Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50883
Title: ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความกลัวการหกล้มในผู้สูงอายุหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
Other Titles: The effect of self-efficacy promoting program on fear of fall in postoperative total hip replacement older persons
Authors: หทัยทิพย์ ใจปิติ
Advisors: ศิริพันธุ์ สาสัตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Siriphun.S@Chula.ac.th,sisasat@gmail.com
Subjects: การหกล้มในผู้สูงอายุ
สมรรถนะ
Falls (Accidents) in old age
Performance
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความกลัวการหกล้มในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิงที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นกระดูกหักจากการพลัดตกหกล้มที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกโรงพยาบาลราชวิถี ที่มีความกลัวการหกล้มเล็กน้อยถึงมากหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 44 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน โดยจับคู่ให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน (matched pair) ในด้าน เพศ อายุ ระดับความกลัว กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบทดสอบสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (MMSE-T, 2002) แบบสอบถามความกลัวการหกล้ม (FES) แบบประเมินอาการกลัวหกล้มในผู้สูงอายุไทย (Thai FES - I) และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ตรวจสอบความเที่ยงโดยใช้สถิติ Cronbach’s Alpha โดยใช้วิธี Test-retest แบบสอบถามความกลัวการหกล้ม (FES) แบบประเมินอาการกลัวหกล้มในผู้สูงอายุไทย (Thai FES - I) และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .81, .84 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าทีผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความกลัวการหกล้มหลังผ่าตัดน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความกลัวการหกล้มหลังผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The quasi experimental research with two group pretest – posttest design aimed to study the effect of self-efficacy promoting program on fear of fall in postoperative total hip replacement older persons. The participants consisted of both male and female older persons admitted in orthopedic ward, Rajavithi hospital. The purpusesive sampling consisted of 44 older persons and random assignment in to control and experiment groups with similar characteristics in terms of age, gender and level of fear of fall. The experimental group underwent a self-efficacy promoting program and control group received conventional care. The self-efficacy promoting program was performed once a week for 4 weeks. The instruments were Self-efficacy promoting program, demographic questionnaire, Mini-Mental State Examination-Thai version 2002, and Fear of fall scale. The reliability of Fall Efficacy Scale, Thai Fall Efficacy Scale-international and Self-efficacy questionnaire were .81, .84 and .87 respectively. The data were analyzed using mean, percentage, standard deviation, and t-test. The research results were summarized as follows 1. The participants after participating in self-efficacy promoting program had statistically significant lower fear of fall than before participating the program at the level of .05 2. The participants who participated in self-efficacy promoting program had statistically significant lower fear of fall than those who received conventional care at the level of .05
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50883
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.770
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.770
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677223336.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.