Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50732
Title: ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีภาวะโภชนาการเกิน
Other Titles: EFFECTS OF HEALTH BEHAVIOR CHANGE PROGRAM ON FOOD CONSUMPTION AND EXERCISE BEHAVIOR IN OVERWEIGHT OLDER PERSONS WITH CORONARY ARTERY DISEASE
Authors: แจ่มจันทร์ ประทีปมโนวงศ์
Advisors: ศิริพันธุ์ สาสัตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
โภชนาการผิดปกติในวัยสูงอายุ
พฤติกรรมบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ
Coronary heart disease
Nutrition disorders in old age
Behavior therapy for older people
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีภาวะโภชนาการเกิน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เข้ารับการรักษาในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชเพื่อทำหัตถการสวนหัวใจ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน จัดให้สองกลุ่มมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในด้าน เพศและอายุ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและแบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .87 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีภาวะโภชนาการเกินกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีภาวะโภชนาการเกินกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of health behavior change program on food consumption and exercise behavior in overweight older persons with coronary artery disease. The participants consisted of 40 older persons who were diagnosed with coronary artery disease and admitted to Faculty of Medicine Vajira Hospital, Nawamindradhiraj University for cardiac catheterization. The participants were divided into the experimental group and the control group with 20 persons in each group. Both group had similar characteristics in gender and aged group. The experimental groups received the health behavior change program and the control group received conventional nursing care. The experimental instrument was health behavior change program with content validity test. The collecting data instruments were consumption behavior questionnaire and exercise behavior questionnaire. Both questionnaires were tested for reliability with Cronbach Alpha at .87 and .80 respectively. Research findings were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test. The major findings were as follows: 1. The experimental group after receiving the health behavior change program had statistically significant better food consumption and exercise behavior than before receiving the program at the level of .05 2. The experimental group after receiving the health behavior change program had statistically significant better food consumption and exercise behavior than those who received conventional nursing care at the level of .05
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50732
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577163236.pdf6.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.