Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50837
Title: ตำแหน่งเชิงมุมของเจ็ตควบคุมตามแนวเส้นรอบวงที่เหมาะสมต่อการเหนี่ยวนำการผสมของเจ็ตในกระแสลมขวาง
Other Titles: Optimal injection angles of the azimuthal control jets for entrainment of jets in crossflow
Authors: เชาวน์วัฒน์ เต็กฮวด
Advisors: อศิ บุญจิตราดุลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Asi.B@Chula.ac.th,asi.b@chula.ac.th
Subjects: เจ็ต
เจ็ต -- พลศาสตร์ของไหล
Jets
Jets -- Fluid dynamics
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของตำแหน่งเชิงมุมของการฉีดเจ็ตควบคุมตามแนวเส้นรอบวงต่อการเหนี่ยวนำการผสม (Entrainment) ของเจ็ตในกระแสลมขวาง ในการนี้ เพื่อให้สามารถวัดค่าอัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมเชิงปริมาตรได้โดยตรง จึงใช้เทคนิค Stereoscopic Particle Image Velocimetry (SPIV) ควบคู่กับการใส่อนุภาคติดตามการไหลในเจ็ตหลักเท่านั้นแต่ไม่ใส่ในกระแสลมขวาง การทดลองทำที่อัตราส่วนความเร็วประสิทธิผลของเจ็ตต่อกระแสลมขวาง (r) ที่ 4, 8 และ 12 โดยมีเลขเรย์โนลด์ของเจ็ต (Rej) เท่ากับ 12,400, 24,800 และ 37,200 ตามลำดับ ส่วนเลขเรย์โนลด์ของกระแสลมขวาง (Recf) ให้มีค่าคงที่ที่ 3,100 ความเร็วเริ่มต้นของเจ็ตหลักเป็นแบบการไหลในท่อแบบปั่นป่วนที่พัฒนาตัวเต็มที่ ในการฉีดเจ็ตควบคุมจะทำการฉีดเจ็ตควบคุมแบบคงตัวพุ่งเข้าหาเจ็ตหลักตามแนวรัศมี ที่ก่อนปากทางออกของเจ็ต โดยจะฉีดเป็นคู่ที่ตำแหน่งเชิงมุม (±Ө) ต่างๆตามแนวเส้นรอบวง เพื่อปรับเปลี่ยนการควบคุมการพัฒนาโครงสร้างการไหลของเจ็ตหลัก ณ บริเวณปากทางออกของเจ็ต ในการศึกษานี้ได้ทำการปรับเปลี่ยนตำแหน่งเชิงมุมของการฉีดคู่เจ็ตควบคุมจากมุม ±15o ถึง ±165o โดยเพิ่มมุมขึ้นทีละ 15o และ กรณีคู่สมมาตรอีก 1 คู่ คือที่ตำแหน่ง 0o และ 180o โดยคงค่าอัตราส่วนอัตราการไหลเชิงมวลของเจ็ตควบคุมต่อเจ็ตหลัก (rm) ที่ 4% จากผลการทดลองพบว่า ที่ทั้งสามอัตราส่วนความเร็วประสิทธิผลของเจ็ตในกระแสลมขวาง (r) คือ 4, 8 และ 12 การฉีดเจ็ตควบคุมทางด้าน windward (Ө<90o) จะส่งผลให้ E และ ɳ ของ cJICF ลดลงจากกรณี JICF หรืออีกนัยหนึ่ง การฉีดเจ็ตควบคุมจะไปยับยั้ง (suppress) การเหนี่ยวนำการผสมของ cJICF เมื่อเทียบกับ JICF ในทางตรงกันข้าม การฉีดเจ็ตควบคุมทางด้าน leeward (Ө>90o) จะส่งผลให้ E และ ɳ ของ cJICF เพิ่มขึ้นจากกรณี JICF หรืออีกนัยหนึ่ง การฉีดเจ็ตควบคุมจะไปส่งเสริม (promote) การเหนี่ยวนำการผสมของ cJICF เมื่อเทียบกับ JICF เมื่อเพิ่มตำแหน่งเชิงมุมของเจ็ตควบคุมจากทางด้าน windward ±15o ไปทางด้าน leeward ±165o อย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ E และ ɳ มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของตำแหน่งเชิงมุมของเจ็ต นอกเหนือจากนั้นยังพบว่า การฉีดเจ็ตควบคุมจะมีประสิทธิผลที่ r ต่ำมากกว่าที่ r สูง
Other Abstract: Effects of the azimuthal positions (Ө) of the azimuthal control jets on the volumetric entrainment ratio (E) of jets in crossflow (JICF) and the effectiveness of the use of the azimuthal control jets (ɳ) are investigated. In order to determine the volumetric entrainment ratio, the stereoscopic particle image velocimetry (SPIV) with the jet-fluid only seeding scheme is employed. The baseline JICFs investigated have the effective velocity ratios (r) of 4, 8, and 12; the jet Reynolds number (Rej) of 12,400, 24,800, and 37,200, respectively; a fixed crossflow Reynolds number (Recf) of 3,100; and the jet initial velocity profile at the jet exit of a fully-developed turbulent pipe flow. For the cases of controlled jets in crossflow (cJICFs), in order to manipulate the development of the flow structure, a pair of azimuthal control jets are activated radially and steadily at the azimuthal positions varied from Ө = ±15o to ±165o, with a step increase of 15o, and another case with a pair at Ө = 0o and 180o. The control jets to main jet mass flowrate ratio (rm) is fixed at 4%. The results show that, for all r, the azimuthal position of the control jets affects entrainment. Specifically, windward injection (Ө<90o) suppresses entrainment, causing E and ɳ of cJICF to be lower than JICF. On the other hand, leeward injection (Ө>90o) promotes entrainment, causing E and ɳ of cJICF to be higher than JICF. In addition, as the azimuthal position of the control jets increases from windward to leeward, E and ɳ increase accordingly. Furthermore, overall it is found that the use of the azimuthal control jets with JICF at lower r is more effective than with JICF at higher r .
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50837
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1339
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1339
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670498321.pdf29.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.