Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50665
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับนักการศึกษานอกระบบ
Other Titles: Development of a self- development learning model to enhance lifelong education management potentials for non-formal education facilitators
Authors: ลวพร สุกียาม่า
Advisors: วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Wirathep.P@Chula.ac.th,wirathep.p@chula.ac.th
somburak62@gmail.com
Subjects: กลยุทธ์การเรียนรู้
การศึกษาต่อเนื่อง
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
Learning strategies
Continuing education
Non-formal education
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับนักการศึกษานอกระบบ เป็นการวิจัยแบบเดลฟายเทคนิค ร่วมกับการเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สังเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการเรียนรู้ของนักการศึกษานอกระบบในการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิต 2. สังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับนักการศึกษานอกระบบ และวิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขในการใช้รูปแบบการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับนักการศึกษานอกระบบ 3.นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาตนเองของนักการศึกษานอกระบบในการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิต กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบบเดลฟาย 3 กลุ่มคือ 1. ผู้เชี่ยวชาญที่สังกัดสำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2. นักการศึกษานอกระบบ 3. ผู้เชี่ยวชาญในสังกัดสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นกรณีศึกษา คือ นักการศึกษานอกระบบ 7 คนและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ ผู้เชี่ยวชาญที่สังกัดสำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดสถาบันอุดมศึกษา 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและกระบวนการเรียนรู้ของนักการศึกษานอกระบบในการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ได้แก่ องค์ประกอบภายในตนเอง 8 องค์ประกอบ คือ 1) ความต้องการและความสมัครใจเรียนรู้ 2) ความพร้อมในตนเอง 3) เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ในการพัฒนา 4) ศรัทธาและเชื่อมั่นในตนเอง 5) ประสบการณ์และความรู้ 6) แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 7) รู้จุดยืนและศรัทธาในอาชีพ 8) เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส และองค์ประกอบสนับสนุน 9 องค์ประกอบ คือ 1) นโยบายที่เป็นภาระกิจ 2) บุคคลสนับสนุน 3) ความร่วมมือของเครือข่าย 4) สื่อและเทคโนโลยีสนับสนุน 5) แหล่งการเรียนรู้ 6) กิจกรรมในการพัฒนา 7) พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 8) ลักษณะภาระงานที่รับผิดชอบ และ9) ความสำเร็จในอาชีพ กระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตของนักการศึกษานอกระบบ ประกอบด้วย 9 ขั้น ได้แก่ 1) พบเจอปัญหาในการปฏิบัติงาน 2) สร้างสภาวะความพร้อมและแรงขับในการเรียนรู้ 3) กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง 4) เลือกแหล่งเรียนรู้ ทรัพยากร และเครือข่ายการเรียนรู้ 5) วางแผนการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น 6) เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการปฏิบัติ 7) ฝ่าฟันปัญหา และเสริมพลังการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 8) ทบทวนผล และปฏิบัติซ้ำจนหมดปัญหาพร้อมสร้างองค์ความรู้ใหม่ และ9) แบ่งปันประสบการณ์และแสดงความสามารถ 2. รูปแบบการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับนักการศึกษานอกระบบ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) องค์ประกอบ 5) กระบวนการ และ6) การประเมินผล 3. ปัจจัยในการใช้รูปแบบ ได้แก่ 1) ตัวนักการศึกษานอกระบบ 2) บุคคลใกล้ชิด 3) ผู้บริหารและหน่วยงาน 4) เครือข่าย 5) เนื้อหาการพัฒนาตนเอง 6) กิจกรรมในการพัฒนาตนเอง 7) การยกย่องเชิดชูเกียรติ เงื่อนไขในการใช้รูปแบบ ได้แก่ 1) แรงจูงใจและความต้องการในการพัฒนาตนเอง 2) ความสามารถในการรับรู้ 3) ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน กศน. 4) การจัดการปัญหาในการพัฒนาตนเอง 5) นโยบายและภาระเร่งด่วนของ สำนักงาน กศน. 6) ระยะเวลาในการพัฒนาตนเอง 7) การสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด ผู้เรียนและเครือข่าย 8) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 9) การเข้าถึงข้อมูลในการพัฒนาตนเอง 10) สภาพบริบทพื้นที่ 4. ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาตนเองของนักการศึกษานอกระบบในการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ได้แก่ 1) สร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดสภาวะความพร้อมต่อการเกิดการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิต 2) ส่งเสริม สนับสนุนให้นักการศึกษานอกระบบเกิดองค์ประกอบภายในตนเองในการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิต 3) สร้างกลไกที่สนับสนุน ส่งเสริมให้เครือข่าย และผู้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต เข้ามาร่วมส่งเสริม สนับสนุน สิ่งที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้กับนักการศึกษานอกระบบ 4) สร้างกลไกที่สนับสนุน ส่งเสริม ให้นักการศึกษานอกระบบมีโอกาสแบ่งปันประสบการณ์และความสามารถเกี่ยวกับการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองต่อผู้อื่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
Other Abstract: The research on development of a self-development learning model to enhance lifelong education management potentials for non-formal education facilitators. The research methodology were the Delphi technic and the qualitative method. The aims of the research were to: 1) synthesize the components and learning process to enhance lifelong education management potentials for non-formal education facilitators; 2) synthesize a self-development learning model to enhance lifelong education management potentials for non-formal education facilitators and analyze the factors and conditions in applying a self-development learning model to enhance lifelong education management potentials for non-formal education facilitators; and 3) propose the policy recommendations in self-development learning model to enhance lifelong education management potentials for non-formal education facilitators. The 3 sample groups of Delphi technic were: 1) experts form the provincial office of the Non-formal and Informal Education; 2) non-formal education facilitators. and 3) academic expert; The 7 case studies of non-formal education facilitators. and the 2 sample groups of interview for study policy recommendations. The results were as follows: 1. Components to enhance lifelong education management potentials for non-formal education facilitators comprised Self-element which consisted of 8 components including: 1) desire and willing to learn; 2) self – readiness; 3) open-mind to accepted new things; 4) trust and self-confident; 5) experience and knowledge; 6) self-directed learning; 7) knowing stand point and faith in career; and 8) changing crisis to be opportunity. Furthermore, the supporting elements consisted of 9 elements including: 1) policy from organization; 2) supporters; 3) Network cooperation; 4) media & ICT; 5) learning resources; 6) developing activities; 7) sharing space; 8) character of work; and 9) career achievement. For the learning process consisted of 9 steps as follows: 1) encounter with problems in work; 2) create learning readiness and drive; 3) set goals; 4) finding appropriate learning resource and network; 5) design flexible learning;6) Learning by doing; 7) overcome difficulties and perseverance; 8) review the process and self-evaluation; and 9) share knowledge and show abilities. 2. Self-development learning model to enhance lifelong education management potentials for non-formal education facilitators comprised 6 elements: 1) basic concept; 2) objective; 3) content; 4) components; 5) learning process; and 6) evaluation. 3. Factors for using model were: 1) non-formal education facilitators; 2) closed relatives; 3) directors and main organizations; 4) network; 5) content; 6) activities; and 7) promoting and honoring. Condition of using model were: 1) motivation and self-development needs; 2) perceptual abilities; 3) organizational work experiences; 4) problem solving in self-development; 5) urgent policy and duties of organizations; 6) time period of self-development; 7) supports from main organization, learners, and network; 8) media and learning resource; 9) self-development information access; and 10) workplace context. 4. Proposal of the policy recommendations in self-development learning model to enhance lifelong education management potentials for non-formal education facilitators were: 1) creating learning environment for enhancing the leaning readiness of self-development; 2) promoting individual self-element of non-formal education facilitators; 3) creating devices for promoting self-development network of lifelong education management and non-formal education facilitators to enhance lifelong education management potentials; and 4) creating devices for promoting and supporting non-formal education facilitators to share their knowledge and experiences in lifelong education management efficiency.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50665
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1141
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1141
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384249527.pdf13.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.