Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50933
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์en_US
dc.contributor.advisorปทีป เมธาคุณวุฒิen_US
dc.contributor.authorธัญวิทย์ ศรีจันทร์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:06:49Z-
dc.date.available2016-12-02T02:06:49Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50933-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพปัจจุบันด้านภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษาตามประเภทสถาบันอุดมศึกษา 2) วิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษา 3) พัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษา และ 4) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ กรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษาจำนวน 488 คน จากสถาบันอุดมศึกษาทุกประเภท (สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพปัจจุบันและวิเคราะห์องค์ประกอบ ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.93 – 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอ้างอิง ประกอบด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน รวมถึงได้มีการจัดสนทนากลุ่มเพื่อพิจารณาและตรวจสอบกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันด้านภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 3 ประเภทมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (F = 0.20, p = 0.82) แสดงว่ากรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษามีสภาพปัจจุบันด้านภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ไม่แตกต่างกันตามประเภทสถาบันอุดมศึกษา 2. องค์ประกอบคุณลักษณะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษามีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) มีคุณธรรมและจริยธรรม 2) สร้างแรงจูงใจ 3) มีวิสัยทัศน์ 4) กล้าตัดสินใจ กล้าคิด พูด ทำ 5) มีทักษะในการสื่อสาร 6) ทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย และ 7) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทีมงาน ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติค่าไคสแควร์มีค่าเท่ากับ 14.56 (p = 0.15, df = 10, GFI = 0.99, AGFI = 0.99 และ SRMR = 0.01) 3. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษา (The SMILE model for leadership development in the twenty first century of student organization board) ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และกรอบการพัฒนา 5 ด้านคือ 1) ทักษะทางสังคม (S – Social skills) ได้แก่ การรู้เท่าทันสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้ภาษาเพื่อการติดต่อสื่อสาร การสร้างความสัมพันธ์กับทีมงาน และการปรับตัวเข้าสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2) คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ (M – Morality and accountability) ได้แก่ ความสามารถในการจัดการอารมณ์ การปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม การมีค่านิยมและจรรยาบรรณ และการมีเจตคติที่ดีและจิตสำนึกสาธารณะ 3) ความฉลาดในการคิดและทำ (I – Intelligence in thinking and doing) ได้แก่ กล้าตัดสินใจ กล้าคิด พูด ทำ กระบวนการคิดและแก้ปัญหา การสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตน และการสร้างสรรค์และนวัตกรรม 4) การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง (L – Literacy for change) ได้แก่ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การยอมรับความเสี่ยงและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงการกำหนดทิศทางให้แก่ตนเอง และมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล และ 5) ความยึดมั่นผูกพันในการทำงานเพื่อความก้าวหน้า (E – Engagement in work progressing) ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ความมุ่งมั่นแน่วแน่ต่อองค์การ การสร้างความร่วมมือ การสร้างประสิทธิผลและความก้าวหน้าและการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย 4. กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษา เป็นกลยุทธ์ระดับองค์กรที่มี 5 เป้าประสงค์หลัก 17 เป้าประสงค์รอง 31 แผนงาน และ 58 โครงการ/กิจกรรมen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were; 1) to explore and compare leadership in the twenty first century characteristics of student organization board from different types of universities 2) to analyze the confirmatory factor on the leadership in the twenty first century characteristics of student organization board 3) to develop a model for leadership development in the twenty first century of student organization board and 4) to propose strategies for leadership development in the twenty first century of student organization board. The samples used consist of 488 participants from student organization board including public universities, autonomous universities, and private universities. The leadership in the twenty first century questionnaire was used as an instrument to identify the leadership characteristics. The Cronbach’s alpha reliability coefficients of the questionnaire ranged from 0.93 to 0.95 and were analyzed by using one-way anova and confirmatory factor analysis. Furthermore, a focus group had been conducted to propose strategies for leadership development in the twenty first century of student organization board. The results were as follows; 1. The leadership in the twenty first century characteristics of student organization board from 3 types of universities showed no significant difference at 0.05 (F = 0.20, p = 0.82) referring that the leadership in the twenty first century characteristics of student organization board did not vary due to different types of universities. 2. The leadership in the twenty first century characteristics of student organization board were consisted of 7 factors including 1) morality & ethics 2) motivation 3) growing-vision 4) assertiveness in thinking, speaking, and doing 5) ICT & communication literacy 6) achievement and 7) good relationship among team. As for confirmatory factor analysis, it was found that the model was fitted with empirical data. The results of the model validation indicated the chi-square goodness of fit test was 14.56 (p = 0.15, df = 10, GFI = 0.99, AGFI = 0.99, and SRMR = 0.01). 3. The SMILE model for leadership development in the twenty first century of student organization board was composed of vision, mission, goals and 5 aspects including 1) S - Social skills (information literacy, media & ICT literacy, language for communication, relationship among team, social & cross cultural skills) 2) M - Morality and accountability (emotion managing, morality, value & ethics, positive attitude & social responsibility) 3) I - Intelligence in thinking and doing (assertiveness in thinking, speaking, and doing, critical thinking & problem solving, establishing identity, creativity & innovation) 4) L - Literacy for change (lifelong learning, risk & change management, initiative & self direction, growing vision) and 5) E - Engagement in work progressing (motivation, commitment, collaboration, productivity & progression, achievement) 4. The strategies for leadership development in the twenty first century of student organization board was formed of corporate strategy including 5 primary goals, 17 secondary goals, 31 action plans and 58 projects/activities.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1154-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาวะผู้นำ-
dc.subjectภาวะผู้นำทางการศึกษา-
dc.subjectLeadership-
dc.subjectEducational leadership-
dc.titleรูปแบบและกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษาen_US
dc.title.alternativeA model and strategies for leadership development in the twenty first century of student organization boarden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSirichan.S@Chula.ac.th,sirichan.thang@gmail.comen_US
dc.email.advisormpateep@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1154-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684258427.pdf10.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.