Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/507
Title: สมรรถภาพที่พึงประสงค์สำหรับครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับโรงเรียนในโครงการพัฒนาการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Desired competencies for secondary school teachers in using information and communications technology for schools in the lower secondary education quality improvement project
Authors: ดวงรัตน์ อาบใจ, 2520-
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
Subjects: ครูมัธยมศึกษา
เทคโนโลยีทางการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นำเสนอสมรรถภาพที่พึงประสงค์สำหรับครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับโรงเรียนในโครงการพัฒนาการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 30 คน ครู จำนวน 255 คน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 30 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และรับรองสมรรถภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสามารถแบ่งสมรรถภาพที่พึงประสงค์ สำหรับครูมัธยมศึกษาในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ด้านคือ ด้านความรู้ ด้านทักษะปฏิบัติ และด้านเจตคติ ดังนี้ 1. ด้านความรู้ แบ่งได้ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้ทางภาษาทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์/เทคโนโลยี 2) ด้านความรู้ทางคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ การใช้อุปกรณ์บันทึกข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมประมวลคำ (MS-Word) โปรแกรมการทำตาราง/คำนวณ (MS-Excel) โปรแกรมเพื่อการนำเสนอ (MS-PowerPoint) การสืบค้นข้อมูลอินเทอร์เน็ต การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) 3) ด้านความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ การเลือกสรรเทคโนโลยีสารสนเทศ การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และการติดตามข่าวสารเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. ด้านทักษะปฏิบัติ แบ่งได้ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะปฏิบัติด้านภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2) ทักษะปฏิบัติด้านการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ความสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ จัดการเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ ใช้อุปกรณ์บันทึกข้อมูลต่างๆ 3) ทักษะปฏิบัติด้านการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โปรแกรมประมวลคำ (MS-Word) โปรแกรมการทำตาราง/คำนวณ (MS-Excel) โปรแกรมเพื่อการนำเสนอ (MS-PowerPoint) สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) และสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต 4) ทักษะปฏิบัติด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการสอน ได้แก่ การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ ใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับหลักสูตร เนื้อหาและวัตถุประสงค์ สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ใช้มัลติมีเดียประกอบการสอน การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และใช้โปรแกรมในการติดต่อสื่อสาร 3. ด้านเจตคติ ได้แก่ ครูเห็นประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนคอมพิวเตอร์ด้วนตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความมุ่งมั่นในการใช้คอมพิวเตอร์ มีวินัยในตนเองและเคารพกฎเกณฑ์ในการใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายในสถานศึกษา มีความรับผิดชอบต่อข้อมูลที่นำมาใช้ รวมถึงการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ต่างๆ และมีความตระหนักถึงการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศไปในทิศทางที่ถูกต้องไม่ขัดต่อศีลธรรมและกฎหมาย
Other Abstract: To propose the desired competencies for secondary school teachers in using information and communications technology for schools in the secondary education quality improvement project. The samples consisted of 30 school administrators, 255 teachers, 30 supervisors and 25 specialists. The researcher collected the data by survey questionnaires and audited the competencies by five experts. The data were analyzed by percentage, mean and standard deviation. The results indicated the competencies in three categories : knowledge, skills and attitudes as follows: 1. Knowledge competency composes three areas 1) Literacy in Thai, English and computer/technology language. 2) Computer knowledge : computer literacy, operating system, data recording tools and equipments, word processing (MS-Word), table and calculation software program (MS-Excel), presentation software program (MS-PowerPoint), searching information via internet, and e-mail. 3) IT knowledge : IT selection, software program application and study IT information. 2. Skill competency composes four areas 1) skills in Thai and English language. 2) skills in computer utilization : computer equipment, operating system, data recording equipment. 3) skills in using software program : word processing (MS-Word), table and calculation software program (MS-Excel), presentation software program (MS-PowerPoint), internet and network connection, e-mail, and information search via internet. 4) skills in teaching with ICT : software program selection, ICT implementation with curriculum, content and objective, CAI lesson development, multimedia implementation in instruction, internet search and communication software programs utilization. 3. Attitude competency : be aware in technology usefulness, conduct self-study continuously, be eager to use computer, self-discipline, follow computer ethics and school network, be responsible for data used and copyrights, using computer and ICT in a righteous action.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/507
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.156
ISBN: 9745312991
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.156
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Duangrat.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.