysis was done based on CIECAM02 colour attributes under D65/10o, together with basic information of the sample group, i.e. gender, age, hometown and outdoors exercise. It was found that Thai skin colour tended to be yellow and had large differences in lightness from yellowish pale to tan, revealing that Thailand is a racially heterogeneous nation. In the case of body area, facial areas were lighter than arms, while areas around arms had higher chroma. Female skin colour was whiter and paler than male male skin. In addition to gender, age was one of the factors affecting skin colour. The lightness of skin reduced with age. Outdoors exercises that expose to the sun also caused darker skin. The spectral reflectance curve showed that skin colour had low reflection at short wavelengths and gradually reflected more at longer wavelengths. There was a change in slope of the spectral reflectance curve at 520-600 nm, showing the characteristics of skin colour. From cluster analysis, Thai skin colours could be divided into 10 groups. The shapes of spectral reflectance curves of each group were similar; only the height of the curves was different. The statistical test showed that the lightness values of each group were significantly different. Comparisons of spectral reflectance curves between actual skin colours and simulated skin colours (PANTONE SkinTone™ Guide) showed dissimilarity and no chance of illuminant metamersim. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | ลักษณะเฉพาะเชิงสเปกตรัมของสีผิวคนไทย | en_US |
dc.title.alternative | SPECTRAL CHARACTERISTICS OF THAI SKIN COLOUR | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีทางภาพ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Suchitra.S@Chula.ac.th,Suchitra.S@chula.ac.th | en_US |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5672078823.pdf | 3.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.