Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51014
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรรัตน์ จารุทัศน์en_US
dc.contributor.authorขนงคคนางค์ ทองพรมen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:08:45Z-
dc.date.available2016-12-02T02:08:45Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51014-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractภาพรวมธุรกิจค้าปลีกในเขตเอเชียแฟชิฟิก (Asia Pacific) มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ มีการขยายตัวสูง อย่างเช่นศูนย์การค้ามีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง เพราะมีผู้ประกอบการให้เช่าพื้นที่เพิ่มมากขึ้นทั้งกิจการขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จากการแข่งขันที่สูงขึ้นส่งผลให้มีพื้นที่เช่าของศูนย์การค้ามีอัตราว่างในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นโครงการศูนย์การค้าเริ่มให้ความสำคัญกับร้านค้าย่อยเพิ่มมากขึ้น เพื่อเติมเต็มพื้นที่เช่าที่ว่างอยู่ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาโครงการศูนย์การค้าที่ตั้งในเส้นทางขนส่งมวลชนตามแนวรถไฟฟ้า มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอยู่ 2 ประเด็นหลักๆ คือ 1) ลักษณะกายภาพ และ 2) การบริหารจัดการร้านค้าย่อยของโครงการศูนย์ค้า ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ร้านค้าย่อยของกรณีศึกษา 3 โครงการ ได้แก่ โครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาแกรนด์พระราม9 โครงการศูนย์การค้าเทอร์มินัล21 และ โครงการศูนย์การค้าสยาม สแควร์1 โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากตัวอย่างประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง (Population) มีเกณฑ์การเลือกกลุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เพื่อการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทั้งทางด้านผู้พัฒนาโครงการศูนย์การค้า และร้านค้าย่อยภายในโครงการที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่าร้านค้าย่อยให้ความสำคัญต่อปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของร้านค้า 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ปัจจัยทางกายภาพของพื้นที่เช่า 2) ปัจจัยทางการบริหารด้านราคาเช่า และ3) ปัจจัยทางบริหารจัดการด้านขั้นตอนการให้บริการ สำหรับผู้บริหารศูนย์การค้าให้ความสำคัญต่อปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของร้านค้าย่อย 4 ด้านหลักๆ ได้แก่ 1) ปัจจัยทางกายภาพด้านบรรยากาศภาพรวมของศูนย์การค้า 2) ปัจจัยทางการบริหารด้านการตลาด 3) ปัจจัยด้านสินค้าและบริการของร้านค้ามีเอกลักษณ์ และ 4) ปัจจัยทางการบริหารจัดการด้านบุคคลากรของศูนย์การค้าที่มีความเชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำร้านค้าย่อยได้ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าการออกแบบควบคุมเส้นทางการเดินของลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่เช่าสำหรับร้านค้าย่อย การลงทุนของศูนย์การค้าด้านกายภาพมีการลงทุนที่สูง ดังนั้นการเพิ่มศักยภาพกายภาพ เพื่อให้ร้านค้าสนใจเช่าพื้นที่ถือเป็นกลยุทธ์ที่สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร รวมทั้งสร้างมูลค่าในการลงทุน งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาในเรื่องแนวทางการพัฒนาโครงการศูนย์การค้าที่มีร้านค้าย่อย เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับโครงการใหม่หรือโครงการที่ต้องการ การปรับปรุงพัฒนาพื้นที่สำหรับร้านค้าย่อยในอนาคตต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThe retail business overview in The Asia Pacific indicates significant growth, especially in Bangkok. Shopping malls in Bangkok have a lot of competition because of the increase in retail space. The occupancy rate has decreased while the vacancy rate has increased due to the competition. Therefore, shopping mall developers now tend to focus more on smaller tenants to fulfill the empty rental spaces. This thesis studies the shopping malls which are located close to the public sky train and underground rail systems. The purpose of this thesis is to study the physical environment and small tenant management in shopping malls by analyzing the small tenants at Central Plaza Grand Rama 9, Terminal 21 and Siam Square One using qualitative analysis. Purpose Sampling was employed by using structured interviews with shopping mall developers and small tenants. The result showed that small tenants focused on key success factors such as the physical rental area, pricing factor and process factor while shopping malls focus on physical ambience, marketing mix, tenant mix, and people management. In conclusion, shopper circulation controlled by design method factors is important for developing small tenant zone. Shopping malls are a big investment. Therefore, increasing the physical potential for rental space is a great strategy to build a positive corporate image and add value. This thesis focuses on studying the development of small tenants in shopping malls to keep a database for the next project and shopping malls that would like to develop rental spaces for small tenants in the futureen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.534-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectศูนย์การค้า-
dc.subjectการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์-
dc.subjectอาคารพาณิชย์-
dc.subjectร้านค้าปลีก-
dc.subjectShopping malls-
dc.subjectReal estate development-
dc.subjectCommercial buildings-
dc.subjectStores, Retail-
dc.titleแนวทางการพัฒนาโครงการศูนย์การค้าที่มีร้านค้าย่อย: กรณีศึกษา โครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาแกรนด์พระราม 9 โครงการศูนย์การค้าเทอร์มินัล 21 และโครงการศูนย์การค้าสยามสแควร์ 1en_US
dc.title.alternativeGuideline development of shopping malls with small tenant : cases study of Central Plaza Grand Rama 9, Terminal 21, and Siam Square 1en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTrirat.J@Chula.ac.th,trirat13@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.534-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773553825.pdf8.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.