Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50540
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปวีณา สุสัณฐิตพงษ์en_US
dc.contributor.authorศิพนันทน์ ธรรมรัตนพคุณen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:09:30Z-
dc.date.available2016-12-01T08:09:30Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50540-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย: ภาวะแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เมทริกซ์กลาโปรตีน (MGP) เป็นโปรตีนที่สำคัญในการยับยั้งการเกิดภาวะแคลเซียมเกาะที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งอาศัยวิตามินเคในกระบวนการทำให้เป็นโปรตีนพร้อมใช้ โดยระดับ dephosphorylated uncarboxylated MGP (dp-ucMGP) นำมาใช้เป็นตัวแทนระดับวิตามินเค ระเบียบวิจัย : ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3-5 82 ราย ภาวะแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดใช้การเอกซเรย์ช่องท้องทางด้านข้าง เพื่อดูหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้อง ส่วนภาวะหลอดเลือดแข็งใช้การตรวจ cardio-ankle vascular index (CAVI) และระดับ dp-ucMGP ทดสอบด้วย ELISA-based ที่ Maastricht University, Netherlands. ผลการศึกษา : ระดับ dp-ucMGP ที่มากกว่า 400 pmol/L (อ้างอิงข้อมูลบริษัท R&D Group VitaK) เป็นกลุ่มที่มีภาวะขาดวิตามินเค ความชุกของผู้ที่ขาดวิตามินเคร้อยละ 85.5 เมื่อนำอายุ อัตราการกรองของไต เบาหวาน ภาวะขาดวิตามินเคและภาวะพร่องวิตามินดี มาวิเคราะห์ เพื่อพยากรณ์ภาวะแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือด พบว่า อายุ ภาวะขาดวิตามินเค และภาวะขาดวิตามินดี มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI 0.01-0.02; p=0.00, 95%CI 0.07-0.53; p=0.01 และ 95%CI -0.44-(-0.02); p=0.03 ตามลำดับ) ในขณะที่ภาวะขาดวิตามินเคไม่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง สรุป :ภาวะขาดวิตามินเค มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือด ระดับ dp-ucMGP น่าจะนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดการเกิดภาวะแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้ ส่วนการให้วิตามินเคเสริมจะสามารถช่วยลดภาวะแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้หรือไม่คงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมen_US
dc.description.abstractalternativeBackground: Vascular calcification causes cardiovascular mortality in CKD patients. Matrix Gla protein (MGP) is a potent vascular calcification inhibitor and needs vitamin K for its activity. Vitamin K deficiency increases plasma dephosphorylated uncarboxylated MGP (dp-ucMGP) levels. Rationally, dp-ucMGP is a biomarker of vitamin K status and may be associated with vascular calcification. Methods: Eighty-two CKD stage 3-5 patients were enrolled in cross-sectional study. Vascular calcification was determined by calcified in the abdominal aorta shown by lateral lumbar film, vascular stiffness was assessed by cardio-ankle vascular index (CAVI), and plasma dp-ucMGP levels were measured using ELISA method, Maastricht, The Netherlands. Results: The plasma dp-ucMGP level over 400 pmol/L (using reference from R&D Group VitaK in general population) was defined as vitamin K deficiency. The prevalence of vitamin K deficiency in this study was 85.5%. Multivariate regression analysis models to predict vascular calcification showed that age, vitamin K deficiency and vitamin D deficiency were significantly associated with vascular calcification (95%CI 0.01-0.02; p=0.00, 95%CI 0.07-0.53; p=0.01 and 95%CI -0.44-(-0.02); p=0.03, respectively). In contrast, there was no association between vitamin K deficiency and vascular stiffness. Conclusions: Vitamin K deficiency was associated with vascular calcification. The benefit of vitamin K supplement on vascular calcification should be explored in the long-term clinical trial.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการศึกษาเพื่อหาความชุกของภาวะขาดวิตามินเคและความสัมพันธ์ระหว่างภาวะขาดวิตามินเคกับภาวะหลอดเลือดแข็งและแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังen_US
dc.title.alternativePrevalence of Vitamin K deficiency and association with vascular stiffness and calcification in patients with chronic kidney diseaseen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPaweena.S@Chula.ac.th,pesancerinus@hotmail.com,pesancerinus@hotmail.comen_US
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774095930.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.