Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50936
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนม คลี่ฉายาen_US
dc.contributor.authorสาลินี จีนจรรยาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:06:54Z-
dc.date.available2016-12-02T02:06:54Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50936-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของการเผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์เชิงบูรณาการบนสื่อใหม่ของสาขาวิชาวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ ของมหาวิทยาลัยรังสิต ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง โดยมีกลุ่มทดลองเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 62 คน การจัดกระทำในการทดลองคือ เนื้อหาเกี่ยวกับสาขาวิชาวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ ที่เผยแพร่แบบการบูรณาการบนสื่อใหม่ โดยได้ประยุกต์หลักการบางส่วนของการเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดีย กล่าวคือนำคุณลักษณะเฉพาะของ 3 แพลตฟอร์ม ได้แก่ ยูทูบ เฟซบุ๊กแฟนเพจ และเว็บไซต์ มาใช้ในการออกแบบผลิตและเผยแพร่เนื้อหาขึ้นมาเฉพาะสำหรับใช้ในการวิจัยครั้งนี้ โดยออกแบบให้แต่ละแพลตฟอร์มมีเนื้อหาและวิธีการนำเสนอที่แตกต่างกัน แต่มีจุดเชื่อมโยงที่กลุ่มทดลองสามารถนำเนื้อหาแต่ละแพลตฟอร์มมาประกอบขึ้นเป็นข้อมูลในภาพรวมของเนื้อหาที่ต้องการเผยแพร่ การดำเนินการทดลองมี 3 ขั้นตามลำดับ คือ 1) วัดประสิทธิผลด้านความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจเข้าศึกษาต่อ ก่อนการทดลอง 2) ทดลองเผยแพร่เนื้อหาที่ออกแบบผลิตขึ้นไปยังกลุ่มทดลอง ติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน เก็บข้อมูลวิเคราะห์ความผูกพันต่อเนื้อหาที่เผยแพร่ ด้วยการสังเกต การบันทึกข้อมูลสถิติการเข้าถึง และการตอบสนองต่อเนื้อหาทั้ง 3 แพลตฟอร์ม 3) วัดประสิทธิผลทั้งสามด้านหลังการทดลอง ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้ กลุ่มทดลองมีความผูกพันต่อเนื้อหาที่เผยแพร่ในทุกแพลตฟอร์ม โดยให้ความสนใจกดติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจและยูทูบ มีการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์เกือบทั้งหมด และมีส่วนร่วมกดไลค์ และแชร์โพสต์หรือคลิปบนเฟซบุ๊กแฟนเพจและยูทูบ สำหรับประสิทธิผลของการเผยแพร่สรุปได้ว่า ความรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ ก่อนและหลังการเผยแพร่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า ความรู้หลังการเผยแพร่สูงกว่าก่อนการเผยแพร่ ในความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาหลักสูตร รูปแบบการเรียนการสอน และแนวทางประกอบอาชีพหลังจากสำเร็จ ด้านทัศนคติพบว่า ทัศนคติหลังการเผยแพร่สูงกว่าก่อนการเผยแพร่ โดยมีภาพลักษณ์เชิงบวก และมีทัศนคติเชิงบวกต่อรูปแบบการเรียนการสอน และแนวทางประกอบอาชีพหลังจากสำเร็จ ด้านความตั้งใจเข้าศึกษาต่อหลังการเผยแพร่สูงกว่าก่อนการเผยแพร่ ทั้งนี้เป็นการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปานกลางen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to explain the effectiveness of integrated public relations on new media of Convergence Journalism program, Rangsit University. The research method is conducted by applying one group pretest-posttest experimental research design. The experimental group is consists of 62 high school students. The treatment is developed and produced for the experiment by applying some principles of transmedia storytelling. The treatment focuses on the unique feature of 3 platforms including Youtube, Facebook fanpage and website. Each platform conveys different part of content and presentation format, but links to another so that the experimental group can experience all content and eventually can perceive the entire content. The experimental procedure is divided into 3 steps. First, prettest of effectiveness variable; knowledge, attitude and intention to apply to the program. Second, treatment is intervened among experimental group via Youtube, Facebook fanpage and website for 10 days. However, during the experimental period, the observation of content engagement is conducted while the third step involves posttest of effectiveness. Research results are as following; The experimental group engaged in content on all platforms, with the interest in following Facebook fanpage and YouTube subscription, as well as the exposure to most of all content on the website, and the participation of likes and shares or VDO clip post on Facebook fanpage and YouTube. The integrated public relations on new media can increase experimental group’s knowledge, attitude and intention to apply, as shown by .05 level of statistical significant different in pretest and posttest score. The result shows higher knowledge score in understanding of program, teaching and carreer path after graduation. According to the attitude toward the program, it is found that the post content publishing is higher when compared to the pre one in which there are positive image and positive attitude of teaching and career path after graduation. Finally, the intention to apply is higher in post content publishing when compared to the pre one, but still in moderate level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleประสิทธิผลของการเผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์เชิงบูรณาการบนสื่อใหม่ของมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.title.alternativeEFFECTIVENESS OF INTEGRATED PUBLIC RELATIONS ON NEW MEDIA OF RANGSIT UNIVERSITYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPhnom.K@Chula.ac.th,phnomk@yahoo.comen_US
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684696628.pdf7.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.