Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51010
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์en_US
dc.contributor.authorศุภวรรณ โหมวานิชen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:08:38Z-
dc.date.available2016-12-02T02:08:38Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51010-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการปรับประโยชน์ใช้สอยอาคารเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โครงการเอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์ เป็นโครงการแรกของกรุงเทพมหานครที่ใช้แนวคิดการปรับประโยชน์ใช้สอยอาคารประเภทโกดังสินค้าเพื่อเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาโครงการฯด้วยวิธีการปรับประโยชน์ใช้สอย ศึกษาผลและข้อจำกัด เพื่อวิเคราะห์ปัจจัย ข้อดี-ข้อเสีย และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วยวิธีการปรับประโยชน์ใช้สอย โดยมีระเบียบวิจัยคือ การศึกษาเอกสาร การสำรวจและเก็บข้อมูลโครงการฯ การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้ชำนาญการ รวมถึงการศึกษาทัศนคติของผู้ชำนาญการด้วยแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า ผู้พัฒนาโครงการมีที่ดินอยู่เดิม เมื่อพิจารณาศักยภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และข้อกฎหมาย จึงตัดสินใจพัฒนาเป็นศูนย์การค้า ภายหลังพบว่าอาคารและพื้นที่มีประวัติศาสตร์สำคัญจึงตัดสินใจพัฒนาโครงการด้วยวิธีการปรับประโยชน์ใช้สอย มีการเก็บอาคารเดิมบางส่วนไว้เพื่อเป็นจุดเด่นของโครงการฯและลดค่าก่อสร้างลง จากนั้นจึงศึกษาความเป็นไปได้โครงการ มีการวางผังบริเวณโดยคำนึงถึงประวัติศาสตร์พื้นที่คู่กับการออกแบบภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรมใหม่ โครงการถูกแบ่งออกเป็นย่านต่างๆที่มีรูปแบบเฉพาะ ตัวอาคารเดิมมีการซ่อมแซม ปรับปรุง และตกแต่งเพิ่มเติม มีการก่อสร้างอาคารใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานและประโยชน์ใช้สอยที่เพิ่มขึ้น เช่น โรงละคร มีการใช้หลักการตลาดแบบย้อนยุค ทั้งนี้ผู้พัฒนาโครงการมุ่งเน้นการพัฒนาโดยใช้ธุรกิจเป็นตัวนำในการสร้างมูลค่า มากกว่าการให้ความสำคัญด้านการอนุรักษ์ ผลที่เกิดขึ้นคือ ด้านกายภาพของโครงการฯสามารถตอบสนองความเป็นศูนย์การค้าได้ การแบ่งย่านต่างๆสามารถสร้างบรรรยากาศได้ดี การใช้หลักตลาดแบบย้อนยุคเป็นที่น่าพอใจ แต่ภายหลังมีการใช้การตลาดเชิงลึกเพื่อแก้ปัญหาการจับจ่ายที่น้อยลง ด้านการเงินมีการนำโครงการเข้าร่วมกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทยรีเทลอินเวสเม้นท์ร่วมกับโครงการอื่นในเครือ ในภาพรวมโครงการมีการสร้างอัตลักษณ์และสร้างมูลค่าทางการตลาดได้อย่างดี จนทำให้โครงการมีความโดดเด่นและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ข้อเสนอแนะ คือ 1) อาคารประเภทโกดังมีความเหมาะสมในการปรับประโยชน์ใช้สอยเพื่อเป็นศูนย์การค้า 2) ควรมีการศึกษาคุณค่าในเชิงอนุรักษ์ของอาคารและพื้นที่เพื่อนำมาเป็นจุดเด่นเพิ่มคุณค่าแก่โครงการมากขึ้น 3) โครงการปรับประโยชน์ใช้สอยขนาดใหญ่สามารถสร้างเอกลักษณ์ ดึงดูดด้านการท่องเที่ยว และส่งผลต่อพื้นที่โดยรอบ ภาครัฐจึงควรมีแผน นโยบาย และมาตรการ ส่งเสริมและควบคุม ตามระดับคุณค่าอาคารเชิงอนุรักษ์อย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ทั้งแก่ผู้ประกอบการและประโยชน์สาธารณะen_US
dc.description.abstractalternativeAdaptive re-use in architecture is a recent method used in real estate development. ASIATIQUE The Riverfront is the first project in Bangkok to apply adaptive re-use in architecture concepts to transform an old warehouse into a large shopping mall. This research aims to study the development process of the project, its outcome, and limitation, to analyze the advantages and disadvantages factors and suggesting guidelines for applying adaptive re-use architecture concepts. The research methodologies included document review, a field survey, interviews with the developer, stakeholders, and experts as well as questionnaires about experts' attitudes. According to the findings, the developer (landowner) made a decision to build a shopping mall when considering land value potential and the laws involved. Recognized that it was a historical area, the developer decided to use adaptive re-use architecture by keeping some old buildings as highlights of the project, which could also keep construction costs down. Later, a project feasibility study was finalized. The layout was designed with the consideration of the history of the land as well as the modern design of urban landscape, architectural design. The project was divided into various zones with specific themes. The old buildings were renovated and decorated while new buildings were integrated to respond to users' needs and additional functions such as theaters. A retro-marketing strategy had been implemented. The developer focused more on business strategies to add value to the project itself than awareness of conservation requirements. The output of the project are the physical setting can serve the purpose of a shopping mall, and the themes zones help promote the shopping atmosphere. The retro-marketing strategies were satisfactory but were changed to in-depth marketing to solve the problem of decreasing revenue from retail sales. This project was invested in the Thai Retail Investment Fund (TRIF). Overall, the project was well developed to create their image and marketing value thus making the project outstanding and widely-known. The recommendations are as follows: first, old warehouses are suitable to be adapted and re-use as shopping malls. Second, the conservation value and methods should be emphasized more, and it will bring unique value added to the project. Third, The large adaptive- reuse real estate project employs cultural value and also tourist attraction in the adjacent area and the city. The government sector should have policies, plans, and measures to promote and regulate the development of retail centers on historic sites with conservation in mind for the benefit of both business and the public.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleกระบวนการปรับประโยชน์ใช้สอยอาคารเก่าเพื่อเป็นศูนย์การค้า: กรณีศึกษาโครงการเอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์ กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeADAPTIVE REUSE PROCESS OF OLD BUILDING FOR SHOPPING MALL: A CASE STUDY OF ASIATIQUE THE RIVER FRONT PROJECT, BANGKOKen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKundoldibya.P@Chula.ac.th,kpanitchpakdi@yahoo.comen_US
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773341025.pdf17.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.