Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5096
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์-
dc.contributor.advisorอัจฉรา อุทิศวรรณกุล-
dc.contributor.authorฐิติมา ชูเทพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-12-21T05:01:23Z-
dc.date.available2007-12-21T05:01:23Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743329551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5096-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractการศึกษาการให้คำปรึกษาโดยเภสัชกรแก่ผู้ป่วยเดินได้โรคความดันโลหิตสูงที่โรงพยาบาลไชยา ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2541 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 รวมระยะเวลา 6 เดือน วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ เพื่อทราบผลการให้คำปรึกษาโดยเภสัชกร โดยเปรียบเทียบผลก่อนและหลังให้บริการเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการรักษา ปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยาอาการไม่พึงประสงค์จากยาและอันตรกิริยาระหว่างยาและเวลา และค่าใช้จ่ายในการให้คำปรึกษาโดยเภสัชกร โดยเลือกผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงและใช้ยาลดความดันโลหิตอยู่ ซึ่งมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลไชยาระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2541 จัดกลุ่มผู้ป่วยตามเพศ ช่วงอายุและระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง และจัดเข้ากลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมแบบสุ่ม เภสัชกรให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยในกลุ่มศึกษา 5 ครั้ง (รวมทั้งสิ้น 6 เดือน) มีผู้ป่วยในกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน ในแต่ละกลุ่มมีผู้หญิง 20 คน และผู้ชาย 10 คน อายุเฉลี่ยในกลุ่มศึกษา 63.6 ปี และกลุ่มควบคุม 62.3 ปี เมื่อสิ้นสุดการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มศึกษาร้อยละ 60 มีความดันเฉลี่ยในหลอดเลือดแดงลดลง (10 ม.ม. ปรอทขึ้นไป) ขณะที่กลุ่มควบคุมลดลงร้อยละ 40 โดยผู้ป่วยกลุ่มศึกษาที่มีความดันโลหิตลดลงได้รับการเปลี่ยนขนานยาและ/หรือเพิ่มขนาดยาร้อยละ 20 คะแนนทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องความดันโลหิตสูงและการรักษาในกลุ่มศึกษาก่อนและหลังได้รับคำปรึกษาเท่ากับ 36.5 คะแนน และ 43.8 คะแนน ตามลำดับ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยาลดลงจากร้อยละ 43.3 เป็นร้อยละ 10 หลังจากได้รับคำปรึกษาโดยเภสัชกร อาการไม่พึงประสงค์จากยาที่เภสัชกรค้นพบมีจำนวน 6 ปัญหา เภสัชกรช่วยแก้ไขได้ 1 ปัญหาและป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยหยุดใช้ยาได้ 4 ปัญหา และพบอันตรกิริยาระหว่างยาที่ควรได้รับการติดตาม 57 ปัญหา เภสัชกรใช้เวลาในการให้คำปรึกษาเฉลี่ย 4.6 นาทีต่อผู้ป่วย 1 คน คิดเป็นค่าใช้จ่าย 10.1 บาท ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การให้คำปรึกษาโดยเภสัชกรแก่ผู้ป่วยเดินได้โรคความดันโลหิตสูง มีประโยชน์โดยช่วยให้ผู้ป่วยมีความดันโลหิตลดลง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการรักษาเพิ่มขึ้นและมีปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยาลดลงที่สำคัญที่สุดคือช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมความดันโลหิตให้ดีขึ้นจึงควรมีการให้บริการให้คำปรึกษาโดยเภสัชกรแก่ผู้ป่วยในทุกโรงพยาบาลเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยen
dc.description.abstractalternativeThe study of pharmacist counseling on ambulatory hypertensive patients at Chaiya hospital was done during November 1998 to April 1999 by followed up and counseling for 6 months consecutively. The objective of the study was to see the effect of pharmacist counseling on the patients by comparing the results before and after the service was implemented: the number of patients with the change in blood presssure, the knowledge about hypertension and treatment, noncompliance, adverse drug reactions and drug interactions that occurred and the time and the cost spent on counseling by pharmacist. The ambulatory hypertensive patients already on antihypertensive drugs who came to the outpatient clinic between the month of November 1998 were stratified according to their sexes, ages and stage of hypertension before randomly assigned to the study or control groups. The pharmacist counseled the patients in the studied group for 5 time (6 months totally). There were 30 patients in each group, 20 females and 10 males. Meanages in the study and control groups were 63.6 and 62.3 years old, respectively. At the end of the studied period, 60% of the patients in the studied group had decreasing mean arterial pressure (10 mmHg or more) while only 40% of the control group exhibited this. Out of 60% of the patients in the studied group whose blood pressure changed, only 20% had the treatment regimen changed. The mean score of the knowledge about hypertension and treatment of the studied group before and after counseling were 36.5 and 43.8 respectively, which showed significantly increased (P<0.05). Noncompliance rate also declined from 43.3% to 10.0% after pharmacist counseling. Six adverse drug reaction probjems were found. The pharmacist solved 1 problem and prevented the patients to stop taking their medicine for 4 problems. Fifty seven potential drug interactions which required closely monitoring were identified. In average, the pharmacist spent 4.6 minutes on each counseling which equivalent to the cost of 10.1 baths. The studyshowed that pharmacist counseling on ambulatory hypertensive patients was very useful. It helps decreasing the patients' blood pressure, increasing the patients' knowledges about hypertension and treatment, decreasing noncompliances and most important it helps the patients to have a better control of their blood pressure. It should therefore be implemented in every hospital for the benefit of the patients.en
dc.format.extent5090974 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความดันเลือดสูงen
dc.subjectการใช้ยาen
dc.subjectการให้คำปรึกษาen
dc.subjectเภสัชกรen
dc.titleการให้คำปรึกษาโดยเภสัชกรแก่ผู้ป่วยเดินได้โรคความดันโลหิตสูง ที่โรงพยาบาลไชยาen
dc.title.alternativePharmacist counseling on ambulatory hypertensive patients at Chaiya hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSutathip.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorAchara.U@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
titima.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.